Tuesday, December 21, 2010

ecosone cream

ในหนึ่งกรัม ประกอบด้วย Econazole nitrate 10 mg และTriaamcinolone 1 mg
สรรพคุณ เป็นครีมทาฆ่าเชื้อราและต่อต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก และมีตัวยาลดการอักเสบ แก้คันหรือมีอาการแพ้ที่ผิวหนังด้วย
ใช้ทาผื่นคันในร่มผ้าได้ หรือผื่นคันตามซอกคอจากเหงื่อได้
ส่วนใหญ่ทาวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น

Monday, December 20, 2010

วัคซีนไข้สมองอักเสบ J.E.Vaccine

ตอนนี้มีCD.JEVAX INJECTION ของ china เป็นวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบชนิดเชื้อเป็น ซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ ได้จากการเพาะเลี้ยงไวรัสในเซลล์ไตของหนูแฮมสเตอร์ ราคาแพงกว่าวัคซีนเดิมเกือบเท่าตัว วัคซีนยี่ห้อเดิมฉีด 3 ครั้ง ยี่ห้อใหม่นี้ ฉีดแค่ 2 ครั้ง ครั้งแรกฉีดขนาด 0.5 ml ฉีดเข้าใต้ผิวหนังในเด็กอายุตั้งแต่ 9 เดือนขึ้นไป และฉีดกระตุ้นอีกครั้งภายหลังจากฉีดครั้งแรกไปแล้ว 3เดือน-1 ปี

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เช่น ไข้สูง(มากกว่า 37.5องศาเซลเซียส) มีผื่นคัน คลื่นไส้
ผื่นแดงเฉพาะที่ ร้องงอแง ไม่อยากอาหาร ง่วงนอน มีปัญหาในการนอน(ในเด็ก)
อาการข้างเคียงถ้าเกิดขึ้น มักจะเกิดไม่เกิน 2 วัน และสามารถหายเองได้ โดยปกติไม่มีการรักษาเป็นพิเศษหรือเฉพาะเจาะจง ในกรณีที่จำเป็น แนะนำให้รักษาตามอาการ

วิธีการผสมยาฉีด หลังจากละลายในตัวทำละลายที่มาด้วยกันแล้ว ควรใช้ภายใน 1 ชั่วโมง ควรฉีดบริเวณต้นแขนซ้ายหรือขวา

ข้อห้ามใช้ ได้แก่ผู้ที่มีประวัติเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างรุนแรงต่อส่วนประกอบใด ๆ ในวัคซีน รวมทั้งเจลาติน
-ผู้ที่มีไข้สูง ติดเชื้ออย่างเฉียบพลัน
-เป็นโรคภูมิแพ้ หรือมีประวัติการชัก
-ผู้ที่มีความบกพร่องของการทำงานของหัวใจ ตับหรือไต
-สตรีมีครรภ์หรืออยู่ในระหว่างการให้นมบุตร
-ผู้ที่อยู่ระหว่างได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน
-ผู้ที่มีความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน

ควรเก็บยาไว้ที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส

Monday, December 13, 2010

น้ำตาเทียมกับ contact lens

ยาหยอดตาน้ำตาเทียมที่ใช้กับคนที่ใส่ contact lens ต้องระวังการใช้เพราะน้ำตาเทียมบางชนิดหยอดแล้วทำให้ lens มัว ควรจะอ่านฉลากยาให้ละเอียดก่อนใช้ เพราะจะมีระบุบอกว่า ใช้กับ lens แบบแข็งหรือแบบนิ่มได้ อย่างเช่น ยาหยอดตา lac ophเป็นยา local คือ ผลิตในประเทศ ราคาไม่แพง จะมีฉลากบอกว่าใช้กับ lens แบบแข็งได้ ถ้าไปใช้กับ lens แบบนิ่ม ก็จะมัวได้
ยาหยอดตาน้ำตาเทียมของบริษัทต่างประเทศ จะมีชนิดที่ไม่ใส่สารกันบูด (preservative) ซึ่งเหมาะสำหรับคนแพ้สารกันบูด แต่ราคาแพง เช่น cellufresh , tear naturale free
และยังมีชนิดที่เป็น nebule คือ หลอดเล็ก ๆ สำหรับเปิดใช้ไม่กี่ครั้งก็ทิ้งเลย อย่าง cellufresh เพราะไม่มีสารกันบูด จึงเก็บไว้ใช้ได้ไม่นาน

Thursday, December 9, 2010

REGEN-D

ยาตัวใหม่มาก ๆ เพิ่งเห็นมีใช้ในโรงพยาบาล พอดี คุณแม่ก็ต้องใช้ตัวยานี้ด้วย จึงลองค้นข้อมูลดู รู้ว่า เป็นยานำเข้ามาจากอินเดีย ราคาแพงหลอดละ 2,000 กว่าบาท ขนาดแค่ 15 กรัมเอง แต่มีคุณสมบัติสร้างเนื้อเยื่อตาย โดยเป็น epithelial growth factor คือช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ ใช้ได้ผลดีกับผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลเรื้อรังไม่หายสักที หรือผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ ของคุณแม่เป็นแผลเนื้อตายจากการฉายแสงซึ่งดูเหมือนแผลกดทับเลย ใช้ intrasite gel หลอดละ 100 กว่าบาทมา2 ปีแล้วยังไม่ได้ผล คุณหมอจึงแนะนำว่าน่าจะใช้ยาใหม่นี้ดู สัก 2 เดือนน่าจะเริ่มเห็นผลได้นะ คงใช้ประมาณ 2- 3 หลอด เป็นยานอกบัญชีเบิกไม่ได้ซะด้วย เพราะคุณแม่ใช้สิทธิ์ราชการของน้องชาย คุณหมอบอกว่าถ้าของ original จากอเมริกา ราคาประมาณ 20,000 บาทต่อหลอดจ้ะ
ตอนนี้สงสัยว่าสิทธิ์การรักษาสุขภาพแบบไหนจะดีกว่ากัน คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าสิทธิ์ราชการ รักษาพยาบาลดีที่สุด แต่ตอนนี้ เท่าที่รู้ คือยา intrasite gel ที่แม่ใช้อยู่ ต้องเสียเงินเอง แต่ถ้าใช้สิทธิ์ 30 บาท ปรากฏว่าได้ยาฟรี

เกี่ยวกับระบบประกันสุขภาพตอนนี้ รู้สึกยังไม่ค่อยเข้าที่เข้าทางเท่าไหร่วันก่อนเห็นหนังสือพิมพ์ลงข่าวว่า จะรวมสิทธิ์การรักษาพยาบาล ทั้ง 3 ระบบเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน เพราะมีการเปรียบเทียบว่า สิทธิ์ราชการเหมือนใช้รถเบ๊นซ์ สิทธิ์ประกันสังคมเหมือนรถโตโยต้า แอลติส สิทธิ์ 30บาทเหมือนรถซูบารุ
แต่ถ้าดูที่มาที่ไปของกองทุนรักษาพยาบาลเหล่านี้แล้วจะเข้าใจ เพราะข้าราชการทำงานให้รัฐเป็นลูกจ้างรัฐโดยตรงซึ่งรัฐจะต้องจัดสวัสดิการรักษาพยาบาลตามข้อตกลงสัญญาที่ให้ไว้ ส่วนประกันสังคม เป็นเงินสมทบที่ลูกจ้างออกเองส่วนหนึ่งกับนายจ้างและรัฐออกอีกส่วนหนึ่ง ส่วน 30 บาท เอาจากภาษีประชาชนมาจ่ายให้ ดังนั้นการรักษาพยาบาลก็มีข้อจำกัดแตกต่างกันไปตามข้อตกลงและงบประมาณที่จัดสรร การรวม 3 ระบบนี้เข้าด้วยกันคงยากอย่างยิ่ง

ช่วงที่คุณแม่เข้าโรงพยาบาลเพราะติดเชื้อในปัสสาวะ ยังไม่ได้ห้องพิเศษ ต้องไปนอนห้องสามัญรวม ก็ไปเห็นว่าถาดอาหารที่แจกผู้ป่วยในห้องรวม ไม่เหมือนกันทุกคน บางคนได้อาหารเป็นข้าวและกับข้าวใส่ในจาน 3- 4 จานอยู่ในถาดมาให้ แต่ผู้ป่วยบางเตียงได้อาหารเป็นถาดหลุมเหมือนเด็กนักเรียน แต่พอดูอาหารแล้วก็ไม่แตกต่างกัน กับข้าวก็เหมือนกัน ผลไม้ของหวานก็ชนิดเดียวกัน ต่างกันที่แค่ถาดเท่านั้น ต่อมาถึงรู้ว่า ถาดหลุม สำหรับคนใช้สิทธิ์ 30 บาท และ ประกันสังคม ส่วนอาหารเป็นจาน สำหรับสิทธิ์เบิกราชการ

Monday, September 13, 2010

วัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก

มีข้อสงสัยว่า วัคซีนHPV สามารถป้องกันมะเร็งมดลูกได้จริงหรือ แต่ผู้เขียนคิดว่าราคาวัคซีนแพง และบริษัทยังไม่รับรองร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าได้ผลดีสามารถป้องกันมะเร็งได้ เพราะขึ้นกับปัจจัยหลาย ๆ อย่างอีก
ลองค้นดูข้อมูลวัคซีนในเน๊ต มีรายละเอียดตามนี้

วัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก

(เรียบเรียงโดย พล.ต.รศ.นพ.ธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล และทีมแพทย์ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช)

เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันว่า สาเหตุมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ Human Papilloma Virus (HPV) หรือคนไทยจะรู้จักกันว่าไวรัสหูดหงอนไก่ ไวรัสกลุ่มนี้มีมากเป็นร้อยสายพันธุ์ บางสายพันธุ์ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ (หรือผิวหนังส่วนอื่นก็ได้) 90% ของโรคหงอนไก่ที่พบ เกิดจาก HPV สายพันธุ์เลขที่ 6 และ 11 สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมีประมาณ 15 สายพันธุ์ และ 70% ของคนที่เป็นมะเร็งปากมดลูกเกิดจากสายพันธุ์ที่ 16 และ 18 (ที่เหลือคือสายพันธุ์ที่ 45, 31, 33, 52, 58 ตามลำดับ)

ปัจจุบันมีวัคซีนที่นำมาฉีดอยู่ 2 บริษัท คือ ชนิดที่มี 2 สายพันธุ์ (16, 18) และชนิดที่มี 4 สายพันธุ์ (6, 11, 16, 18) หมายความว่า ชนิดที่มี 2 สายพันธุ์ จะป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ 70% และชนิดที่มี 4 สายพันธุ์ นอกจากจะป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ 70% แล้ว ยังจะช่วยป้องกันหูดหงอนไก่ได้ด้วย 90% มีรายละเอียดพอสังเขปที่ควรทราบ ดังนี้

1. วัคซีนนี้จะป้องกันได้กับ HPV type 6, 11, 16 และ 18 คือ HPV ชนิดที่ทำให้เป็นมะเร็งปากมดลูกได้ 70% และชนิดที่ทำให้เป็นหูดหงอนไก่ได้ 90% (และอาจมีภูมิต้านทานกับสายพันธุ์ก่อมะเร็งอื่น ๆ ได้บ้าง คือสายพันธุ์ที่ 31, 33, 45, 52 และ 58 ซึ่งรวมแล้วอาจป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 80% เป็นอย่างน้อย)

2. วัคซีนนี้ไม่ป้องกันโรคในคนที่เคยเป็นโรคแล้ว และยังมีเชื้อเกาะอยู่แบบเรื้อรัง

3. ควรฉีดวัคซีนตั้งแต่ก่อนเป็นสาวก่อนมีเพศสัมพันธ์ (ก่อนมีโอกาสได้สัมผัสเชื้อไวรัส) คือตั้งแต่อายุ 9-12 ปี เพื่อให้ได้ผลสูงสุดเพราะคนที่เคยติดเชื้อ HPV type ใดแล้ว มันจะอยู่ติดตัวไม่หาย วัคซีนก็ไม่มีผลป้องกันโรค

4. คนที่เคยเป็นโรค HPV แล้วก็ฉีดได้ เพราะวัคซีนจะป้องกัน HPV type ที่ยังไม่เคยเป็น หรือเคยเป็นแต่หายแล้ว ตามทฤษฎี ฉีดตอนอายุกลางคน คือ ถึงประมาณ 45 ปี ก็ยังมีประโยชน์ แม้จะไม่เต็มที่ประสิทธิภาพของวัคซีนก็ตาม (เพราะอาจเคยติดโรค และมีโรคเรื้อรังของบางสายพันธุ์เกาะอยู่)

5. ปัจจุบันยังไม่พบว่าเป็นอันตรายกับเด็กในครรภ์ แต่ก็ยังไม่แนะนำให้ฉีดในคนตั้งครรภ์ มารดาที่กำลังให้นมบุตรก็ฉีดได้

6. เนื่องจาก วัคซีน นี้ครอบคลุมได้ 70% (อาจถึง 80%) ของไวรัสชนิดทำให้เกิดมะเร็งในสตรี ดังนั้นถึงแม้ว่าฉีดวัคซีนแล้วก็ยังแนะนำให้ทำ pap smear ตรวจหามะเร็งปากมดลูกเหมือนเดิม คือ เริ่มตรวจ pap ภายใน 3 ปี นับตั้งแต่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ (หรือตั้งแต่อายุ 21 ปี) ตรวจทุกปี จนถึงอายุ 30 ปี หลังจากนั้นก็ตรวจทุก 2-3 ปี ยกเว้นว่าถ้าตรวจ 3 ปีติดกัน แล้วปกติ ก็เลื่อนตรวจเป็น 2-3 ปี ต่อครั้งก็ได้

7. การฉีดวัคซีนให้ฉีด 3 เข็ม ภายใน 6 เดือน คือครั้งแรก แล้วเข็มที่ 2 อีก 1-2 เดือน เข็มที่ 3 ที่เดือนที่ 6 จะมีภูมิต้านทานอย่างน้อย นาน 5 ปี

8. ไม่แนะนำให้ตรวจหา HPV ก่อนฉีด วัคซีน เพราะการตรวจ HPV DNA ได้ผลบวกเฉพาะเชื้อที่กำลังเป็นโรคอยู่ ไม่ได้ผลบวกต่อชนิดที่เคยเป็นทั้ง ๆ ที่เชื้อยังแฝงอยู่

9. คนที่มีเซลล์ปากมดลูกผิดปกติอยู่ก็ฉีดวัคซีนได้ ใช้ป้องกันเชื้อที่ยังไม่เคยติดได้ แต่ไม่ได้ป้องกันหรือแก้ไขเซลล์ที่ผิดปกติอยู่แล้ว แนะนำให้รักษาเซลล์ที่ผิดปกติให้หายก่อนแล้วจึงฉีดวัคซีน ข้อนี้ควรปรึกษารายละเอียดกับแพทย์

เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์โดยทั่วไปไม่รุนแรง อาการที่พบมากที่สุดคือ อาการตรงบริเวณที่ฉีดยา ได้แก่ ปวด บวม แดง ซึ่งหายไปได้เอง อาการข้างเคียงทางระบบที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาการอื่น ๆ ที่พบได้บ่อย ได้แก่ คลื่นไส้ คัน และมีไข้ ซึ่งพบประมาณร้อยละ 15 เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ชนิดรุนแรง พบได้ไม่แตกต่างกันทั้งกลุ่มที่เป็นวัคซีน และกลุ่มควบคุม ได้แก่ หายใจลำบาก, กระเพาะอาหารอักเสบ, ปวดศีรษะ, ความดันโลหิตสูง, เจ็บตรงตำแหน่งที่ฉีดยา และอาการปวดของแขนข้างที่ฉีดยา การเกิดโรคเรื้อรังใหม่ ไม่แตกต่างกันทั้งกลุ่มวัคซีน (ร้อยละ 3) และกลุ่มควบคุม (ร้อยละ 5)

โดยสรุป การฉีด HPV Vaccine มีความปลอดภัยสูงในการป้องกันการติดเชื้อ HPV

Friday, September 3, 2010

วิธีแก้เมารถอย่างถูกวิธี กับยาดรามามีนและscopolamine

วันนี้อ่านเจอในเน๊ต เห็นว่าได้ประโยชน์ดี เลยขอนำมาคัดลอกลงในบล๊อคไว้

ข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ใครที่เคย "เมารถ" หรือแม้แต่เมาเรือ คงจะรู้ดีว่ามันทรมานแบบกระอักกระอ่วนเพียงใด เพราะมักจะเกิดขึ้นแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย เริ่มรู้สึกพะอืดพะอมไม่สบาย ไปจนถึงเหงื่อออกตัวเย็น เวียนหัว คลื่นไส้ แล้วก็อาเจียนออกมา

วันนี้ นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัว หัวหน้าศูนย์สุขภาพ รพ.พญาไท 2 ได้เปิดเผยเทคนิคการป้องกันและแก้ไขการเมารถว่า อาการเมารถ เกิดจากขณะเคลื่อนไหว สมองเกิดความสับสนแบบประสาทหลอน (halluclnation) เนื่องจากข้อมูลที่รายงานเข้ามาจากหูและตา ไม่สอดคล้องกับข้อมูลจากอวัยวะคุมการทรงตัวของร่างกาย (balancing organ) ที่อยู่ในหูชั้นใน ถ้าหยุดการเคลื่อนไหว อาการเมาก็จะค่อย ๆ หายไป คนที่เดินทางบ่อย ๆ มักจะปรับตัวเองให้คุ้นเคยกับการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น และเมาน้อยลง เทคนิคอื่น ๆ ที่จะช่วยบรรเทาการเมารถ ได้แก่

นั่งแถวหน้า ๆ หันหน้าไปทางหน้ารถ เพราะการนั่งหน้ารถและมองไปข้างหน้า จะทำให้ทั้งตาและหูของเรารับรู้การเคลื่อนไหวของรถไปพร้อม ๆ กับอวัยวะควบคุมการทรงตัวที่อยู่ในหูชั้นใน จึงมีโอกาสเมาน้อยกว่า

จินตนาการว่าตัวเองเป็นคนขับรถเสียเอง เพราะคนขับจะไม่เมารถ เวลารถจะเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาก็คาดการณ์ล่วงหน้า และรู้ตัวขณะที่ร่างกายต้องหมุนเลี้ยวตามรถ สมองก็จะเกาะติดสถานการณ์ได้ชัดเจนขึ้นไม่สับสน

มองไปไกล ๆ จับเส้นขอบฟ้าไว้เป็นครั้งคราว เพื่อให้สมองมั่นใจว่าอะไรอยู่บน อะไรอยู่ล่าง อะไรอยู่ซ้าย อยู่ขวา ขณะที่รถหรือพาหนะเคลื่อนไหววกวนไปมาต้องหามองอะไรที่ไกล ๆ และนิ่ง ๆ และรู้ตัวว่าตัวเรากำลังเคลื่อนไหวไปขณะที่รถหรือพาหนะเคลื่อนไหววกวนไปมา ต้องหามองอะไรที่ไกล ๆ และนิ่ง ๆ และรู้ตัวว่าตัวเรากำลังเคลื่อนไหวไปขณะที่จุดนั้นนิ่ง เพื่อให้สมองทราบสถานะและตำแหน่งของตัวเองได้ถูกต้อง

อย่าอ่านหนังสือหรือตั้งใจมองอะไรที่เป็นของเล็ก ๆ และเขย่า ๆ หรือเคลื่อนไหวบนรถ เพราะการเคลื่อนไหวของตัวเรากับวัสดุในรถจะไม่ไปด้วยกัน ทำให้สมองสับสนถึงตำแหน่งที่แท้จริงของตัวเอง

ตั้งศีรษะให้ตรง ให้ศีรษะอยู่นิ่ง ๆ เวลารถเลี้ยวก็ตั้งใจรู้ตัวว่ากำลังหันไปตามการเลี้ยวของรถ อย่าให้ศีรษะไปพิงกับส่วนของรถที่เขย่า ๆ ไปตามแรงกระแทกและการเคลื่อนไหวบนรถ ถ้าจะพิงพนักก็ให้ใช้หลังพิงโดยให้ศีรษะตั้งตรงขึ้น อย่าฟุบหน้าลงหรือเอนศีรษะไปพิงอะไรข้าง ๆ จะทำให้ตัวเองอยู่ในสภาพถูกจับแกว่งไกว ขณะที่รถเลี้ยวไปมา

อย่าสูบบุหรี่ หรือนั่งใกล้คนสูบบุหรี่ เพราะแค่ควันบุหรี่อย่างเดียว โดยไม่ต้องมีการเคลื่อนไหวใด ๆ ก็เมาได้แล้ว

เวลาเดินทางอย่าเห็นแก่กิน อย่ารับประทานอาหารให้อิ่มจนเต็มท้อง เพราะถ้ามีของเต็มกระเพาะ ก็มีแนวโน้มจะออกมาง่าย

ไม่รับประทานของที่มันหรือเลี่ยน เพราะย่อยยาก ค้างอยู่ในกระเพาะนาน อาเจียนง่าย

ไม่รับประทานอาหารที่มีกลิ่นแรง อันจะกระตุ้นให้ตัวเองหรือคนข้าง ๆ คลื่นไส้อาเจียน

ไม่รับประทานอาหารรสจัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เผ็ดจัดเพราะเวลาอาเจียน ยิ่งถ้าผ่านรูจมูกออกมาด้วยแล้วจะแสบแบบไม่รู้ลืม

ก่อนเดินทางควรขับถ่ายให้เรียบร้อย อย่าให้ปวดถ่ายจนต้องกลั้นอุจจาระขณะเดินทาง เพราะการกลั้นอุจจาระจะทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ ที่ปกติจะไล่กันเป็นลูกระนาด จากบนลงล่างถูกติดเบรกเสียกระบวนไป

งดดื่มแอลกอฮอล์ เพราะลำพังแอลกอฮอล์ไม่ต้องขึ้นรถก็เมาอยู่แล้ว

ก่อนออกเดินทางครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงให้รับประทานยาแก้เมา เช่น ยาแอนตี้ฮิสตามีน ชื่อ ดรามามีน (Dramaine หรือ dimenhydrinate) หนึ่งเม็ด และพกยานี้ติดตัวไปด้วย ให้คาดหมายไว้เลยว่ายานี้อาจทำให้มีอาการง่วงได้ถ้าจะเดินทางไกล ยาอีกตัวที่ช่วยได้ คือ แผ่นพลาสเตอร์แปะแก้เมา ชื่อ ทรานสเดิร์ม สค็อป (Transderm Scop หรือ scopalamine)โดยแปะไว้ที่หลังหูล่วงหน้าก่อนเดินทาง 2-3 ชั่วโมงขึ้นไป ยานี้จะมีฤทธิ์ป้องกันได้นาน 72 ชั่วโมง

คุณหมอยังแนะนำว่า ถ้าท้องไส้ปั่นป่วนมากสำหรับบางคน การได้ดื่มน้ำอัดลมในปริมาณพอเหมาะจะช่วยได้ เมื่อเริ่มวิงเวียน การสูดหายใจลึก ๆ รับลมเย็นๆ จากหน้าต่างรถ หรือใช้ผ้าเย็นเช็ดหน้าผากและหน้าช่วยลดอาการได้ ถ้าเริ่มมีอาการวิงเวียน ใช้ยาดม ยาหอม และกลิ่นพืชสมุนไพรตามที่แต่ละคนชอบ จะช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนได้ รวมไปถึงการดมกลิ่นเปลือกส้มเขียวหวาน (บีบให้มันพ่นกลิ่นออกมา) และกลิ่นเปลือกพริกขี้หนู (เอาพริกขี้หนูหลาย ๆ เม็ดใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อ)

หากทำท่าจะแพ้ หมดแรงสู้ ให้นอนลงแล้วหลับตาเพื่อปิดการส่งสัญญาณภาพเข้าสมอง เป็นการลดความสับสนให้สมองได้รับสัญญาณจากอวัยวะคุมการทรงตัว ที่อยู่ที่หูชั้นในเพียงอย่างเดียว อาการจะดีขึ้น ถ้าม่อยหลับไปจริง ๆ เลยได้ยิ่งดี เพราะขณะนอนหลับสมองส่วนคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย จะปิดรับสัญญาณเข้าใด ๆ ความสับสนที่สัญญาณขัดแย้งกันไม่มี อาการเมารถจึงหายไปเอง

Sunday, August 29, 2010

ipd vaccine ฟรี

ตอนนี้ สปสช.ได้ส่งวัคซีนตัวใหม่มาให้คลีนิค 30 บาท ไว้ฉีดเด็ก ฟรี ซึ่งปกติราคาแพงถ้าจะฉีดเอง วัคซีนใหม่นี้ คือ ipd vaccine หรือชื่อเต็ม คือ invasive pneumococcal disease นั่นเอง ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ แต่เคยอ่านงานวิจัยว่า เป็นโรคที่น่ากลัวสำหรับเด็ก เพราะ เชื้อโรคถ้าเข้าสู่กระแสโลหิตแล้วจะไปติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ ลองค้นเน็ตดู เจอเว๊ปไซด์นี้เขียนละเอียดดี

โรค ไอ พี ดี (Invasive Pneumococcal Disease)

ลักษณะโรค
โรคไอพีดี (Invasive Pneumococcal Disease - IPD) คือการติดเชื้อ Streptococcus pneumoniae แบบรุนแรงและแพร่กระจาย สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ในอวัยวะหลายระบบ ได้แก่ การติดเชื้อในทางเดินหายใจ การติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง โรคนี้รู้จักมานานแล้วมักพบในทารกและเด็กเล็ก อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนักจนเสียชีวิต หรือเกิดความพิการได้1
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อ Pneumococcus ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดกรัมบวก มี 90 สายพันธุ์ (serotype) และ 42 serogroup โดยมี 10 สายพันธุ์ที่พบเป็นสาเหตุของโรคไอพีดีประมาณร้อยละ 622 พบเชื้อนี้ได้ในทางเดินหายใจส่วนต้น (โพรงจมูกและคอหอย) เชื้อสามารถแบ่งตัวได้ดีในปอด ทำให้เกิดปอดอักเสบและแพร่กระจายเข้ากระแสเลือดทำให้เกิดอาการโลหิตเป็นพิษ หรือกระจายเข้าสู่เนื้อเยื่อรอบสมองและไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยผู้ที่มีเชื้อในลำคอจะเป็นพาหะแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้ทางละอองเสมหะหรือน้ำมูก การพบเชื้อแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค (ตารางที่ 1) ความแออัด สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และขนาดของครอบครัว3 พบเชื้อในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ ในเด็กไทยปกติพบเชื้อในทางเดินหายใจส่วนต้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 35 โดยพบมากที่สุดในเด็กทารกและเด็กเล็กในช่วงอายุ 2 - 3 ปี ในเด็กไทยที่ป่วยอายุต่ำกว่า 5 ปี พบเชื้อสูงถึงร้อยละ 60 ส่วนในผู้ใหญ่พบเชื้อได้แตกต่างกันตั้งแต่ร้อยละ 5 ถึง 70
วิธีการติดต่อ
เชื้อ Pneumococcus เข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุบริเวณทางเดินหายใจ โดยเชื้อจะแพร่จากพาหะหรือผู้ป่วยโดยตรง เชื้อจะเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด เชื้ออาจแพร่กระจายไปเยื่อหุ้มสมองทำให้มีสมองอักเสบ หรือไปที่อวัยวะอื่นเช่น กระดูกและข้อทำให้มีกระดูกและข้ออักเสบ
ระยะฟักตัว
ระยะฟักตัวของโรคปอดอักเสบจากเชื้อ Pneumococcus 1 – 3 วัน
ระยะติดต่อ
ระยะเวลาการติดต่อยังไม่รู้ แต่เชื่อว่าการแพร่เชื้อจะเกิดขึ้นตลอดเวลาที่มีเชื้อในเสมหะ เด็กเป็นพาหะของเชื้อได้นานกว่าผู้ใหญ่ คือพบมีเชื้อในทางเดินหายใจส่วนต้นเฉลี่ย 2 - 4 เดือน ในขณะที่ผู้ใหญ่เป็นพาหะนาน 2 - 4 สัปดาห์
อาการและอาการแสดง
เชื้อ Pneumococcus มักทำให้เกิดโรคของระบบทางเดินหายใจ เช่น หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบซึ่งส่วนใหญ่จะไม่รุนแรงและพบได้บ่อย เชื้อนี้เป็นสาเหตุสำคัญของโรคปอดอักเสบ ซึ่งอาจมีอาการรุนแรง ส่วน การติดเชื้อแบบไอพีดีพบได้น้อยมากแต่มีความรุนแรง อาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อนี้ เด็กจะมีไข้สูง คอแข็ง งอแง ซึม ไม่ดื่มนม และชัก นอกจากนี้ในผู้ใหญ่จะมีอาการ สับสน และกลัวแสงเนื่องจากมีความไวต่อการรับแสงมากขึ้น หากติดเชื้อในกระแสเลือด เด็กจะมีไข้สูง ร้องกวน งอแง อาจช็อค และถ้ามีปอดอักเสบเด็กจะมีอาการไข้ ไอ หอบ หายใจเร็ว

กลุ่มเสี่ยง
กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เด็กที่มีความเสี่ยงสูงมากเป็นพิเศษต่อโรคไอพีดี ได้แก่ เด็กที่ไม่มีม้ามหรือม้ามทำงานไม่ปกติ เป็นโรคธาลัสซีเมีย ติดเชื้อเอชไอวี มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคไต โรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กมีความเสี่ยงต่อโรคไอพีดีสูงกว่าปกติ ในเด็กที่อายุ 2 – 11 เดือนพบว่าการได้ดื่มนมแม่จะทำให้โอกาสป่วยด้วยโรคไอพีดีลดลง ส่วนกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดเชื้อ S pneumoniae ที่ดื้อต่อยา penicillin ได้แก่เด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือมีประวัติอยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กในช่วง 3 เดือนก่อน5 เด็กที่มีประวัติเคยได้รับยาปฏิชีวนะในช่วง 3 เดือนก่อน6,7 และเด็กที่มีการติดเชื้อของหูในช่วง 3 เดือนก่อน สำหรับผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ได้แก่ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ โรคถุงลมปอดโป่งพองหรือมีหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยที่แน่ชัดคือการแยกเชื้อได้จากเลือด หรือสิ่งคัดหลั่งอื่นๆ เช่น น้ำไขสันหลัง เป็นวิธีการที่มีความถูกต้องสูงถ้าผู้ป่วยยังไม่ได้รับยาปฏิชีวนะมาก่อน
ระบาดวิทยา
องค์การอนามัยโลกคาดประมาณว่าโรคปอดอักเสบและเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ S pneumoniae เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตประมาณ 1.6 ล้านรายต่อปี โดยกว่าร้อยละ 90 ของการเสียชีวิตจากปอดอักเสบเป็นเด็กในประเทศที่กำลังพัฒนา8 อุบัติการณ์ของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ S pneumoniae ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะต่ำกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา (ตารางที่ 2) ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าเชื้อ S pneumoniae เป็นสาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบประมาณ 3,000 ราย ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด 50,000 ราย ปอดอักเสบที่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล 125,000 ราย และหูชั้นกลางอักเสบ 7 ล้านราย3 อุบัติการณ์ของโรคไอพีดีในประเทศสหรัฐอเมริกาประมาณ 24 ต่อประชากรแสนคนในช่วงปี พ.ศ. 2541 – 2542 พบมากในเด็กเล็กโดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี มีอัตราป่วยประมาณ 188 ต่อประชากรแสนคน กลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไปมีอัตราป่วย 61 ต่อประชากรแสนคน พบอัตราป่วยต่ำสุดในกลุ่มอายุ 5 - 17 ปี มักพบโรคนี้มากขึ้นในฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงที่มีอัตราป่วยโรคทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น หรือในที่ที่แออัด เช่นสถานรับเลี้ยงเด็ก ผู้ที่ป่วยมักจะมีโรคอื่นอยู่ก่อนแล้ว อัตราป่วยตายสูง

ประเทศที่กำลังพัฒนาส่วนใหญ่ไม่มีการเฝ้าระวังโรคนี้ มีเพียงการศึกษาหรือสำรวจเป็นครั้งคราวในบางโรงพยาบาล ซึ่งมักจะเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยที่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล ทำให้ไม่ได้ข้อมูลจากผู้ป่วยนอก ข้อมูลที่เก็บส่วนใหญ่เป็นความชุกของเชื้อดื้อยาและสายพันธุ์ที่พบ เนื่องจากมีหลายสายพันธุ์ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดโรคไอพีดี ข้อมูลจากการศึกษาดังกล่าวจึงมักจะมากกว่าความเป็นจริง และไม่ได้บอกถึงขนาดของปัญหาโรคไอพีดี
จากการทบทวนข้อมูลเด็กที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเด็กระหว่าง พ.ศ. 2523 – 2533 พบว่ามีสาเหตุจากเชื้อ S pneumoniae ร้อยละ 22.29 มากเป็นอันดับสองรองจากเชื้อ Haemophilus influenza ผลการทบทวนข้อมูลผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อ S pneumoniae ในระบบต่างๆ ของร่างกายและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในช่วงปี พ.ศ. 2529 – 2540 จำนวน 61 ราย เป็นผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบ 24 ราย ปอดอักเสบ 19 ราย เยื่อบุช่องท้องอักเสบ 10 ราย และติดเชื้อในกระแสเลือด 8 ราย อัตราตายสูงถึงร้อยละ 8.810 การศึกษาผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อ S pneumoniae และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชระหว่าง พ.ศ.2535 – 2541 จำนวน 205 ราย เป็นผู้ป่วยปอดอักเสบร้อยละ 71.7 เยื่อหุ้มสมองอักเสบร้อยละ 14.6 และติดเชื้อในกระแสเลือดร้อยละ 8.311 และการศึกษาผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อ S pneumoniae อย่างรุนแรงและรับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ในช่วงปี พ.ศ. 2540 – 2542 จำนวน 50 รายจากการติดเชื้อ 51 ครั้ง เป็นโรคปอดอักเสบ 25 ครั้ง ติดเชื้อในกระแสเลือด 17 ครั้ง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ 6 ครั้ง เป็นฝีและติดเชื้อในกระแสเลือด 2 ครั้ง และติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ 1 ครั้ง12
การพบเชื้อ S pneumoniae ใน nasopharynge และการศึกษาความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะนอกจากจะบอกถึงขนาดของปัญหาแล้วยังช่วยให้เพิ่มความตระหนักในปัญหามากขึ้น เนื่องจากเชื้อดื้อยาเป็นปัจจัยที่นำ ไปสู่การเพิ่มขึ้นของโรคไอพีดี เชื้อ S pneumoniae ดื้อต่อยามีรายงานครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 จากหมู่เกาะปาปัว นิวกินี เชื้อมีการดื้อยา penicillin และดื้อยาในระดับต่ำจึงเรียกว่า PRSP (Penicillin Resistant Streptococcus Pneumonia) ในระยะ 10 ปีหลังจากนั้นพบเชื้อ PRSP ประปรายทั่วโลก ในปี 2520 พบการระบาดของเชื้อ S pneumoniae ที่ดื้อต่อยา penicillin ในระดับสูงและเชื้อนี้ดื้อยาอื่นอีกหลายชนิดจึงเรียกว่า DRSP จากนั้นพบเชื้อ DRSP แพร่กระจายไปทั่วโลกทั้งแบบการติดเชื้อประปราย (sporadic) การระบาดย่อย (outbreak) หรือการระบาดใหญ่ (epidemic) การศึกษาการดื้อยาของเชื้อ S pneumoniae ในประเทศไทย (ตารางที่ 3) พบแนวโน้มของเชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเชื้อที่ดื้อยาระดับสูง นอกจากนี้ข้อมูลการศึกษาจากเครือข่ายอาเซียนในการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา 11 ประเทศ (ANSORP)13-15 บ่งชี้ว่าปัญหาเชื้อดื้อยามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและมีโอกาสที่จะเกิดการแพร่ระบาดระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน

การรักษา
การรักษาโรคติดเชื้อ Pneumococcus และไอพีดีใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Penicillin หรือ Cephalosporins ปัจจุบันพบว่ามีการดื้อยามากขึ้นจึงจำเป็นต้องใช้ยาขนาดสูงขึ้น โดยส่วนใหญ่โรคนี้สามารถรักษาได้ผลดีถ้ามาพบแพทย์ และได้เริ่มให้ยาปฏิชีวนะที่ถูกต้องอย่างรวดเร็ว
การป้องกันและควบคุมโรค
1. ให้เด็กดื่มนมแม่ เชื่อว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยป้องกันโรคได้
2. สอนให้เด็กรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอ จาม โดยเฉพาะเมื่อเจ็บป่วย
3. หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ และการพาเด็กไปในที่ๆ มีผู้คนแออัด โดยเฉพาะเมื่อเด็กป่วย
4. สังเกตอาการของเด็ก หากมีอาการไข้ ไอ หายใจลำบาก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา ไม่ควรซื้อยากินเอง และควรหยุดเรียนจนกว่าอาการจะปกติ
5. การให้วัคซีน ควรให้ในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคนี้ เนื่องจากวัคซีนยังมีราคาแพงมาก
วัคซีน
วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี มี 2 ชนิด ได้แก่
1. Polysaccharide vaccine2 เป็นวัคซีนดั้งเดิม มีใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ปี 2520 โดยประกอบด้วยเชื้อ pneumococcus 14 สายพันธุ์ ต่อมาปี 2526 เปลี่ยนเป็น PPV23 ประกอบด้วยเชื้อ pneumococcus 23 สายพันธุ์ วัคซีนนี้ไม่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี และประสิทธิภาพมีจำกัดจึงใช้เฉพาะในผู้ที่อายุ 2 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคนี้ และผู้สูงอายุเท่านั้น จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2543 มีผู้ที่อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปได้รับวัคซีนนี้ร้อยละ 53
2. Heptavalent Streptococcus pneumoniae protein conjugate vaccine (PCV7) 2 เป็นวัคซีนที่ประกอบด้วย polysaccharide conjugates ที่ครอบคลุมเชื้อ pneumococcus 7 สายพันธุ์ ได้แก่ 4, 6B, 14, 18C, 19F และ 23F ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ที่พบว่าดื้อยาจากการศึกษาก่อนเริ่มใช้วัคซีน ทำให้สร้างภูมิคุ้มกันได้ดีในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ประเทศสหรัฐอเมริกามีการให้วัคซีนนี้ในเด็กโดยบรรจุอยู่ในตารางวัคซีนพื้นฐาน (routine childhood immunization) ตั้งแต่ปี 2543 หลังการใช้วัคซีนพบว่าอัตราการเกิดไอพีดีที่เกิดจากเชื้อดื้อยาลดลงทั้งในกลุ่มผู้ป่วยเด็กเล็กที่ได้รับวัคซีน กลุ่มเด็กโต และผู้ใหญ่ที่ไม่ได้รับวัคซีน (จาก 23.7 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2539 เป็น 12.6 ต่อประชากรแสนคนในปี 2547) อัตราการเกิดโรคจากเชื้อดื้อยาที่เป็น vaccine serotype ลดลงร้อยละ 87 (จาก 6.0 เป็น 0.7 ต่อประชากรแสนคน) แต่ในทางกลับกันพบว่าสัดส่วนเชื้อดื้อยา serotype ที่อยู่นอกเหนือการครอบคลุมของวัคซีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 54 (จาก 1.0 ต่อประชากรแสนคนเป็น 1.6 ต่อประชากรแสนคน)20 และพบอัตราการดื้อยาเพิ่มขึ้นด้วย แสดงว่าวัคซีนอาจช่วยลดพาหะและการแพร่เชื้อของเด็กที่ได้รับวัคซีนสู่ผู้ใกล้ชิด จากผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการเก็บข้อมูลและการเฝ้าระวังติดตามโรคภายหลังการเริ่มใช้วัคซีนเป็นสิ่งจำเป็น นอกจากนี้มีการศึกษาผลของวัคซีนในเด็กชาวแกมเบียพบว่าวัคซีนมีประสิทธิ ภาพในการลดอัตราการติดเชื้อสายพันธุ์ที่ใช้ทำวัคซีนถึงร้อยละ 77 สามารถลดการติดเชื้อรวมทุกสายพันธุ์ร้อยละ 50 และลดอัตราตายในเด็กได้ร้อยละ 168
วัคซีนนี้มีประสิทธิภาพสูง สามารถป้องกันโรค IPD ได้ร้อยละ 97.32 (แต่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพต่อสายพันธุ์นอกวัคซีน) ป้องกันโรคปอดอักเสบได้ร้อยละ 35 ป้องกันโรคหูชั้นกลางได้บ้าง การให้วัคซีนเริ่มให้ในเด็กอายุ 2, 4, 6 เดือนและฉีดกระตุ้นตอนอายุ 12 – 15 เดือน ปัจจุบันในต่างประเทศมีการใช้วัคซีนอย่างแพร่หลาย สำหรับประเทศไทยอุบัติการณ์ของโรคไอพีดีน้อยกว่าในต่างประเทศมาก แม้ว่าวัคซีนจะมีประสิทธิภาพสูง แต่มีราคาแพงและครอบคลุมไม่ได้ครบทุกสายพันธุ์ รวมทั้งยังไม่มีการศึกษาความคุ้มค่าของวัคซีนนี้ในเด็กไทย จึงควรพิจารณาถึงความคุ้มค่าของวัคซีนเป็นรายๆไป หากเป็นเด็กที่มีความเสี่ยงสูงแพทย์อาจพิจารณาให้วัคซีนนี้ แต่หากเป็นเด็กปกติยังไม่มีความจำเป็นเนื่องจากอุบัติการณ์ของโรคนี้ในประเทศไทยยังต่ำกว่าต่างประเทศมาก และวัคซีนยังมีราคาแพง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจให้วัคซีนนี้

ข้อบ่งชี้ในการให้วัคซีน
1. ผู้ใหญ่ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป
2. เด็กอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปที่มี
• โรคเรื้อรัง
• เด็กที่ไม่มีม้ามหรือม้ามทำงานไม่ดี
• ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
• ติดเชื้อ เอชไอวี
• อยู่ในสิ่งแวดล้อมหรือภาวะที่เสี่ยง
• เด็กที่ได้รับการผ่าตัดใส่วัสดุเทียมของหูชั้นใน
อาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน PCV7 พบอาการเฉพาะที่ประมาณร้อยละ 10 – 20 อาการไข้และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อประมาณร้อยละ 15 – 24

รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้ที่http://epid.moph.go.th/fact/IPD.doc

Thursday, August 26, 2010

para suppoหรือ poro suppo

ตอนนี้มียาเหน็บทวารหนักสำหรับลดไข้ในเด็กเล็ก ชื่อการค้าว่า Poro Suppository 125 mg ก็คือ ยา acetaminophen นั่นเอง

ยาฉีด gardenal sodium

คืนก่อน มีเด็กมาที่แผนกฉุกเฉิน มีอาการไข้สูง และชักมา แพทย์เด็กสั่งยา gardenal sodium injection แต่แผนกห้องยาไม่มียา เพราะเพิ่งหมดอายุ นำไปเปลี่ยนที่คลังยา ของใหม่ยังไม่มีมา ต้องติดต่อหายืมมาให้
พอวันรุ่งขึ้นเพิ่งจะรู้ว่า ของใหม่มาแล้วแต่คลังยากับห้องยาไม่ประสานงานกันเลย ทำให้ยาขาด แพทย์เด็กสั่งให้เขียน incident report ด้วย

Gardenal Sodium มีอีกชื่อว่า PHENOBARBITAL SODIUM
Indications and dosages
Tonic-clonic (grand mal) and partial seizures; febrile seizures in children
Adults: 60 to 100 mg/day P.O. as a single dose or in two or three divided doses; or initially, 100 to 320 mg I.V. p.r.n. (a total of 600 mg I.V. in a 24-hour period).

Infants and children: Loading dose of 15 to 20 mg/kg P.O. (produces drug blood level of 20 mcg/ml shortly after dosing). To achieve therapeutic blood level (10 to 25 mcg/ml), children usually need higher dosage/kg than adults. Follow loading dose with 3 to 6 mg/kg/day P.O. Alternatively, 4 to 6 mg/kg/day I.M. or I.V. for 7 to 10 days to achieve blood level of 10 to 15 mcg/ml.

Status epilepticus

Adults: 200 to 320 mg I.M. or I.V., repeated q 6 hours p.r.n.

Children: 15 to 20 mg/kg I.V. given over 10 to 15 minute


Sedation or hypnotic effect

Adults: For sedation, 30 to 120 mg/day P.O. or 30 to 120 mg/day I.M. or I.V. in two or three divided doses. As a hypnotic, 100 to 200 mg P.O. or 100 to 320 mg I.M. or I.V. at bedtime. Don't exceed 400 mg in a 24-hour period.

➣ Preoperative sedation

Adults: 100 to 200 mg I.M. 60 to 90 minutes before surgery

Children: 1 to 3 mg/kg I.M. or I.V., as prescribed.

Dosage adjustment
• Impaired hepatic or renal function
• Elderly or debilitated patients

Off-label uses
• Prevention and treatment of hyperbilirubinemia

Contraindications
• Hypersensitivity to drug or other barbiturates
• Manifest or latent porphyria
• Nephritis (with large doses)
• Severe respiratory disease with dyspnea or obstruction
• History of sedative-hypnotic abuse
• Subcutaneous or intra-arterial administration

Precautions
Use cautiously in:
• hepatic dysfunction, renal impairment, seizure disorder, fever, hyperthyroidism, diabetes mellitus, severe anemia, pulmonary or cardiac disease
• history of suicide attempt or drug abuse
• chronic phenobarbital use
• elderly or debilitated patients
• pregnant or breastfeeding patients
• children younger than age 6.

Administration
• Inject I.M. deep into large muscle mass; limit volume to 5 ml.
☞ Give I.V. no faster than 60 mg/minute. Keep resuscitation equipment at hand.
• Stop injection immediately if patient complains of pain or if circulation at injection site diminishes (indicating inadvertent intra-arterial injection).
☞ Don't give by subcutaneous route; severe reactions (such as pain and tissue necrosis) may occur.
☞ Know that when given I.V. for status epilepticus, drug may take 15 minutes to attain peak blood level in brain. If injected continuously until seizures stop, drug brain level would keep rising and could exceed that required to control seizures. To avoid barbiturate-induced depression, use minimal amount required and wait for anticonvulsant effect to occur before giving second dose.
• Use parenteral route only when patient can't receive drug P.O.
• Know that drug is intended only for short-term use, losing efficacy after about 2 weeks.

Route Onset Peak Duration
P.O. 30-60 min Unknown 10-16 hr
I.V. 5 min 30 min 10-16 hr
I.M. 10-30 min Unknown 10-16 hr

Adverse reactions
CNS: headache, dizziness, anxiety, depression, drowsiness, excitation, delirium, lethargy, agitation, confusion, hyperkinesia, ataxia, vertigo, nightmares, nervousness, paradoxical stimulation, abnormal thinking, hallucinations, insomnia, CNS depression

CV: hypotension, syncope, bradycardia (with I.V. use)

GI: nausea, vomiting, constipation

Hematologic: megaloblastic anemia

Hepatic: hepatic damage

Musculoskeletal: joint pain, myalgia

Respiratory: hypoventilation, laryngospasm, bronchospasm, apnea (with I.V. use); respiratory depression

Skin: rash, urticaria, exfoliative dermatitis, Stevens-Johnson syndrome

Other: phlebitis at I.V. site, drug dependence, hypersensitivity reactions including angioedema

Interactions
Drug-drug. Acetaminophen: increased risk of hepatotoxicity

Activated charcoal: decreased phenobarbital absorption

Anticoagulants, beta-adrenergic blockers (except timolol), carbamazepine, clonazepam, corticosteroids, digoxin, doxorubicin, doxycycline, felodipine, fenoprofen, griseofulvin, hormonal contraceptives, metronidazole, quinidine, theophylline, verapamil: decreased efficacy of these drugs

Chloramphenicol, hydantoins, narcotics: increased or decreased effects of either drug

Cyclophosphamide: increased risk of hematologic toxicity

Divalproex, MAO inhibitors, valproic acid: decreased phenobarbital metabolism, increased sedative effect

Other CNS depressants (including first-generation antihistamines, opioids, other sedative-hypnotics): additive CNS depression

Rifampin: increased phenobarbital metabolism and decreased effects

Drug-diagnostic tests. Bilirubin: decreased level in neonates and patients with seizure disorders or congenital nonhemolytic unconjugated hyperbilirubinemia

Drug-herbs. Chamomile, hops, kava, skullcap, valerian: increased CNS depression

St. John's wort: decreased drug effects

Drug-behaviors. Alcohol use: additive CNS effects

Patient monitoring
• Monitor vital signs; watch for bradycardia and hypotension.
☞ In patients with seizure disorders, know that drug withdrawal may cause status epilepticus.
• Assess neurologic status. Institute safety measures as needed.
☞ Closely monitor respiratory status, especially for respiratory depression and airway spasm.
• Monitor phenobarbital blood level, CBC, and kidney and liver function tests.
• Watch for signs of drug dependence.

Patient teaching
☞ Instruct patient to promptly report rash, facial and lip edema, syncope, dyspnea, or depression.
☞ Stress importance of taking exactly as prescribed, with or without food. Caution patient not to stop therapy abruptly, especially if he's taking drug for seizures.
• Tell patient that prolonged use may lead to dependence.
• Instruct patient to seek medical advice before taking other prescription or over-the-counter drugs.
• Caution patient to avoid driving and other hazardous activities until he knows how drug affects him.
• Advise patient to avoid herbs, alcohol, and other CNS depressants.
• Instruct patient taking hormonal contraceptives to use alternate birth-control method.
• As appropriate, review all other significant and life-threatening adverse reactions and interactions, especially those related to the drugs, tests, herbs, and behaviors mentioned above

Dilution:
Sterile powder must be slowly diluted with SWI
Use a minimum of 3 mL of diluent.
Also available in sterile vials and tubexes.
Best if further diluted up to 10 mL with SWI.
Solutions from powder form must be freshly prepared.
Use only absolutely clear solution.
Discard powder or solution exposed to air for 30 minutes

ที่มา : Intravenous Medication 25th ed. 2009

Monday, August 16, 2010

salazopyrinกับยา methotrexate

salazopyrin หรือคือ sulfasalasine นั้น
นำมาใช้รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ,โรค SNSA หรือกลุ่มโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบ

สามารถใช้เป็นยาตัวแรกในการรักษา แต่เนื่องจากยามีราคาพอสมควร และรับประทานค่อนข้างยาก จึงมักใช้เป็นยาตัวที่ 2 ร่วมในการรักษากับยาตัวอื่น ๆ

ผลข้างเคียงที่สำคัญได้แก่ ผื่นแพ้ยา กดไขกระดูก เบื่ออาหาร เป็นต้น

ส่วนยา methotrexate ถือเป็นยาหลักในการใช้กับโรคนี้ เมื่อเพิ่มยาจนได้ target doseแล้วยังไม่ดีก็ต้องเปลี่ยนหรือเพิ่ม salazopyrin แล้วเมื่อโรคสงบก็ต้องปรับลดยาลง ไม่ใช่หยุดเลย

Sunday, August 15, 2010

หญิง 25 ปี เพิ่งได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัด H1N1 และต่อมาตรวจพบว่าตั้งครรภ์ จะให้คำแนะนำและการดูแลอย่างไร

CDC ได้แนะนำว่าควรให้วัคซีนแก่หญิงตั้งครรภ์เสียด้วยซ้ำ และสามารถให้ได้ตลอดอายุการตั้งครรภ์ โดยจะได้ประโยชน์มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ แต่ควรให้ป็นชนิดฉีดเนื่องจากเป็น killed flu virus แต่ไม่แนะนำแบบพ่นจมูกเพราะเป็น live, weakened flu virus
มีอีกมากลองอ่านดูจากที่นี่ http://www.cdc.gov/H1N1flu/vaccination/pregnant_qa.htm#e

ข้อมูลข้างบนได้จากเว๊ปไซด์
http://phimaimedicine.blogspot.com/2010/02/387-25-h1n1.html

Saturday, August 14, 2010

Transfer factor (ทรานสเฟอร์แฟคเตอร์) เป็นยาหรือไม่

Chemical Structure ของทรานสเฟอร์แฟคเตอร์

ช่วงนี้ได้ไปอบรมเกี่ยวกับศูนย์ควบคุมอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ซึ่งต้องดูไปถึงสูตรโครงสร้างทางเคมี หรือ chemical structure เพื่อจะได้วินิจฉัยชัดเจนว่าเป็นการแพ้ยาตัวใดแน่นอน ก็เลยเกิดความสงสัยว่า ตัว transfer factorที่ฝรั่งวิจัยมีสูตรโครงสร้างทางเคมีอย่างไร ก็ได้ไปอ่านในหนังสือมาร์ตินเดล(martindale)เขียนว่า
ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ เป็น สายเปปไทด์ (peptide constituent=กรดอมิโนที่มาเชื่อมต่อกันเป็นสายโมเลกุลเดี่ยว)ที่เป็นสารสกัดจากเซลล์ leucocyte (เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง)ที่สามารถมีคุณสมบัติส่งผ่าน(transfer)cell-mediated immunity (ภูมิคุ้มกัน)ของ เซลล์ที่มีภูมิคุ้มกัน(sensitised donor)ไปยังเซลล์ผู้รับที่ไม่ไวต่อภูมิคุ้มกัน(non-sensitised recipient)ให้สามารถมีภูมิคุ้มกันได้ เป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งในระบบเซลล์ภูมิคุ้มกัน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในระบบภูมิคุ้มกัน

ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ก็คือสายเปปไทด์ที่เป็นตัวสื่อสารนั่นเอง

ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ ได้รับการแนะนำว่ามีประโยชน์ต่อการติดเชื้อเช่น แบคทีเรีย เชื้อรา (fungi) ไวรัส หรือ ความผิดปกติเกี่ยวกับการอักเสบต่าง ๆ (inflammatory disorders ),ความผิดปกติทางผิวหนัง เช่น โรคผื่นแพ้ผิวหนังต่าง ๆ(eczema) ,ความผิดปกติทางระบบประสาท (nervous system disorders),โรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่อง (immunodeficiency diseases),โรคเกี่ยวกับเนื้อร้ายต่าง ๆ(malignancy)

แต่อย่างไรก็ตามการใช้ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ในบางกรณีอาจไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจได้ทุกคน

references:Martindale Thirty-fifth edition 2007
รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านที่นี่
http://4lifetransferfactor-pharmacist.blogspot.com/

Sunday, August 8, 2010

การติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

เดือนที่แล้ว ร.พ.ส่งไปอบรมการประเมินและติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเป็นเวลา 3 วัน อบรมซะมึนไปเลย เพราะข้อมูลเยอะมาก ฟังวิทยากรบรรยายแล้วรู้สึกว่า ถ้ามนุษย์เราไม่รู้จักการแพ้ยาเลยก็ดีสิน่ะ เพราะกว่าแพทย์จะวินิจฉัยโรคออกว่าเป็นอะไร แล้วต้องมาหายาที่เหมาะสมให้ใช้แล้ว เกิดคนไข้แพ้ยาอีกต้องเดือดร้อนถึงพยาบาล เภสัชกรมาวิเคราะห์อีกว่าแพ้ยาจริงหรือไม่ หรือเป็นอาการของโรค ต้องดูค่าlab ประกอบอีก ทำให้นึกถึงอาหารเสริมตัวหนึ่งที่มีฤทธิ์ต่อภูมิคุ้มกัน ที่มีอยู่ในนมเหลืองของมารดา ซึ่งปัจจุบันสกัดได้จากน้ำนมวัว (colostrum) และผลิตได้จากไข่แดงของไข่ไก มีชื่อว่า transfer factor มีหน้าที่ปรับสภาพภูมิคุ้มกันที่ทำงานไวเกินหรือต่ำเกิน หรือ ภูมิแพ้ตัวเอง ให้ปรับเป็นมีหน้าที่ปกติ รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ได้จาก
http://4lifetransferfactor-pharmacist.blogspot.com/?zx=e5a0df33b35f1fc8

แมกนีเซียมคลอไรด์

วันก่อน หมอ med โทรมาถามว่ามียาแมกนีเซียมคลอไรด์ไม้ เพราะคนไข้มีแมกนีเซียมต่ำ เรามาอ่านเจอใน drug interaction พบว่าคนไข้ทีใช้ยา lasix,HCTZ มีโอกาสทำให้โปแตสเซียมและแมกนีเซียมต่ำ ซึ่งทำให้การเต้นของหัวใจผิดปกติได้ วิธีแก้อาจให้ potassium sparing diuretic เช่น moduretic หรือ aldactone หรือให้โปแตสเซียม และให้จำกัดโซเดียม ก็จะช่วยลดภาวะโปแตสเซียมและแมกนีเซียมต่ำได้

สรุป ก็ยังหายาแมกนีเซียมคลอไรด์ให้หมอไม่ได้เลย ส่วนยาฉีด แมกนีเซียมซัลเฟต (50%)2 ml หมอไม่เอาแหละ

Monday, August 2, 2010

วัคซีนไข้หวัดใหญ

ตอนนี้วัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ของยี่ห้อ vaxigrip จะใช้ชื่อต่อท้ายว่า 2010 แต่ถ้าเป็นวัคซีนสายพันธุ์ตามฤดูกาลจะใช้ชื่อต่อท้ายว่า 2009/2010 ตอนแรกสร้างความงุนงงมาก เพราะที่ร.พ.มี 2 แบบ ราคาต่างกันถ้าสายพันธุ์ใหม่ VAXIGRIP 2010 ราคา 500 บาท ถ้าสายพันธุ์เก่าตามฤดูกาล คือ vaxigrip 2009/2010 ราคา 300 บาท
ถ้าใช้สิทธิ์ประกันสังคมสามารถฉีดวัคซีนสายพันธุ์ใหม่ได้ฟรี เพราะกระทรวงสนับสนุน งบประมาณ แต่ถ้าใช้สิทธิ์ 30 บาท ต้องเสียเงิน
อาการข้างเคียงของวัคซีนสายพันธุ์ใหม่ บางคนปวดหลัง แต่ค้นในเน็ต บอกว่าอาจมีอัมพฤกษ์ชั่วคราวได้ (ข้อมูลนี้ยังไม่ได้รับการยืนยันแน่ชัด)
แต่ที่แน่ ๆ คือพนักงานโรงพยาบาลควรได้รับการฉีดวัคซีนนี้กันทุกคน

Tuesday, June 22, 2010

TRIFLOW คือ อะไร

วันนี้ คนไข้นำใบสั่งยาจากร.พ.รัฐมาเบิกยาที่คลีนิค 30 บาทตามสิทธิ์แพทย์สั่ง triflow 3 ลูก 1 ชุด ตอนแรกนึกว่าเป็นยาทาแผลที่ชื่อ intrasite gel เพราะมีลักษณะเป็นลูกข่างเรียกเป็นลูก ๆ เหมือนกัน พอมาค้นเน็ต จึงได้ข้อมูลว่าเป็นอุปกรณ์แพทย์ใช้วัดสมรรถภาพ ปอด ราคาประมาณ 344 บาท
ขอพูดเรื่อง triflow หน่อย อาจมีชื่อเรียกอย่างอื่นได้อีก เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการออกกำลังกายปอด คนไข้ผ่าตัดปอด หัวใจ จะรู้จักดี เป็นเพื่อนสนิทอยู่ข้างกายกันไปเป็นเดือน ทำจากพลาสติก ใสๆ สูง ประมาณ 5 นิ้วครึ่ง กว้างที่ฐานประมาณ 5 นิ้วกว่าๆ จากฐานขึ้นไปจะทำเป็นทรงกระบอกพลาสติกใสติดกัน 3 อัน แต่ไม่ต่อกัน แต่ละทรงกระบอกจะมี(เหมือน)ลูกปิงปองเล็กอยู่ 1 ลูก บนกระบอกจะปั๊มตัวหนังสือนูนไว้ว่า 600, 900, 1200 cc per sec ตามลำดับ ด้านซ้ายสุดของฐาน ก่อนทรงกระบอกแรกนะคะ จะมีท่อสั้นๆไม่เกิน 1 ฟุต ต่ออยู่ ปลายท่อมีที่เอาไว้ให้ดูด เป็นรูปปากเป็ด ส่วนอีกด้านจะต่อกับช่องเล็กๆที่เดินขึ้นไปตามแนวทรงกระบอก แล้วก็เลี้ยวไปตามด้านบนของทรงกระบอกทั้ง 3 โดยมีรูเจาะเข้าไปในทรงกระบอกแต่ละอัน

วิธีใช้ก็คือ หายใจเข้าทางปาก หรือสูดลมแรง ลึก ยาวพอที่จะทำให้ลูกปิงปองเล็กๆทั้ง 3 ลูก ลอยขึ้นไปค้างอยู่ด้านบนของทรงกระบอกทุกอันได้ ตัวเลขที่ระบุคือปริมาตรอากาศที่เราสูดเข้าไป ช่วงแรก เราจะยังไม่มีแรง บวกด้วยกลัวเจ็บ เสียว เหนื่อย และเหตุผล (ข้ออ้าง) อื่นๆ ลูกปิงปองก็อาจจะขึ้นเพียง 1 ลูก แล้วก็จะค่อยๆเป็น 2 ลูก และ 3 ลูกในที่สุด และจะนานขึ้น ต้องใช้ความพยายามมากทีเดียว

และ อย่าได้สูดติดต่อกันอย่างแรงหลายครั้ง อาจทำให้หน้ามืด วิงเวียนได้ แล้วถ้าอยากให้ขึ้น 3 ลูก ต้องตั้งใจ ระบายลมหายใจให้หมด ให้ท้องแฟบ แล้วหายใจเข้าลึกแรง ต้องอมที่ดูดไว้ อย่าให้มีช่องว่าง รับรองไม่กี่ครั้งก็ได้แล้ว แต่คุณหมอบอกว่าการที่ให้ลูกปิงปองขึ้น 2 ลูก แล้วค้างนานๆ ดีกว่าขึ้น 3ลูก แต่ไม่ค้างเลย เป็นการควบคุมการหายใจให่ได้สม่ำเสมอ และลึกเข้าไปในปอดได้ดีกว่า

Monday, June 21, 2010

น้ำเข้าหู แก้อย่างไร

ค้นจากในเน็ต มีหลายวิธี
๑. กระโดดหลาย ๆ ครั้ง
๒. หยอดน้ำมันพืชลงในหู ข้างที่มีแมลงเข้าไป ตะแคงหูข้างนั้นขึ้น แมลงจะสำลักน้ำมันตาย เมื่อแมลงหยุดเคลื่อนไหวแล้ว ทำความสะอาดหู
๓. ถ้าน้ำเข้าหูหรือวัตถุที่เป็นสิ่งไม่มีชีวิตเข้าหู ให้ตะแคงหูข้างนั้นลง ใช้นิ้วอุดหูให้แน่น แล้วดึงนิ้วออก แรงอัดลมจะพาให้น้ำหรือวัตถุไหลออกมา
๔. ถ้าปฏิบัติแล้ว ยังไม่ออก ให้รีบไปพบแพทย์

เห็บเข้าหูทำอย่างไร

วันนี้ แพทย์มาถามว่า ห้องยานอกจากมีน้ำมันมะกอกแล้วมีอะไรหยอดหูได้บ้าง เรานึกถึง ยาหยอดหู sodium bicarbonate และ กลีเซอรีน แพทย์ลองเอาน้ำมันมะกอกไปหยอดหูดู ปรากฏว่าตอนแรกเห็นเห็บและขี้เห็บ ตอนหลังหยอดหูเสร็จ ไม่เห็นตัวเห็บ เลยสงสัยว่ามันหายไปไหน
ไปค้นเน็ตดู เจอข้อมูลว่า
เมื่อแมลงเข้าไปในช่องหู มันไม่สามารถจะกลับตัวเดินหรือบินออกมาได้ เมื่อเดินหน้าเข้าไปเรื่อย ๆ จนไปถึงแก้วหู อาจใช้ปากกัดหรือขาตะกายที่เยื่อหู เพื่อมุ่งหน้าต่อไปอีก ทำให้เกิดอาการปวดหูมาก
จะแก้ได้ ก็ต้องยึดหลักที่ว่า ต้องทำให้แมลงหรือสัตว์นั้น ตายโดยเร็วที่สุด คือ หาน้ำมันที่มีความหนืดสูง ๆ และไวไฟน้อย ๆ เช่น น้ำมันพืช น้ำมันหมู กลีเซอรีน หรือ วาสลิน หยอดลงไป แมลงจะตายทันที อย่าใช้น้ำมันไวไฟ น้ำแอลกอฮอล์ น้ำส้ม ฯลฯ เพราะพวกนี้เมื่อหยอดลงไปและจะดิ้นก่อนมันจะตาย

Saturday, June 5, 2010

iv bolus หมายความว่าอะไร

im เป็นคำย่อของ intramuscular injection หมายความถึงการฉีดยาเข้าทางกล้ามเนื้อ
iv เป็นคำย่อของ intravenous injection หมายความถึงการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ
ถ้าเป็นการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำโดยตรง เรียกว่า iv push หรือ iv bolus ซึ่งสองคำนีใช้สลับไปสลับมา แต่บางแห่งเรียก iv push
ถ้ายาฉีดมีปริมาตรน้อย ไม่ต้องเจือจางกับสารน้ำ ถ้าเป็น iv bolus มักมีการเจือจางกับสารน้ำ ทำให้มีปริมาตรยาที่ฉีดมาก
นอกจากนี้ยังมีการให้ยาโดยการหยดเข้าหลอดเลือดดำ เรียกว่า iv drip หรือ infusion
drip เหมือน infusion คือให้ทีละหยด
Intermittent infusion หรือ short infusion เป็นการให้ทีละหยดนานประมาณ 30 นาที-1 ชั่วโมง แล้วหยุดจนกว่าจะให้ครั้งต่อไป เช่นการให้ยากลุ่ม aminoglycosides q 8 hr or OD แต่ทุกครั้งที่ให้ต้อง infuse (drip)

Continuous infusion เป็นการ infuse นาน ๆต่อเนื่องมากกว่า 3 half-lives ของยาเพื่อให้ยาเข้าสู่ภาวะ steady state

Push กับ bolus คล้ายกันเป็นการให้ยาเข้าหลอดเลือดแต่ละครั้งในช่วงเวลาสั้น ๆ ส่วนใหญ่จะน้อยกว่า 5 นาที

Friday, June 4, 2010

ยากลุ่ม ACEI และยากลุ่มARB

คำถาม:- ยากลุ่ม ACEI มีอะไรบ้าง และยากลุ่ม ARB เป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติหรือไม่

คำตอบ:- ยาลดความดันโลหิตมีหลายกลุ่ม เช่น
1.- ยาขับปัสสาวะ เช่นยาในกลุ่ม Thiazide ที่ให้ไตเพิ่มการขับโซเดียม ลดปริมาณเลือด และทำให้ความดันโลหิตลดลง มีอาการข้างเคียงทำให้การตอบสนองทางเพศลดลง
2.- ยาในกลุ่ม ACEi เช่นยา enalapril, captopril, lisinopril , ramipril ที่มีผลยับยั้งการสร้างฮอร์โมนแอนจิโอเทนซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือด เกิดการคั่งของโซเดียมในร่างกาย และทำให้เกิดการบวมน้ำ โดยมีอาการข้างเคียงทำให้เกิดผื่นแดง และทำให้ไอมาก แม้ว่ายาส่วนใหญ่จะขับออกทางไต แต่ก็มีรายงานว่ายาบางชนิดในกลุ่มนี้ทำอันตรายต่อตับด้วยเช่นกัน ยากลุ่มนี้บางตัวจะมีคุณสมบัติเป็น prodrug ซึ่งจะต้องถูกเปลี่ยนสภาพที่ตับก่อนจึงจะออกฤทธิ์ได้ แต่ถ้าผู้ป่วยมีภาวะตับทำงานบกพร่องยาตัวนั้นจะใช้ไม่ได้
ตัวที่ไม่ได้เป็น prodrug ได้แก่ captopril อย่างไรก็ดียากลุ่มนี้ เช่น captopril, enalapril และ lisinopril มีรายงานการเกิดตับอักเสบได้

3.- angiotensin II antagonists เช่นยา losartan ซึ่งมีข้อดีกว่ายาในกลุ่ม ACEi เนื่องจากไม่ทำให้เกิดอาการไอ และอื่นๆ แต่ก็ยังมีรายงานของการเกิดอาการปวดหัว ไอ มึนงง
4.- ยาที่ออกฤทธิ์ต่อสมอง เช่นยา Clonidine ทำให้สมองส่งสัญญาณไปกระตุ้นหลอดเลือดลดลง ทำให้หลอดเลือดคลายตัว ความดันเลือดลดลง โดยยาในกลุ่มนี้จะถูก metabolised ที่ตับ และถูกขับออกทางไต
5.- ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ adrenaline ทำให้เกิดการคลายตัวของหลอดเลือด
6.- ยาในกลุ่ม beta-blockers เช่น propanolol มีผลทำให้หัวใจบีบตัวส่งเลือดออกไปลดลง แต่ก็มีอาการข้างเคียงคือ สมรรถภาพทางเพศลดลง และเหนื่อยง่ายขณะออกกำลังกาย ส่วนการเปลี่ยนแปลงยานั้น จะถูก metabolised ที่ตับ จึงต้องใช้ยาอย่างระมัดระวังในผู้ป่วยโรคตับ
7.- ยาในกลุ่ม calcium channel blockers เช่น verapamil ยับยั้งการนำแคลเซียมเข้าสู่หลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดคลายตัว ความดันโลหิตลดลง แต่ก็ทำให้เกิดอาการข้างเคียงคือ ปวดหัว หน้าแดง เหงื่อออกมาก ท้องผูก ในผู้ป่วยโรคตับจะต้องลดขนาดการใช้ยาลง เนื่องจากถูก metabolised ที่ตับ
8.- ยาที่มีผลขยายหลอดเลือด เช่น minoxidil จะใช้ในกรณีที่ใช้ยาอื่นไม่ได้ผล อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นคือ อาจมีอาการบวมเกิดขึ้น และผมขึ้นผิดปกติ ส่วนการกำจัดยานั้น ตับจะเปลี่ยนรูปแบบยา และขับออกทางไต
9.-ยากลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มข้างบน ได้แก่HERBESSER, APRESOLINE, MINIPRESS, ISOMET

การใช้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดความดันโลหิต หรือยาในกลุ่ม ACEi ที่กล่าวถึง แม้ว่าจะไม่ได้มีผลต่อตับ แต่ก็มีข้อควรระวังสำหรับผู้ป่วยโรคตับเช่นกัน ในกรณีที่ใช้ในผู้ป่วยโรคตับ ก็ต้องลดขนาดการใช้ลง ซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์

อาการข้างเคียงที่พบในยาลดความดันโลหิต คือ
1.ยากลุ่มปิดกั้นแคลเซียม ได้แก่ยา Plendil, Norvasc, AdalatCR อาการข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ปวดศีรษะ, บวมที่ขา
2.ยากลุ่มปิดกั้นเอนไซม์ ACE (ACEI)ได้แก่ Enaril, Accupril, Tritace เป็นต้น อาการข้างเคียงที่สำคัญคือ อาการไอ
3.ยากลุ่ม ARB ได้แก่ Micardis, Cozaar, Diovan, Blopress กลุ่มนี้อาการข้างเคียงไม่ค่อยพบ
4.ยากลุ่มปิดกั้นเบต้า (Beta Blocker) ได้แก่ Concor, Tenormin, Betaloc, Inderal อาการข้างเคียงที่พบบ่อยคือ สมรรถภาพทางเพศลดลง, หัวใจเต้นช้า, อ่อนเพลีย
การแพ้ยาตัวหนึ่งอาจจะไม่ได้แพ้อีกตัวหนึ่ง ที่สำคัญมากที่คนมักเข้าใจผิดคือ คำว่า แพ้ยา กับ อาการข้างเคียงของยา ถ้าแพ้ยา(drug allergy)จะหมายถึง มีผื่นขึ้น หน้าบวม หอบหืด ต้องหยุดยา
..... ส่วนอาการข้างเคียงของยา(side effects) จะเป็นคล้ายๆกัน  ซึ่งทานยาต่อได้ถ้าอาการไม่มาก เช่น ไอไม่มากก็ทานยาต่อได้......

Wednesday, June 2, 2010

แพ้ PGS ถ้าใช้ Cef 3 ต้องทำ skin test ?

คำถาม:- ถ้าผู้ป่วยมีประวัติแพ้ penicillin แล้วต้องใช้ cef 3 จำเป็นต้องทำ skin test หรือไม่คะ พยาบาลมองในประเด็นป้องกันการถูกฟ้องร้อง อาจารย์ว่าจำเป็นมั้ยคะ จะได้กำหนดเป็นแนวทาง ขอบคุณค่ะ

คำตอบ  :- คือ การแพ้ penicillin ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าเป็น rash หรือ anaphylaxis ครับ เพราะมีสาเหตุต่างกัน และหากจะใช้ cephalosporins ในผู้ป่วยที่แพ้ penicillin คนละแบบ ความเสี่ยงก็ไม่เท่ากันครับ กล่าวคือถ้าแพ้แบบ rash ก็อาจไม่แพ้ cephalosporins ครับ เพราะอาจเป็นการแพ้ side chain ของยามากกว่าที่แพ้โครงสร้างหลักครับ

กล่าวโดยสรุปหากแพ้แบบ anaphylaxis ก็พิจารณาใช้ยาตัวอื่น ๆเถอะครับ หากจะทำ skin test ก็ไม่แนะนำ หากจะ desensitize แพทย์ต้องอยู่ครับ

การบริหารยาใด ๆ ก็ตาม หลักการสำคัญประการหนึ่งคือ ต้องให้ข้อมูลผู้ป่วยครับ โดยเฉพาะหากมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติการณ์ หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ครับการทำ skin test +ไม่ได้บอกว่าฉีดจริงจะแพ้เพราะมี false positive มาก จึงไม่ค่อยมีประโยชน์นัก
มียาอื่นให้เลือกหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเป็นต้องใช้ยานี้ ต้องเตรียมการช่วยชีวิตไว้ใกล้มือ เพราะอาจต้องทำถ้าผู้ป่วยเกิดแพ้ขึ้นมาจริงๆ เพราะถ้าเตรียมการดีจะช่วยผู้ป่วยได้ทันเวลา

จะ test ยาฉีด cephalosporin

วันนี้ พยาบาลมาถามว่าจะทำ skin test สำหรับยาฉีด cephalosporin ยังไง เพราะไม่ได้ทำตั้งนานแล้ว คนไข้มีประวัติแพ้ penicllin มาก่อน แต่ไม่รู้แพ้แบบรุนแรงแค่ไหน รู้แต่ว่ามีอาการผื่นคันตามตัว ก็เลยลองค้นในเน็ตดู ถ้าเป็น cephalosporin รุ่น 3 ไม่ต้อง test ก็ได้ เพราะไม่ค่อยแพ้ และการทำ skin test ไม่ค่อยแม่นยำเท่าไหร่ อาจได้ผลลบ แต่เวลาฉีดยาจริงแล้วอาจเกิดแพ้ก็ได้ ต้องระวังอยู่ดี

แล้วก็เจอบทความที่น่าสนใจ จึงนำมาอ่านดู
(1) อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากยา Ceftriaxone injection มีอะไรบ้าง
(2) จำเป็นต้องทำ skin test ในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยา ceftriaxone
หรือไม่
By…ภก.สุฟยาน ลาเต๊ะ, 01/10/2550

คำตอบสำหรับคำถามที่ 1)

โดยทั่วไปแล้วยา Ceftriaxone จัดเป็นยาที่ผู้ป่วยสามารถทนต่อยาได้ดี (well tolerated) ในการศึกษาทางคลินิก อาการไม่พึงประสงค์ต่อไปนี้ได้รับการพิจารณาแล้วว่าเกี่ยวข้องกับการให้ยา Ceftriaxone รวมทั้งอาการไม่พึงประสงค์บางอาการเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับการให้ยานี้เช่นกัน ที่รวบรวมมาได้ มีดังนี้
1. อาการไม่พึงประสงค์ต่อบริเวณที่ให้ยา (Local Reactions)
1.1 ปวด, เป็นก้อนแข็ง, ห้อเลือด และเจ็บปวดเมื่อสัมผัส (pain, indurable, echymosis, tenderness) พบ 1-2% ของอาการไม่พึงประสงค์ทั้งหมดต่อบริเวณที่ให้ยา
1.2 หลอดเลือดอักเสบ (Phlebitis) ได้รับรายงานประมาณ <1% หลังการให้โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (IV)
1.3 มีรายงานเกิดอาการร้อน ๆ ตึง ๆ หรือ เป็นก้อน ๆ แข็ง ๆ (warmth, tightness or induration) บริเวณที่ฉีดยา โดยพบ 17% ภายหลังการฉีดเข้า IM โดยใช้ยาที่มีความเข้มข้น 350 mg/ml และพบ 5% ภายหลังการฉีดแบบ IM โดยใช้ยาที่มีความเข้มข้น 250 mg/ml (ความเข้มข้นยิ่งสูง ยิ่งทำให้เกิดปัญหามากขึ้น)
2. อาการแพ้ยาหรือภูมิไวเกินต่อยา (Hypersensitivity)
2.1 ผื่น (rash ; erythematous, urticarial) ประมาณ 1.7%,
2.2 อาการแพ้หรือภาวะภูมิไวต่อเกินต่อยาอื่น ๆ ที่เกิดได้บ้าง (<1%) ได้แก่ อาการคัน, ไข้, หรือ หนาวสั่น (มีประสบการณ์ทางคลินิกระบุว่าอาการ chills หลังฉีด Ceftriaxone สามารถแก้ไขได้โดยการฉีด CPM ก่อนให้ยา Ceftriaxone ประมาณ 5-10 นาที)
3. อาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบเลือด (Hematologic)
3.1 เกิดภาวะ eosinophile มากผิดปกติ (eosinophilia) (6%), ภาวะ Thrombocyte หรือ blood platelet เพิ่มขึ้น (Thrombocytosis) (5.1%), ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (Leukopenia) (2.1%)
3.2 อาการอื่น ๆ ที่เกิดได้เล็กน้อย (<1%) ได้แก่ anemia, hemolytic anemia, neutropenia (ภาวะที่เลือดมี neutrocyte น้อยกว่าปกติ), จำนวนเกร็ดเลือดต่ำลง (thrombocytopenia), lymphopenia และ prothrombin time ยาวนานขึ้น
4. อาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal)
4.1 ท้องเสีย (2.7%)
4.2 คลื่นไส้ อาเจียน ความรู้สึกรับรสผิดปกติ ; (<1%)
4.3 อาจเกิด pseudomembranous colitis ระหว่างการให้ยาหรือภายหลังการหยุดยาแล้ว
5. อาการไม่พึงประสงค์ต่อตับ (Hepatic)
5.1 ระดับ SGOT หรือ SGPT สูงขึ้น (3.1% หรือ 3.3% ตามลำดับ)
5.2 ที่เกิดได้น้อย (<1%) อาจพบระดับ alkaline phosphatase และ bilirubin สูงขึ้น
6. อาการไม่พึงประสงค์ต่อไต (Renal)
6.1 ระดับ BUN สูงขึ้น (1.2%)
6.2 ที่เกิดได้น้อย (<1%) ได้แก่ ระดับ Creatinine สูงขึ้น และอาจพบ casts ในปัสสาวะ
7. อาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System)
7.1 มีรายงานการเกิดอาการปวดศีรษะ หรือ เวียนศีรษะบ้างเล็กน้อย (<1%)
8. อาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบอวัยวะสืบพันธุ์และอวัยวะขับถ่ายปัสสาวะ (Genitourinary)
8.1 มีรายงานเกิดการติดเชื้อ monilia (moniliasis) หรือ vaginitis (ประมาณ <1%)
9. อาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ที่มีรายงาน
9.1 เหงื่อไหล (diaphoresis) และรู้สึกหน้าแดง (flushing) (เกิดได้ประมาณ <1%)
9.2 ปวดท้อง
9.3 อาจเกิดหลอดลมบีบเกร็ง (Bronchospasm), serum sickness (ปฏิกิริยาภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง), anaphylaxis ประมาณ 0.1%
9.4 เกิดนิ่วในไต เนื่องจาก uric acid สูง
9.5 เลือดกำเดาไหล (epistaxis)
9.6 ท้องอืด
9.7 gallbladder sludge (ถุงน้ำดีขุ่นเหมือนสีโคลน)
9.8 ใจสั่น
9.9 ชัก



คำตอบสำหรับคำถามที่ 2)

เรื่องของ Skin test ยังคงเป็นข้อสงสัยกันในทางปฏิบัติ (ขณะที่เขียนนี้ผมได้เจอ website หนึ่งซึ่งเป็นCoP webbord ระบุว่าตอนนี้ที่ รพ.มอ. ไม่ทำ skin test แล้ว สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่http://medinfo.psu.ac.th/KM/copboard/view.php?No=155 เหตุผลคร่าว ๆ ที่จะเสนอมีดังนี้ครับ (ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ อ่านได้ใน WI-PHA-11 เรื่อง “การทำ skin test เมื่อสงสัยแพ้ยา” ของ รพ.ยะหริ่ง หรือค่อยหาเวลาจัดอบรมในอนาคตอันใกล้ครับ)
1. โดยทั่วไปไม่น่าจะต้องทำ skin test ในผู้ป่วยที่ไม่มีประวัติแพ้ penicillin เพราะมีโอกาสที่จะมี positive skin reaction เพียงร้อยละ 2 เท่านั้น (Gladde J et al JAMA 1993;270:2456-2463)
ถ้าผู้ป่วยมีประวัติแพ้ penicillin การทำ test ให้ผลบวกร้อยละ 7 ถึงร้อยละ 35 ซึ่งผู้ป่วยที่มีผลการทดสอบเป็นลบ มักจะสามารถใช้ penicillin ได้อย่างปลอดภัย การทดสอบผิวหนังสำหรับ cephalosporin ใช้ penicillin ได้ Reagent ที่ใช้ คือ penicilloyl polylysine (PPL) ซึ่งเป็น major determinant mixture (แต่ไม่มีในประเทศไทย) ส่วน benzylpenicillin (10,000 u/ml) หรือวิธีการที่มักทำในปัจจุบัน โดยการทดสอบด้วยยา penicillin G นั้น เป็น minor determinant ซึ่งมีประสิทธิภาพต่ำกว่า ทดสอบได้เพียงบางส่วนของ minor determinant ไม่มีความแม่นยำเพียงพอ (sensitivity ประมาณ 80%) ดังนั้นจำเป็นต้องระลึกเสมอว่า “แม้ผลการทดสอบจะ negative ผู้ป่วยก็ยังอาจเกิด anaphylaxis ได้”
2. Standardized skin test สำหรับทดสอบยาปฏิชีวนะ มีเพียงยา “penicillin” ตัวเดียวเท่านั้นเท่านั้นที่เชื่อถือได้ และมีข้อบ่งชี้ในการทำเมื่อผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยาหรือสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าอาจแพ้ยา (ไม่จำเป็นต้องทำทุกราย) ซึ่งวิธีที่จะทดสอบได้แม่นยำต้องทดสอบทั้ง major determinant และ minor determinant
3. การทำ skin test โดยใช้ cephalosporin ยังไม่มีวิธีที่เชื่อถือได้ จึงไม่ควรใช้ cephalosporin ทำ skin test หากผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยา cephalosporin หรือ beta-lactam อื่น อาจใช้ PGS ทำ skin test แทนได้ (เฉพาะที่มีประวัติแพ้หรือสงสัย) แต่แม้ว่าจะ positive ต่อยา penicillin โอกาสที่จะ cross ไปแพ้กลุ่ม cephalosporin ก็มีน้อยมาก มีการรวบรวมรายงาน 11 การศึกษาพบว่า ผู้ที่มี positive skin test ต่อ penicillin โอกาสแพ้ cephalosporin มี 4.4 % (Kelkar PS, Li JT. Cephalosporin allergy. N Engl J Med. 2001;345:804-809.) อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผล penicillin skin test จะเป็น negative ก็ยังอาจแพ้ cephalosporin ได้ เช่นกัน (ดังกล่าวไว้ในข้อ 1) ดังนั้นจึงควรซักประวัติอย่างละเอียด




1. http://www.rxlist.com/cgi/generic/ceftriax_ids.htm
2. http://medinfo.psu.ac.th/KM/copboard/view.php?No=155
3. http://www.pha.nu.ac.th/apirukw/dis/forum_posts.asp?TID=686&PN=1
4. AHFS Drug Information
5. ตรงประเด็น เรื่อง Adverse Drug Reactions

Sunday, May 23, 2010

ยาฉีด haldol 5 mg/ml

วันนี้มีสั่งยาฉีด haldol 5 mg/mlฉีดเข้าเส้นโดยตรงให้คนไข้ เลยมาค้นการใช้ยาตัวนี้ในเน็ต ยาตัวนี้ใช้ได้ทั้ง IM, DIRECT IV, IV INFUSION ถ้าฉีดเข้าเส้นแบบ DIRECT IV ไม่ต้องเจือจาง ถ้าฉีด IV INFUSION ให้เจือจางใน NSS,หรือ D-5-W ใช้เวลาให้อย่างน้อย 30 นาที ยาเมื่อผสมแล้วอยู่ได้ 24 ชั่วโมง ในภาชนะที่ปิด

การใช้ haldol injection มักใช้กรณีภาวะความผิดปกติทางจิตที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน อาการ DELIRIUM TREMENS(DT) หรืออาการสั่นซึ่งมีหลายสาเหตุ อาทิเช่นคนที่กำลังเลิกเหล้า ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ระดับโซเดียมต่ำ ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ หรืออาจเกิดจากยาเช่น ยาโรคหัวใจ LIDOCAINE,LANOXIN หรือเกิดจากใช้ยามานานเช่นยา DIAZEPAM
หรือสาเหตุจากทางจิตใจเช่น ผู้สูงอายุที่อยู่โรงพยาบาบนาน ๆ ต้องปรับตัวมากกว่าคนหนุ่มสาว บางครั้งจากสิ่งแวดล้อม เช่นผู้ป่วยที่ต้องแยกอยู่คนเดียว หรือเห็นเตียงข้าง ๆ เสียชีวิตเกิดความหวาดกลัว

อาการ delirium พบบ่อยในโรงพยาบาล แผนกไอซียูพบมากที่สุด บางคนอาจอาละวาดก้าวร้าว

การรักษา อาจให้ haldol ฉีดเข้าเส้น แล้วคอยดูอาการ 20-30นาที ถ้ายังไม่สงบอาจให้ 2 เท่าของครั้งแรก การให้ยาขนาดเดิมมักไม่ได้ผล ควรเพิ่มขนาดทุก 30 นาที จนกว่าผู้ป่วยจะสงบ หรืออาจให้ยาอื่นร่วมด้วย
ข้อมูลนี้ได้จาก www.bangkokhealth.com

Tuesday, May 18, 2010

TRANSFER FACTOR(ทรานสเฟอร์แฟคเตอร์) คืออะไร

Sunday, May 31, 2009
TRANSFER FACTOR คืออะไร
วารสาร ฟาร์มาไทม์ [ปีที่ 7 ฉบับที่ 73 มกราคม 2552]

“ฟาร์มาไทม์” เป็นวารสารรายเดือน มุ่งนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร ความรู้และความก้าวหน้าใหม่ ๆ ทัศนะ และกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาคมผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทั้งในภาครัฐและเอกชน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ฟาร์มาไทม์” เป็นแหล่งข้อมูลทางวิชาการเพิ่มเติมสำหรับเภสัชกรสาขาต่าง ๆ และรวมถึงนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ เพื่อดำรงไว้ซึ่งมาตรฐานในการประกอบอาชีพและการเตรียมพร้อมในการก้าวสู่ความเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของวิชาชีพนี้


น้ำนมแรก และ Transfer Factor

ปกติน้ำนมแม่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกหรือลูกน้อย ธรรมชาติได้จัดสรรให้น้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีคุณภาพเหมาะสมสำหรับลูก น้ำนมเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญซึ่งมีคุณภาพสูง มีไขมันที่เรียกว่า มันเนย ซึ่งเป็นแหล่งให้พลังงาน มีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายมาก มีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลแล็คโตสที่จะช่วยดูดซึมฟอสฟอรัสและแคลเซียม ซึ่งมีอยู่มากในน้ำนมได้ดี นอกจากนี้ ยังมี vitamin มากมาย เช่น vitamin A, B1, B2, Niacin และ vitamin C เป็นต้น

ใน 4-7 วันแรกของน้ำนมแม่ หรือที่เราเรียกว่า “น้ำนมแรก” จะมีน้ำนมน้ำเหลือง (colostrum) ไหลออกมาประมาณวันละ 10-40 ซีซี. ซึ่งน้ำนมน้ำเหลืองหรือน้ำนมแรกนี้ จะประกอบด้วย protein และ เกลือแร่ที่สูงกว่าปกติของน้ำนมทั่วไป แต่จะมีไขมันและน้ำตาล lactose ต่ำกว่า ข้อดีเด่นของน้ำนมแรกหรือน้ำนมน้ำเหลืองก็คือมีภูมิต้านทานโรคในปริมาณที่สูง โดยมีสารสำคัญตัวหนึ่งที่ชื่อว่า Transfer Factor (ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์) อยู่ในน้ำนมแรกนี้ ซึ่งได้ถูกค้นพบโดย Dr. H. Sherwood Lawrence (ดร. เอช เชอร์วูด ลอเร้นซ์) ในปี ค.ศ.1949 จากนั้นจึงได้มีการค้นคว้าศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง พบว่า Transfer Factor นี้เป็น protein ขนาดเล็กที่ประกอบด้วย amino acid จำนวน 44 ตัว และเนื่องจากมีน้ำหนักโมเลกุลไม่เกิน 10,000 และเล็กมาก จึงไม่เป็น antigen ดังนั้น เมื่อ Transfer Factor เข้าสู่ร่างกายจึงไม่ถูก immune system ทำลาย ทำให้คงอยู่ในร่างกายได้นาน บางทีเป็นปี ๆ

Transfer Factor ซึ่งมีความหมายว่า ตัวปัจจัย (factor) ทำหน้าที่ถ่ายทอด (transfer) ของสิ่งมีชีวิตที่มีภูมิต้านทานต่อ antigen ชนิดหนึ่งซึ่งเมื่อนำไปให้กับสิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยได้รับ antigen นั้นมาก่อน ก็จะสามารถชักนำให้สิ่งมีชีวิตที่ได้รับ Transfer Factor มีภูมิต้านทานต่อ antigen ดังกล่าวเกิดขึ้น นั่นคือ ทำให้เกิด passive cellular immunity ได้ หรือความสามารถในการแสดงออกของภูมิต้านทานแบบ cell mediated immunity จากผู้ให้ที่มีภูมิคุ้มกันไปสู่ผู้รับที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน หรืออาจกล่าวได้ว่า Transfer Factor เป็น dialyzable materials ที่ได้มาจาก sensitized lymphocytes มีคุณสมบัติเปลี่ยน non-sensitized T lymphocyte เป็น sensitized T lymphocyte ซึ่งหลังจากเปลี่ยนสภาพแล้ว เมื่อพบ antigen (ที่ specific ต่อ Transfer Factor) ก็จะประพฤติตัวเช่นเดียวกับ sensitized T lymphocyte มีข้อสังเกตว่า ถ้าเอา lymphocyte ของคนหรือสัตว์ที่ได้รับ Transfer Factor เช่นกัน แล้วนำมาสกัดก็จะได้ Transfer Factor อีก

กลไกการทำงานของ Transfer Factor
กลไกการทำงานของ Transfer Factor ก็ยังไม่ทราบแน่ชัด บ้างก็สันนิษฐานว่า Transfer Factor ซึ่งเป็น single-stranded polynucleotide อาจเข้าไปใน T lymphocyte และให้ information แก่ T lymphocyte หรือ Transfer Factor เอง อาจถูกนำไปสร้างเป็น specific antigen receptor บน lymphocyte ได้ โดยอาศัยหลักของการชักนำ (inducer fraction) การกระตุ้นและสร้าง antibody เฉพาะอย่าง (antigen specific fraction) และการระงับหรือยับยั้ง (suppressor fraction)

Transfer Factor ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ได้นำ Transfer Factor มาใช้ประโยชน์หลายด้าน เนื่องจากทราบว่า Transfer Factor จะให้ความฉลาดกับภูมิคุ้มกันซึ่งถูกถ่ายทอดเพื่อจะใช้ในการจดจำข้อมูลจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง โดย Transfer Factor จะทำหน้าที่เสมือนอาจารย์ให้ความรู้กับเซลล์ใหม่ที่ผลิตขึ้นในร่างกาย เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง เพื่อการอยู่รอดของเซลล์ที่เกิดใหม่ในสภาพแวดล้อมใหม่ รวมทั้งทำให้การสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันระหว่างเซลล์ในร่างกายให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น จึงได้มีการนำมาใช้ในกรณีของ
1. Immunodeficiency เพื่อช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย โดยมีข้อดีคือ ไม่ทำให้เกิดปฏิกิริยา graft versus host ในผู้รับที่มี immunodeficiency ดังการให้ lymphocyte เนื่องจาก Transfer Factor เป็นการให้ cellular immunity โดยแท้จริง ซึ่งผิดกับการให้ lymphocyte ที่มักจะมี B lymphocyte ปะปนไปกับ T lymphocyte เสมอ ทำให้ได้ humoral immunity ด้วย ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการในการรักษา
2. ช่วยเพิ่มเซลล์ต้านมะเร็ง (Anti-cancer)
3. ช่วยเพิ่มเซลล์ต้านเซลล์ติดเชื้อ (infectious disease) ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อ bacteria, virus, เชื้อรา เช่น เป็นหวัด เจ็บคอ วัณโรค ตับอักเสบ เริม ไซนัส เป็นต้น
4. ช่วยปรับความสมดุลของภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV)
5. ช่วยลดอาการภูมิแพ้ตัวเอง เช่น SLE ข้ออักเสบและการอักเสบอื่น ๆ
6. ช่วยลดอาการภูมิแพ้ หอบหืด ขึ้นผื่น แพ้อากาศ
7. โรคผิวหนังบางชนิด ช่วยลดปัญหา เช่น Eczema เป็นต้น
ปัจจุบันนี้ Transfer Factor นอกจากจะพบในน้ำนมแรกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแล้ว ยังสามารถพบได้ในไข่แดงด้วย ซึ่งก็ได้มีการสกัดสาร Transfer Factor มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดยสกัดจากน้ำนมแรกหรือน้ำนมน้ำเหลือง (colostrum) ของวัว และจากไข่แดง ในรูปแบบของการใช้รับประทาน จึงเป็นความก้าวหน้าทางการแพทย์และโลกวิทยาการยุคใหม่ เพื่อใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ของมนุษย์ในการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโรคติดเชื้อ ภูมิแพ้ ภูมิต้านทานต่ำ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคมะเร็ง
สรุปแล้ว transfer Factor ก็คืออาหารเสริมที่ช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพนั่นเอง
สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ ภ.ญ.สมใจ โทร.089-4554587 หรือที่http://4lifetransferfactor-pharmacist.blogspot.com/



Reference:

1. คู่มืออิมมูโนวิทยา คณะผู้เรียบเรียง สุทธิพันธ์ สาระสมบัติ วิบูลย์ศรี พิมลพันธุ์ สายสุนี วนดุรงค์วรรณ นภาธร บานชื่น บรรณาธิการโดย ศ.นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ หน้า 87-88

2. มะเร็ง การรักษาและการป้องกัน โดย รศ.พญ. สุพัตรา แสงรุจิ แผนกรังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

3. PDR for Nonprescription Drugs, Dietary Supplement, and Herbs 29 edition, 2008

4. รศ.นพ. เบญจะ เพชรคล้อย ความรู้พื้นฐานและการทดสอบอิมมูโนวิทยา (ปี 25)

5. ดร. สนิท มกรแก้วเกยูร ภูมิคุ้มกันระบบเซลล์และสารออกฤทธิ์ คู่มือภูมิคุ้มกันวิทยา รวบรวมโดย ศักดิ์ชัย เดชตรัยรัตน์ ภาควิชาภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2530

6. Sean C Sweetman, Martindale (Thirty-fifth edition), 2007

7. Rak, AV et al. Effectiveness of Transfer Factor (TF) in the Treatment of Osteomyelitis Patients. International Symposium in Moscow 2002, Nov. 5-7, 62-63

8. Granitor, VM et al. Usage of Transfer Factor Plus in Treatment of HIV Infected Patients, Russian Journal of HIV, AIDS and Related Problems 2002, 1, 79-80

ยาฉีด valium dilute ได้หรือไม่

วันนี้ พยาบาลโทรมาถามว่า ยาฉีด valium dilute ได้หรือไม่ ได้นำไปเจือจางด้วยsterile water แล้วขุ่นเป็นสีครีม ตอนแรกเรานึกว่าอาจเป็นฟอง แต่มาค้นในเน็ตดู จึงรู้ว่า ต้องเจือจางด้วย nss0.9%หรือ D-5-W เท่านั้น และต้องเจือจางด้วยอัตราส่วนมากกว่า 1 ต่อ 40 ยาจึงจะละลายได้ดี และต้องรีบใช้ยาเพราะยาจะตกตะกอนได้ ถ้าทิ้งไว้นานไป

ข้อมูลเกี่ยวกับ Solution compatibility ของยาฉีด diazepam ยี่ห้อ Valium®
สารน้ำที่ใช้ในการเจือจางยาในครั้งนี้ คือ Sodium chloride 0.9%

Final conc. (mg/L)
40 mg (a) ไม่เกิดการตกตะกอน และสูญเสียยาประมาณ 6% ใน 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิห้อง
10-80 mg (c) ไม่เกิดการตกตะกอน และสูญเสียยาประมาณ 2-8% ใน 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิห้องและอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส
200 mg (a,c) ไม่เกิดการตกตะกอน
100 และ 200 mg (a) ยังคงเป็นสารละลายใสในระยะเวลา 10 วัน
50 mg (a) ไม่เกิดการสูญเสียยาใน 7 วัน ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส
50 mg (c) สูญเสียยาประมาณ 5% ใน 7 วัน ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส
หมายเหตุ:
(a) ทดลองในภาชนะที่ทำจากแก้ว
(b) ทดลองในภาชนะที่ทำจาก PVC
(c) ทดลองในภาชนะที่ทำจาก polyethylene
(d) ทดลองในภาชนะที่ทำจากแก้วและ polypropylene trilayer

ข้อมูลได้จาก เว๊ปไซด์
http://drug.pharmacy.psu.ac.th/wbfile/612254911283.doc

Monday, May 17, 2010

การได้รับสารพิษ และการรักษา (poisoning)

เคยเจอคนไข้กินยาฆ่าตัวตาย และบางครั้งมีเด็กเกิดอุบัติเหตุกินสารพิษเข้าไป ผู้อยู่ในเหตุการณ์ฉุกเฉินควรสังเกตและจดจำสารพิษที่ผู้ป่วยได้รับเข้าไป เพื่อแพทย์จะได้หาทางรักษาได้เร็วขึ้น

ส่วนใหญ่อาการแสดงมีได้เกือบทุกระบบของร่างกาย ขึ้นอยู่กับชนิด จำนวน ระยะเวลาที่ผู้ป่วยได้รับสารพิษได้แก่

สาร cholinergic จะมีอาการแสดง คือ น้ำลายมาก น้ำตาไหล เหงื่อออกมาก กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อาเจียน ท้องเสีย ม่านตาเล็ก
กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชัก หัวใจเต้นช้า
สาร anticholinergic เป็นไข้ flushing ปากแห้ง ผิวแห้ง ม่านตาขยาย delirium
สาร iron มีอาการช๊อค ไข้ hyperglycemia ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
สาร mercury มีอาการstomatitis พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง gingivitis
ยา isoniazid มีอาการชัก coma acidosis
สาร opiates มีระบบหายใจล้มเหลว pinpoint pupil
สาร phenothiazines ตัวร้อนจัด dystonia syndrome,oculogyric crisis, coma,prolong QTc interval
กรณี ABSTINENCE (narcotic withdraw)มีอาการตัวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง น้ำตาไหลน้ำมูกไหล ม่านตาขยาย ชัก
สาร phencyclidine มีอาการ catatonia,rotatory,nystagmus,seizure,aggressive,paranoia
สาร salicylate ไข้ หายใจเร็ว tinnitis, acidosis, ชัก
สาร tricyclic ชัก โคม่า acidosis,tachyarrhythmia,prolong QRS interval, ความดันโลหิตต่ำ

Monday, May 10, 2010

แพ้ยา ranitidine injection

มีน้องพยาบาลมาปรึกษาว่า เมื่อวานเป็นโรคกระเพาะ และได้รับการฉีดยา ranitidine injection แบบ iv push สักพัก รู้สึกใจสั่นมาก ๆ
เราก็เลยมาเปิดหนังสือdrug information handbook จึงพบว่า ADR ของยาตัวนี้ มีอาการทางด้าน cardiovascular คือ bradycardia ,tachycardia ด้วย
จึงให้น้องเขาทำประวัติแพ้ยาตัวนี้ไว้ในเวชระเบียนเลย

ADR อื่น ๆ ได้แก่
ทางระบบประสาท ได้แก่ sedation dizziness headache confusion fever
ทางผิวหน้ง ได้แก่ rash
ทางเดินอาหาร ได้แก่ท้องผูก ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน
ทางเลือด ได้แก่ thrombocytopenia neutropenia agranulocytosis
ทางระบบหายใจ ได้แก่ bronchospasm
ทางตับ ได้แก่ hepatitis
endocrine & metabolic ได้แก่ gynecomastia

ความรู้เรื่องยาคุมกำเนิด

ยาเม็ดคุมกำเนิด

ยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดที่นิยมมากที่สุด โดยการรับประทานวันละครั้ง ครั้งละเม็ด ยาเม็ดคุมกำเนิดแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. ประเภทที่มีตัวยาเท่ากันทุกเม็ด
2. ประเภทที่มีตัวยาไม่เท่ากันทุกเม็ด
3. ประเภทที่มีฮอร์โมนโปรเจสโตเจนอย่างเดียว


1. ประเภทที่มีตัวยาเท่ากันและเหมือนกันทุกเม็ด

ยาคุมประเภทนี้มีตัวยาอยู่สองชนิดคือเอสโตรเจนและโปรเจสโตเจน ความแตกต่างของแต่ละยี่ห้อ ขึ้นอยู่กับชนิดของเอสโตรเจนและโปรเจสโตเจน ดังตารางที่ 1 และตารางที่ 2

ตารางที่ 1 ยาเม็ดคุมกำเนิดในกลุ่มนี้มีปริมาณเอสโตรเจนมาก ปัจจุบันไม่นิยมใช้เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดแล้ว แต่ใช้เพื่อการรักษาความผิดปกติทางนรีเวช

2. ประเภทที่มีปริมาณตัวยาไม่เท่ากันทุกเม็ด

ยาคุมชนิดนี้ได้ใส่ตัวยาในแต่ละเม็ดเลียนแบบปริมาณฮอร์โมนตามธรรมของร่างกาย ดังตารางที่ 3

3. ประเภทที่มีแต่ตัวยาโปรเจสโตเจน

มีฮอร์โมนโปรเจสโตเจนอย่างเดียว ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือ ยาคุมฉุกเฉินที่ชื่อ โพสตินอร์ (postinor) และ มาดอนน่า (madonna) ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป รวมทั้งร้านยาในห้างด้วย

ข้อควรทราบเกี่ยวกับยาคุมฉุกเฉินคือ
1. ยานี้ใช้เมื่อยามฉุกเฉินเท่านั้น หมายถึงยามที่ไม่ได้ตั้งใจจะมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน หรือคุมกำเนิดแบบอื่นแล้วเกิดผิดพลาดเช่นถุงยางแตกขาด
2. ยานี้ไม่ใช่ยาทำแท้ง
3. การกินยา ให้กินหลังร่วมโดยกินเม็ดแรกโดยเร็วที่สุด (หรือภายใน 72 ชั่วโมง) แล้วอีก 12 ชั่วโมงกินเม็ด ที่เหลือเริ่มกินช้าประสิทธิภาพของยาก็จะลดลงตามชั่วโมงที่ผ่านไป
4. ถ้ากินถูกต้อง ก็จะช่วยลดโอกาสตั้งครรภ์ลง 70 - 80 %
5. หลังกินยา 4 – 5 วันอาจมีเลือดออกได้ แต่ไม่ได้เป็นกับทุกคน
6. กินยานี้แล้วอาจทำให้รอบเดือนแปรปรวนไม่อาจคาดเดาได้

จะเริ่มกินยาเม็ดคุมกำเนิดเมื่อไร
ยาคุมทุกชนิด แผงแรกเม็ดแรกให้เริ่มกินภายใน 5 วัน นับจากวันแรกที่มีรอบเดือน มิฉะนั้นจะยับยั้งไข่ตกไม่ทันในรอบนั้น ยกเว้นยาคุมแบบ 20 ไมโครกรัมควรเริ่มตั้งแต่วันแรกที่รอบเดือนมา เมื่อเริ่มกินยาคุมแล้ว ก็สามารถมีผลคุมกำเนิดได้ตั้งแต่แผงแรกทันที ไม่ต้องใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นช่วย ทั้งสามารถหลั่งภายในช่องคลอดได้เลย และไม่ต้องไปนับวันปลอดภัย (7หน้า 7 หลัง) อีกต่อไป

เมื่อเริ่มกินยาคุมแล้ว ให้กินไปเรื่อยๆเรียงไปตามลูกศร ระหว่างกำลังกินยา ถ้ารอบเดือนมากระปริบกระปรอยก็ไม่ต้องหยุดยา เดินหน้ากินต่อไปเรื่อยๆ จนหมดแผง หมดแผงแล้ว ถ้าเป็นแบบ 28 เม็ดวันรุ่งขึ้นให้กินแผงใหม่ต่อทันที ไม่ต้องรอรอบเดือน ไม่ว่ารอบเดือนจะมาหรือไม่มา รอบเดือนจะหยุดหรือไม่หยุดก็ตาม ถ้าเป็นแบบ 21 เม็ดหมดแผงแล้ว (ปกติหมดเม็ดที่ 21 แล้ว อีก 2-3 วันรอบเดือนก็จะมา) เว้นไม่กิน 7 วัน เมื่อครบ 7 วันที่ไม่กินแล้ว วันที่ 8 ให้เริ่มแผงใหม่ทันที ไม่ว่ารอบเดือนจะมาหรือไม่มา รอบเดือนจะหยุดหรือไม่หยุดและระหว่างที่ไม่กินยา 7 วันนั้น ก็สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องกังวลว่าจะตั้งครรภ์
......จะเริ่มแผงแรกเมื่อไหร่
1. กรณีปกติทั่วไป รอรอบเดือนมาก็กินได้ทันที
2. กรณีหลังคลอดบุตร โดยปกติหลัง คลอดบุตร 6 สัปดาห์ไข่ก็จะตกเป็นครั้งแรก ดังนั้นจึงควรเริ่ม 4-6 สัปดาห์หลังคลอด แต่ถ้าเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็อาจเริ่มกินช้ากว่านี้ได้
3. กรณีแท้งบุตร
- ถ้าท้องน้อยกว่า 12 สัปดาห์ (3 เดือน) จะมีไข่ตกทันทีในรอบเดือนถัดมา ดังนั้นต้องเริ่มกินทันทีหลังแท้ง
- แต่ถ้าแท้งเมื่อท้องได้ 12-28 สัปดาห์ (3-7 เดือน) ไข่จะตกราว 3 สัปดาห์หลังแท้ง จึงควรกิน ภายในสัปดาห์แรกหลังแท้ง
......ถ้าลืมกิน
1. ถ้าลืมกิน นึกได้เมื่อไหร่ ให้ไปหยิบเม็ดที่ลืมมากินทันที (เท่ากับกินเม็ดนั้นช้าไปหน่อย) ห้ามผัดวันอีกต่อไป แล้วกินเม็ดถัดมาตามเวลาที่เคยกิน แต่ถ้านึกได้ในเวลาที่ต้องกินอีกเม็ด ก็กินสองเม็ดควบเลย

2. ในกรณีที่ลืมกิน 2 เม็ด ให้กิน 2 เม็ดที่ลืม แล้วเช้าวันรุ่งขึ้นกินอีก1เม็ด เย็นนั้นกิน 1 เม็ด เช้าวันรุ่งขึ้นกินอีกเม็ด (เพิ่มตอนเช้า สองเช้า เช้าละเม็ด) กรณีเช่นนี้อาจทำให้รอบเดือนมากระปริบกระปรอยได้ และถ้าลืมในช่วง 1 - 7 เม็ดแรก โอกาสพลาดอาจเกิดขึ้นได้ จึงต้องใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นช่วย เช่น ถุงยางอนามัย แต่ถ้าลืมในช่วงท้ายๆหรือจะหมดแผงก็ไม่ค่อยมีผลมากเท่าไหร่

3. ถ้าลืมกิน 3 เม็ด ก็จบเลย หยุดยา รอให้รอบเดือนมา แล้วเริ่มแผงใหม่ภายใน 5 วัน นับจากวันแรกที่มีเลือด
......กรณีท้องเสีย อาเจียน
1. ถ้ากินยาแล้วอาเจียน ถ้าอาเจียนหลัง 2ชั่วโมงไปแล้วก็ไม่มีผลอะไร แต่ถ้าอาเจียนภายใน 2 ชั่วโมง ก็ต้องกินซ้ำอีกเม็ด ถ้าเป็นแบบที่มีฮอร์โมนเท่ากันทุกเม็ด จะกินเม็ดไหนก็ได้ แต่ถ้าเป็นแบบ triphasic คือ แต่ละเม็ดมีฮอร์โมนไม่เท่ากัน ก็ต้องซื้ออีกแผงมาเสริมเม็ดที่อาเจียนออกไป (กินตรงเม็ดที่อาเจียน)

2.กรณีท้องเดินหลายวัน การดูดซึมของยาจะไม่ดี ควรใช้การป้องกันวิธีอื่นช่วยด้วย (กรณีเช่นนี้อาจมีเลือดออกกระปริบกระปรอยได้)


ยาฉีดคุมกำเนิด

ก็เป็นยาอีกประเภทที่นิยมกันสำหรับคนที่ไม่ชอบกินยาหรือมักลืมกินยา ยาคุมชนิดฉีดมีหลายแบบ แต่ที่มีใช้ในบ้านเราเป็นชนิด 3เดือน คือฉีดหนึ่งเข็มคุมได้ 3 เดือน เป็นตัวยาโปรเจสโตเจนที่ชื่อ medoxyprogesterol acetate 150 มิลลิกรัม ฉีดสะโพก
- ข้อดีของยานี้ก็คือ ฉีดครั้งเดียวสามารถคุมกำเนิดได้ 3 เดือน ประสิทธิภาพ 98 %
- ข้อเสียคือฉีดแล้วรอบเดือนมักไม่มา หรืออาจมาแบบกระปริบกระปรอย มีส่วนน้อยเท่านั้นทีมีรอบ เดือนมาตามปกติ ซึ่งก็ไม่มีอันตรายอะไร ยกเว้นคนที่มีอุปาทาน ก็อาจรู้สึกอึดอัดที่เคยมาแล้วไม่มา


ยาฝังคุมกำเนิด


มีประสิทธิภาพและอาการข้างเคียงเช่นเดียวกับยาฉีด เหมาะสำหรับคนที่มีลูกแล้วและต้องการเว้นช่วงไม่มีลูกไปหลายๆ ปี แต่เดิมเป็นยา 6 แท่ง ฝังเข้าใต้ผิวหนังบริเวณข้อศอก สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี ปัจจุบันมียาชนิดใหม่ แท่งเดียว คุมได้ 3 ปี การฝังก็ง่ายมากแท่งยาอยู่ในเข็ม การฝังก็คล้ายการฉีดยา นาทีเดียวก็เสร็จ

ใครควรใช้การคุมการคุมกำเนิดแบบใด
กรณีที่ยังไม่แต่งงาน และไม่ได้อยู่ด้วยกัน โดยเฉพาะหนุ่มสาวที่ได้เสียกันก่อนแต่ง ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กันบ่อย ถุงยางอนามัยเป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดที่น่าเลือกใช้ที่สุด เพราะนอกจากป้องกันการตั้งครรภ์ได้แล้ว ยังสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย เรียกว่า two in one ถุงยางอนามัยหาซื้อได้ง่าย ตามร้านขายยาทั่วไป ตามห้าง หรือแม้แต่ร้านสะดวกซื้อ ไม่ต้องอายหรอก ติดโรคเอดส์ยังน่าอายกว่า หรือตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อมยังน่าอายกว่า หยิบมาแล้วจ่ายเงินเหมือนซื้อสินค้าทั่วไป

กรณีที่ยังไม่แต่งแต่อยู่ด้วยกัน กรณีนี้ก็เหมือนสามีภรรยากันแล้ว ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบธรรมดา 21 เม็ดหรือ 28 เม็ดเหมาะสมที่สุด และต้องช่วยกันเตือนไม่ให้ลืมกิน ฝ่ายชายเองก็ไม่ควรไปสำส่อนกับหญิงอื่นหรือชายอื่น ก็จะช่วยลดอัตราการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

กรณีที่ได้เสียแบบไม่ตั้งใจ ก็มักเป็นฝ่ายหญิงแหละที่ประสบเหตุการณ์อย่างนี้ ทั้งนี้ก็เพราะวัฒนธรรมของเราไม่เอื้อ ฝ่ายหญิงก็ไม่รู้ตัวว่าจะโดนเมื่อไหร่จึงไม่ได้ป้องกัน กรณีที่ผิดพลาดไปอย่างนี้ ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินก็สามารถช่วยได้

กรณีแต่งงานแล้ว ถ้าเพิ่งแต่งงานใหม่ๆ ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบกินทุกวัน (21เม็ดหรือ28เม็ด) เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด โดยต้องเตรียมตัวตั้งแต่ตอนแจกการ์ดแต่งงานโน่นเลย (หรือตั้งแต่ได้วันฤกษ์ดี หรือช่วงไปถ่ายรูปสตูดิโอ) รอบเดือนมาปุ๊บก็เริ่มกินยาเม็ดคุมกำเนิดไปได้เลย ถ้ากิน 21 เม็ด แล้วถึงวันแต่งกลัวจะเป็นรอบเดือนก็กินแผงใหม่ต่อไปเลย ก็ไม่เป็นอุปสรรคกับการฮันนี่มูน

มีลูกแล้ว คนมีลูกแล้ว มีทางเลือกมาก อาจกินยาเม็ดคุมกำเนิดต่อได้เลย หรือจะฉีดยาคุมกำเนิด แต่ถ้าจะเว้นช่วงมีบุตรออกไปหลายปี ยาฝังยาคุมกำเนิดก็อาจเป็นอีกทางเลือก แต่ถ้าไม่ใช้ยา เพราะไม่อยากใช้หรือมีอาการข้างเคียงจากยา ใส่ห่วงอนามัยในโพรงมดลูกก็เป็นอีกทางเลือก

มีลูกพอแล้ว และแน่ใจว่าจะไม่มีลูกอีก การทำหมันเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด จะเป็นฝ่ายหญิงทำหมันหลังคลอดทันทีก็ดี หรือจะทำหมันแห้งก็ได้ แต่ถ้าให้ดีฝ่ายชายทำหมันดีที่สุด เพราะจะได้ไม่ไปปล่อยไว้ที่อื่นอีก ของฝ่ายชายทำง่าย หายเร็ว ทำช่วงที่ภรรยาตั้งครรภ์ดีที่สุด

ให้นมลูก กรณีที่เพิ่งคลอด หรือยังให้นมลูกอยู่ การกินฮอร์โมนเอสโตรเจนก็อาจมีผลให้ปริมาณน้ำนมลดลงได้ จึงควรใช้การคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนโปรเจสโตเจนอย่างเดียว อาจเป็นยาเม็ดรับประทานหรือยาฉีดก็ได้ และเมื่อหย่านมลูกแล้วก็เปลี่ยนไปใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบปกติทั่วไป

อายุมากแล้ว กรณีที่มีอายุเกิน 35 ปี การใช้เอสโตรเจนเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะนัก มีอัตราเสี่ยงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดได้ จึงควรใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่ไม่มีเอสโตรเจน หรือจะใช้การฉีดก็ได้ หรือถ้ามีลูกแล้วจะใส่ห่วงอนามัยในโพรงมดลูกก็ได้ค่ะ

พญ. อิสรินทร์ ธนบุญวรรณ

ขอบคุณ อ. รุ่งโรจน์ ตรีนิติ

หยุดฉีดยาคุมกำเนิด(ดีเอมพีเอ)แล้วประจำเดือนไม่มาซักที

วันนี้มีคนไข้โทรมาถามว่า คลอดลูกแล้วก็เริ่มฉีดยาคุมกำเนิดมาได้ 1 ครั้ง พอครบกำหนดครั้งที่สองหยุดฉีด รอมาจนถึงวันนี้อีก 4 เดือน ประจำเดือนยังไม่มา เพราะอะไร
เราอธิบายว่าร่างกายต้องใช้เวลาปรับตัว อาจใช้เวลา1- 6 เดือน
พอดีค้นในเน็ตมีหมอสูติเขียนไว้ ถ้าวางแผนจะมีบุตรคนต่อไปให้หยุดยาฉีดก่อนประมาณ 6 เดือน แล้วคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือ ถุงยางอนามัย เนื่องจากการคุมด้วยยาฉีดเมื่อหยุดยาประจำเดือนมักจะไม่กลับมาทันที โดยเฉลี่ยประมาณ 6 เดือน
และถ้าลืมฉีดยา เมื่อครบกำหนดแล้ว ยังสามารถฉีดได้ภายใน 5 วันนับจากวันที่ครบกำหนด

ในกรณีมารดาให้นมบุตร ควรทานยาคุมชนิด progestin only ไม่ใช่ฮอร์โมนผสมอย่างเช่น estrogen และ progestin เพราะ estrogen ทำให้น้ำนมไม่ไหล ระยะการตกไข่ของยาคุมกำเนิดชนิดทานจะกลับมาเร็วกว่ายาฉีด

ลองไปค้นข้อมูลเพิ่มเติมมาได้ความว่า
ยาฉีดคุมกำเนิดมีชื่อว่า ดีเอมพีเอขนาด 150 mg มีฤทธิ์ป้องกันไข่สุก

ฤทธิ์ของยาฉีดคุมกำเนิด
ปัจจุบันยาฉีดคุมกำเนิดนั้น ฉีดครั้งหนึ่งมีฤทธิ์คุมกำเนิดได้ 3 เดือนโดยจะฉีดบริเวณสะโพก เมื่อฉีดแล้วตัวยาจะอยู่ที่สะโพก และค่อยๆ ขับฮอร์โมนออกมา
หลักการพิจารณาเริ่มฉีดยาคุมกำเนิด การฉีดยาคุมกำเนิดก็เหมือนกับยากิน คือ ต้องเริ่มภายใน 5 วันแรกของรอบเดือนก่อนที่รังไข่จะทำงาน ถ้ารังไข่ทำงานแล้วจึงฉีด มีโอกาสท้องได้เช่นกัน
หลังจากฉีดยาคุมกำเนิด รอบเดือนจะผิดปกติเกือบทุกคน รอบเดือนจะมาไม่เหมือนเดิม ระยะแรกจะมากะปริดกะปรอย ไม่แน่นอน ฉีดนานๆ หลายเข็มเข้า ประจำเดือนจะหายไปเลย แต่ถ้าหยุดฉีดไประยะหนึ่ง ฮอร์โมนจากธรรมชาติก็เริ่มใหม่ ประจำเดือนก็จะมาปกติ
บางคนเข้าใจผิดว่า ถ้าฉีดยานานๆ จะมีโอกาสเป็นหมัน พบว่าไม่จริง แต่อาจจะทำให้มีลูกช้าได้ คนที่ฉีดยาต้องวางแผน เพราะไม่ใช่เมื่อพร้อมที่จะมีลูก หรืออยากมีลูกเมื่อไรแล้วหยุดฉีดจะมีลูกได้ทันที แต่ต้องรอไประยะหนึ่ง เช่น ฉีดไป 2 ปีกว่า ยาจะหมดฤทธิ์ก็ต้องรออีก 9 เดือน ถ้าฉีดนานปีกว่านี้ก็จะรอยาวนานขึ้นอีก การจะใช้ยาฉีด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อจะได้ตรวจร่างกายให้พร้อม

ข้อควรระวัง

ข้อควรระวังในการใช้ยาฉีด เมื่อฉีดยาแล้ว อย่าไปคลึงหรือขยี้บริเวณที่ฉีด เพราะจะทำให้ตัวยาในร่างกายน้อยวันลง แทนที่จะอยู่ได้ 90 วัน หรือ 1 เดือน ก็อาจเหลือเพียงแค่ 80 วัน ถึงแม้การฉีดยาคุมนี้จะอยู่ได้ 3 เดือน แต่ส่วนใหญ่แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาฉีดก่อน 1 สัปดาห์
สำหรับอาการข้างเคียง ที่พบบ่อยคือ เลือดออกกระปริบประปรอย หรือไม่มีเลือดออกมาเลย เป็นต้น

วิธีใช้

เริ่มต้นฉีดเข็มแรก ภายใน 5 วันแรกของรอบประจำเดือน และฉีดติดต่อกันไปทุกๆ 12 สัปดาห์หรือ 84 วัน ในหญิงหลังคลอดอาจเริ่มต้นฉีดยานี้ได้ภายหลังคลอดก่อนคนไข้จะกลับบ้าน
การทำงานของดีเอ็มพีเอ ยาชนิดนี้ป้องกันการตั้งครรภ์ได้โดยออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับฤทธิ์ของยาเม็ดคุมกำเนิดดังกล่าวมาแล้วแต่มีประสิทธิภาพสูงมาก
ผลของยาดีเอ็มพีเอต่อประจำเดือน ผู้ที่ใช้ยานี้จะมีระบบประจำเดือนผิดไปจากเดิมจนยากที่จะทำนายล่วงหน้าได้ แต่พอสรุปได้ว่าในระยะแรกที่ใช้ยานี้ ผู้ใช้มักมีเลือดออกกะปริบกะปรอย และภายหลังใช้ยานี้ได้ประมาณ 1 ปี ประจำเดือนมักจะขาดไป

ปัญหาของการฉีดยาคุมกำเนิดอาจจะมีบ้างในสุภาพสตรีบางราย โดยปัญหาหลักๆ มีอยู่ 2 ประการ คือ การที่คนที่ฉีดยาคุมกำเนิดอาจจะมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กๆ น้อยๆ เป็นครั้งเป็นคราว ซึ่งถ้าเป็นบ่อย ท่านควรไปรับคำปรึกษาแนะนำจากแพทย์ บางครั้ง แพทย์อาจจะพิจารณาให้ยารักษา ปัญหาส่วนใหญ่ก็จะได้รับการแก้ไขให้หมดไปได้ ปัญหาอีกประการหนึ่งคือ การที่ประจำเดือนไม่มาเลยตลอด 3 เดือน บางท่านอาจจะชอบ เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องรอบเดือนมา แต่บางท่านอาจจะกังวลใจ โดยเฉพาะบางท่านเข้าใจผิดในเรื่องประจำเดือนว่าเป็นเลือดเสีย ถ้าประจำเดือนไม่มา ตนเองอาจเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ

Sunday, May 2, 2010

ยาใหม่ LYRICA

โรคไฟโบรมัยอัลเจีย Fibromyalgia เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดเรื้อรัง ตามจุดต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะ ผู้หญิง ในอายุกลางคนขึ้นไป ทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน และไม่มียาเฉพาะ

ล่าสุด มีการค้นพบ Lyrica (pregabalin) ซึ่งเป็นยาที่อยู่ในกลุ่มป้องกันโรคลมชัก แต่สามารถนำมาใช้ได้อย่างได้ผลในโรคนี้ และเป็นยาเฉพาะโรคกลุ่มไฟโบรมัยอัลเจียตัวแรก ที่องค์การอาหารและยา อนุมติ

นอกจาก ไลริก้า จะสามารถใช้กับโรคนี้แล้ว ยังใช้ได้ดีในโรคลมชัก อาการปวดเรื้อรังจากงูสวัด ปวดปลายประสาท โดยเฉพาะในคนที่เป็นโรคเบาหวานและมีปลายประสาทเสื่อมหรืออักเสบ

เมื่อไม่นานมานี้ ในทางการรักษาผู้ป่วยโรควิตกกังวล โดยใช้ benzodiazepines  และใช้ buspirone การยับยั้งการดึงกลับเข้าไปของ monoamine จนกระทั่งได้เปลี่ยนจาก benzodiazepinesให้เป็นยาต้านการกดประสาท เช่น Venlafaxine ซึ่งเป็นยาระงับประสาทมีผลในการคลายความเครียด

ทั้งๆที่ได้บันทึกผลว่าปลอดภัย แต่การใช้ benzodiazepines ในระยะยาวอาจมีความเสี่ยงมากและอาจเกิดปัญหาตามมา แต่อย่างไรก็ตาม buspirone ต้องใช้เวลานานมากในการออกฤทธิ์และออกฤทธิ์ได้ไม่ดีเมื่อเทียบกับ benzodiazepines

ณ ปัจจุบัน จึงมีการพยายามเพื่อที่จะพัฒนา ยาคลายเครียดที่ไม่ใช่ benzodiazepines แต่ที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จ จากการทดลองโดยใช้ CCK-B antagonist ยับยั้ง Serotonin แต่กลับไม่ได้ผลเลย แม้ว่า buspirone จะถูกพิสูจน์ว่าสามารถใช้กับผู้ป่วยได้ แต่ก็ยากที่จะ แทนที่ benzodiazepines ได้และยังไม่สามารถแสดงประสิทธิภาพในการทดลองใช้กับผู้ป่วยโรคอื่นเช่น Social phobia, panic disorder

เนื่องจากการบำบัดผู่ป่วยมีจำกัดในการควบคุมการทดลองจึงได้มีการพัฒนาPregabalin ที่พัฒนามาจาก aminobutyric acid มาเป็นยาคลายเครียด และจากการศึกษาการใช้ยานี้ 900 mg.ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี เป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ พบว่า ไม่มีหลักฐานการเกิด abstinence syndrome ตามทันที

ดังนั้นจากการยายามศึกษาพบว่า Pregabalin ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะนำมารักษา

Pregabalin
ชื่อ IUPAC (S)-3-(aminomethyl)-5-methylhexanoic acid
สูตรโมเลกุล C8H17NO2
น้ำหนักโมเลกุล 159.25 g/mol

กลไกการออกฤทธ์

ตัวยาPregabalin ช่วยยับยั้งการกระตุ้น neurotransmittersที่มากเกินไป โดยการที่อาจจะไปติดกับ alpha2-delta subunit protein ของกระแสที่ขึ้นกับ calcium channelsใน สมองและไขสันหลัง

Lyrica มีผลต่อสารเคมีและระบบประสาทในร่างกายและยังควบคุม postherpetic neuralgia( nerve pain ที่เกิดจาก herpes virus ) และ diabetic peripheral neuropathy (การเจ็บปวกฃดบริเวณส้ นประสาทที่เกิดกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน) และการใช้ยาอย่างต่อเนื่องจะช่วยป้องกันไม่ให้โรคกำเริบ

การใช้ Lyrica และยาตัวอื่นร่วมกันอาจส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มและเกิดอาการง่วงนอนและตาพร่ามัวมากกว่าการใช้ Lyrica ปกติ แต่ขณะนี้ก็ยังไม่ทราบการทำงานที่แน่นอนของ Lyrica

เภสัชจลนศาสตร์
ยาสามารถใช้รับประทานก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ และต้องดื่มน้ำตามมากๆ
ยามี metabolism เล็กน้อย มีค่าครึ่งชีวิต 5-6.5 ชั่วโมง และขับออกบริเวณไต

ข้อควรระวัง

ควรใช้ยาอย่างระมัดระวังเพราะ ยามีผลทำให้เกิดการง่วงนอน วิงเวียน ควรหลีกเลี่ยงการขับรถและกิจกรรมที่เกี่ยวกับเครื่องจักร

ผลข้างเคียง
การใช้ยาอาจทำให้เกิดผลเกี่ยวกับการมองเห็น อาการตาพร่ามัว การหยุดใช้ยาทันที มีผลทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ คลื่นเหียน อาเจียน ปวดหัว หรือท้องร่วงได้

สรุป
จากผลการทดลองพบว่า Pregabalin มีประสิทธิภาพใน การทำงานได้รวดเร็วและปลอดภัยในการรักษาผู้ป่วยโรควิตกกังวลในการรักษาระยะสั้นไม่ปรากฎว่า Pregabalin จะทำให้เกิด withdrawal symptom เหมือนกับ benzodiazepines แต่ผลร้ายแรงที่สุดของ Pregabalin คือทำให้ง่วงและวิงเวียนศรีษะเท่านั้น จึงเหมะสมมากที่สุดในเวลานี้ที่จะนำมารักษาโรควิตกกังวล

Wednesday, April 28, 2010

ยาถ่ายพยาธิ albendazole , niclosamide

albendazoleเป็นยาในกลุ่มcategory c (ระวังในหญิงตั้งครรภ์)

ประเภทยา มี 2 แบบ คือ
ชนิดเม็ด ขนาด 200 มก.
ชนิดน้ำขนาด 200 มก.ต่อช้อนชา

มีชื่อทางการค้า เช่น อัลเบน (Alben), อัลซอล (Alzol), ซีเบน (Zeben), เซนเทล (Zentel)

ขนาดและวิธีใช้
1.รักษา พยาธิไส้เดือน เส้นด้าย ปากขอ แส้ม้า
ผู้ใหญ่ และเด็กอายุมากกว่า 2 ปี ทานครั้งละ 2 เม็ด (2 ช้อนชา) ครั้งเดียว
เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ทานครั้งละ 1 ช้อนชา ครั้งเดียว
ชนิดเม็ด อาจใช้วิธีบดผสมน้ำ หรือเคี้ยวก่อนกลืน หรือกลืนทั้งเม็ดก็ได้
2. รกษาพยาธิตัวตืด ใช้ขนาดเดียวกัน วันละครั้ง 3 วันติดต่อกัน อีก 10-21 วันต่อมา กินซ้ำอีกชุด
3.รักษา พยาธิตัวจี๊ด ผู้ใหญ่ ทานครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง นาน 14-21 วัน
4. รักษาพยาธิใบไม้ในตับ ผู้ใหญ่ ทานครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง นาน 7 วัน

ผลข้างเคียงของยา albendazole คิอ
ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ปวดมวนท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน หรือแพ้ยา

ข้อควรระวังของยาalbendazole คิอ
1. มีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย บางคนอาจมีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ปวดมวนท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน
2. ถ้าใช้นานวัน อาจทำให้ตับอักเสบ หรือผมร่วง เมื่อหยุดยาก็จะดีขึ้น
3. ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ คนที่เป็นตับอักเสบ หรือมีประวัติแพ้ยานี้

ข้อห้ามใช้ของalbendazole คือ
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ คนที่เป็นตับอักเสบ หรือมีประวัติแพ้

NICLOSAMIDE อยู่กลุ่ม CATEGORY B

ชื่อการค้าที่มีจำหน่าย คือ โยเมซาน (Yomesan)
รูปแบบยาที่มีจำหน่าย คือยาเม็ดขนาด 500 มิลลิกรัม
ยานี้ใช้รักษาโรค พยาธิตืดวัว พยาธิตืดหมู พยาธิตืดปลา
ขนาดใช้ยาในเด็ก
อายุต่ำกว่า 2 ปี : รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ครั้งเดียว
อายุ 2-6 ปี : รับประทานครั้งละ 2 เม็ดครั้งเดียว
ขนาดใช้ยาในเด็กอายุมากกว่า 6 ปีและผู้ใหญ่
รับประทานครั้งละ 4 เม็ด ครั้งเดียว
ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของยานี้มีอะไรบ้าง
ยานี้อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอน ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย หากมีอาการเหล่านี้รุนแรงหรือติดต่อกันเป็นระยะเวลานานควรปรึกษาแพทย์

ข้อควรระวังในการใช้ยาniclosamide คือ

หลังจากรับประทานยานี้แล้ว 2 ชั่วโมง ให้รับประทานยาระบายตามเข้าไปเพื่อถ่ายพยาธิและไข่พยาธิออกให้หมด
ไม่ควรรับประทานยานี้ร่วมกับการดื่มเครื่องดื่มพวกแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์

ควรเก็บยานี้อย่างไร
เก็บยาให้พ้นมือเด็ก
ไม่เก็บยาในที่ที่ถูกความร้อนหรือแสงโดยตรง
ไม่เก็บยาในที่ที่มีความชื้น
ไม่ควรเก็บยาที่หมดอายุหรือเก็บยาที่ไม่ได้ใช้แล้ว

คำแนะนำพิเศษในการใช้ยานี้
ควรรับประทานอาหารที่สุกสะอาด และควรระมัดระวังในการเลือกซื้อเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อปลา

กรณีหญิงตั้งครรภ์ เป็นพยาธิตัวตืด ให้ใช้ Niclosamide ในขณะตั้งครรภ์เพื่อรักษา T.solium (พยาธิตืดหมู)ได้เพราะเป็นความเจ็บป่วยที่ต้องรักษาทันที
ส่วนการใช้กรณีอื่น ๆ ควรพิจารณาความจำเป็นต้องใช้ เพราะแม้จะไม่พบว่ายาทำให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่เนื่องจากมีข้อมูลจำกัด จึงอาจต้องรอผลการศึกษายืนยันความปลอดภัยเพิ่มเติมต่อไป

Wednesday, April 21, 2010

ใส่สาย NG tube ง่ายดาย

ใส่ สาย NG Tube ง่ายดายด้วยไอเดียนักคิดแห่งหอผู้ป่วยอัษฎางค์ 10 เหนือ

“ โอ้ย ไม่เอาแล้วค่ะหมอ ทรมานเหลือเกิน อูย ” เสียงโอดครวญของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ Nasogastric (NG) Tube คงจะมีให้ได้ยินอยู่เกือบทุกครั้งที่มีการใส่ ซึ่งสะกิดใจให้ทีมแพทย์และพยาบาล “ นักคิดแห่งหอผู้ป่วยอัษฎางค์ 10 เหนือ ” นำประเด็นความทุกข์ทรมานจากผู้ป่วยมาช่วยกันคิดหาวิธีแก้ไขพัฒนา จากการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด

ทีมดูแลผู้ป่วย สังเกต เห็นว่าการใส่ NG Tube ดั้งเดิมที่มีเพียงการใช้ยาชาหล่อลื่นสายเพียงอย่างเดียว ผู้ป่วยมีความเจ็บปวดค่อนข้างมาก ทำให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีและไม่อยากใส่ NG Tube อีกต่อไป

 คณะพยาบาลประจำหอผู้ป่วยอัษฎางค์ 10 เหนือจึงนำปัญหานี้ไปปรึกษากัน และจากการทบทวนหลักฐานที่มีอยู่ พบว่าการใส่ NG Tube นั้นมีวิธีบรรเทาความเจ็บปวดหลากหลายวิธี แต่มีความยุ่งยาก ไม่สะดวกหลายประการ จึงคิดวิธีที่สามารถปฏิบัติได้ง่าย และเกิดเป็นโครงการวิจัยร่วมกัน “ ประสิทธิภาพของการใช้ยาชาพ่นเฉพาะที่ก่อนการใส่ Nasogastric Tube เทียบกับการใช้ยาชาหล่อลื่นสายเพียงอย่างเดียว ”

การศึกษานี้ คณะผู้ศึกษาได้ออกแบบ randomized controlled, double blinded study เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการลดความเจ็บปวดจากการใส่ NG Tube โดยใช้ 10% lidocaine spray พ่นทั้งจมูกและคอ ร่วมกับใช้ 2% lidocaine jelly หล่อลื่นสายซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก เปรียบเทียบกับการใช้ 2% lidocaine jelly หล่อลื่นสายเพียงอย่างเดียวซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

ทำการศึกษาในกลุ่มประชากรผู้ป่วยหอผู้ป่วยสามัญอายุรศาสตร์ สุ่มแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม ได้รับการลดความเจ็บปวดต่างกัน รวมเป็น 60 คน แล้วประเมินจากความเจ็บปวด ความยากง่ายในการใส่ NG Tube ภาวะแทรกซ้อน และความพึงพอใจของผู้ป่วยและแพทย์ในการใช้วิธีลดความเจ็บปวดแต่ละวิธี

จากผลการวิจัย พบว่า การใช้ lidocaine spray ร่วมกับ lidocaine jelly มีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้ lidocaine jelly อย่างเดียวในการลดความเจ็บปวดจากการใส่ NG Tube ทั้งยังเพิ่มความพึงพอใจของแพทย์ โดยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนใดๆเพิ่มขึ้น

ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยชิ้นนี้ มีคุณค่ามหาศาล ผู้ป่วยจะไม่ทุกข์ทรมานจากการใส่ NG Tube สามารถทำหัตถการได้สะดวกมากขึ้น และยังได้รับรางวัลชนะเลิศสาขา Clinical Research จากงานประชุมวิชาการกรมการแพทย์ประจำปี 2550 สิ่งที่ยืนยันคุณค่าที่ทีมวิจัยได้รับจากการทำงานนี้ คือคำประทับใจของ ผศ.นพ.สุพจน์ พงศ์ประสบชัย (หัวหน้าโครงการ) ได้กล่าวไว้ว่า “ ให้มองเรื่องที่ใกล้ตัว ทำงานวิจัยไม่ต้องใหญ่ ทำเล็กๆ ทำพอเพียง สไตล์ไทยๆ แบบเศรษฐกิจพอเพียง ไม่เน้นเทคโนโลยีราคาแพง แต่ฝีมือการทำเป็นระดับ International ได้ แล้วผลก็กลับมาหาคนไข้ของเรา งานวิจัยแบบ R2R เป็นงานที่ตอบสนองคนไข้ไทยมากที่สุด ”

Wednesday, March 24, 2010

แพ้ยา gentamicin injection

ผู้ป่วยเป็น pyelonephritis แพทย์สั่งฉีด ceftriaxone 2 gm OD วันที่สองเริ่มให้ gentamicin 240 mg drip วันละ 1 คร้ง ปกติยาตัวนี้ต้องให้ใน อัตราช้า เพื่อ ป้องกันเรื่องอาการแทรกซ้อนทางหู และควรให้ห่างจากยากลุ่มcephalosporin 1 ชั่วโมง ตอนเย็น แพทย์สั่งยา norgesic ให้ผู้ป่วยกินตอนกลางวันและเย็น พอตอนเย็น มีผื่นขึ้นตามแขนขา หน้าปากมีอาการบวมด้วย ตอนแรกสงสัยแพ้ยา norgesic ให้หยุดกินยาและให้ทาน cpm อาการผื่นหาย วันรุ่งขึ้น ขณะกำลัง drip gentamicin มีอาการผื่นขึ้นอีก จึงสงสัยว่าแพ้ยา gentamicin เพราะมีระยะเวลาที่ทำให้เกิดอาการแพ้ 2-3 วัน แต่ยังไม่แน่ใจว่า จะแพ้ ceftriaxone ด้วยหรือไม่ เพราะให้ก่อนตั้งแต่เช้า

ผู้ป่วยมีประวัติกินaugmentin tablet แล้วไม่มีอาการแพ้

เรื่องของอินซูลิน

ยาฉีดอินซูลินที่เปิดใช้แล้ว เก็บในตู้เย็นได้ 3 เดือน แต่ถ้าไว้ที่อุณหภูมิห้องเก็บได้ 1 เดือน

วิธีที่จะดูว่าอินซูลินออกฤทธิ์สั้นยาว คือ ชนิดออกฤทธิ์สั้น เป็นน้ำยาใสไม่มีสี ถ้าเป็นชนิดออกฤทธิ์ยา จะขุ่น

ข้อมูลจาก /www.i-nursehomecare.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538614546

Wednesday, March 10, 2010

plasil inj stat พร้อมกับ buscopan inj stat ควรฉีดยาใดให้คนไข้ก่อนดี

เนื่องจากยาทั้งสองตัวออกฤทธิ์ตรงกันข้ามกัน กล่าวคือ

Plasil มีกลไกการออกฤทธิ์โดยการเพิ่มการตอบสนองของเยื่อบริเวณ Upper GI Tract ต่อ Acetylcholin ทำให้เพิ่มการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินทางอาหาร โดยเฉพาะส่วนบน และเร่งให้เกิด gastric emptying ให้เร็วขึ้น

ขณะที่ Buscopan ซึ่งมีตัวยาสำคัญ คือ hyoscine-N-butylbromide มีฤทธิ์ระงับการหดเกร็ง (antispasmodic) ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดเสียดท้องอันเนื่องจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินอาหารหรือทางเดินปัสสาวะ
ยา Buscopan ออกฤทธิ์โดยการคลายกล้ามเนื้อเรียบบริเวณผนังกระเพาะอาหาร ลำไส้ ท่อน้ำดี (รวมเรียกว่าท่อทางเดินอาหาร) อวัยวะสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะ (genitourinary tract) การหดเกร็งและคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบในบริเวณนี้เป็นการตอบสนองต่อสารเคมีในร่างกายชนิดหนึ่งที่เรียกว่า neurotransmitter (สารสื่อประสาท) และ neurotransmitter ที่เกี่ยวข้องกับการหดเกร็งของกล้ามเนื้อในบริเวณนี้มีชื่อว่า Acetylcholine ซึ่งเป็นการหดรัดตัวที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของร่างกาย Hyoscine ออกฤทธิ์โดยการปิดกั้น receptor ที่อยู่บริเวณเซลล์กล้ามเนื้อเรียบไม่ให้ Acetylcholine ไปจับและออกฤทธิ์ได้ (เรียก receptors ชนิดนี้ว่า muscarinic หรือ cholinergic receptors) ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อเรียบบริเวณทางเดินอาหารและทางเดินปัสสาวะคลายตัวและลดความเจ็บปวดจากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อได้

หากแพทย์มี order ให้มีการบริหารยาทั้งสองในเวลาพร้อมกัน เช่น สั่ง stat เหมือนกันทั้งสองตัวและสั่งในเวลาเดียวกัน จำเป็นที่พยาบาลต้องเว้นช่วงการให้ยาทั้งสองตัวดังกล่าวให้ห่างกัน โดยปกติควรให้ plasil inj ก่อน แล้วให้ Buscopan inj ตามหลัง

การจะเว้นกี่ชั่วโมง ควรดูเภสัชจลนศาสตร์ของยาตัวแรก นั่นคือ plasil เป็นหลัก

ยา Plasil มีระยะเวลาเริ่มออกฤทธิ์ เมื่อให้โดยการฉีด iv 1-3 นาที
ระยะเวลาในการออกฤทธิ์ตั้งแต่ 1-2 ชั่วโมง โดยไม่ขึ้นกับ route การให้
ยานี้มีค่าครึ่งชีวิตในการกำจัด 4-7 ชั่วโมง (อาจขึ้นกับขนาดยาที่ได้รับ)

ดังนั้นควรฉีด Buscopan ภายหลังฉีด plasil ไปแล้วประมาณ 1-2 Hr

จาก www.pharmyaring.com

วันนี้ มาเปิดเน๊ตค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับยาฉีด plasil ซึ่งตรงกับประสบการณ์ที่เจอในคนไข้ เลยขอรวบรวมไว้ที่นี่
มีคำถามว่า ยา Plasil injection ถ้าต้องการฉีดแบบ iv ต้องผสมหรือเจือจางก่อนหรือไม่ เพราะเคยมีเหตุการณ์ฉีดยาแล้วผู้ป่วยรู้สึกแข็งเกร็ง คำตอบ คือ ยา Plasil หรือ Metoclopramide สามารถบริหารได้ทั้งแบบรับประทาน im,direct iv, หรือ infusion อาการแข็งเกร็งภายหลังฉีดเป็นอาการไม่พึงประสงค์สำคัญของยานี้ (เรียกว่า Extrapyramidal Reaction) อาการนี้จะเกิดบ่อยขึ้นหากผู้ป่วยเป็นเด็กหรือวัยรุ่น (วัยรุ่นในที่นี้คือ young adult หรือวัยประมาณ อายุ 15-19 ปี) (children and young adult) และเมื่อให้แบบ iv ในขนาดยาที่สูง อาการจะเกิด 24-48 ชั่วโมงหลังการให้ยา หากทำการหยุดยา อาการจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าจะให้อาการหายเร็วขึ้น ควรให้ diazepam หรือ diphenhydramine 

ข้อแนะนำสำหรับการฉีดยา Plasil:-
1.การฉีดแบบ im หรือ direct iv (ฉีดเข้า iv โดยตรง) ไม่ต้องทำการเจือจางก่อนฉีด
2.การฉีดแบบ direct iv ยาที่มีขนาดความแรง 10 mg จะต้องบริหารช้า ๆ มากกว่า 1-2 นาที การฉีดยาในอัตราที่เร็วเกินไป อาจทำให้เกิดอาการ anxiety หงุดหงิด กระสับกระส่าย และอาจมีอาการง่วงซึมตามมา 3.การฉีดแบบ IV infusion ต้องทำการเจือจางด้วยสารน้ำดังต่อไปนี้ในปริมาตร 50 ml ได้แก่ 5% Dextrose, 0.9%NSS, 0.45%NSS, Ringer’s หรือ Lactated Ringer’s และเนื่องจากยาจะคงตัวดีกว่าเมื่อผสมกับ 0.9%NSS ดังนั้น คำแนะนำจากบริษัทระบุว่า 0.9% NSS เป็นสารละลายที่ดีที่สุดสำหรับยานี้ การให้ยาแบบ iv infusion จะต้องให้ยาช้า ๆ ใช้เวลาอย่างน้อย 15 นาที เมื่อผสมแล้ว ยาจะคงตัวที่ T ห้อง 24 ชั่วโมง

หมายเหตุ :

ตำรา/เอกสารอ้างอิง :
1AHFS Drug Information, 1999 : 2575-2580
2Trssel, LA. Handbook on Injectable Drugs, 9th edition

plasil injection iv

ยา Plasil หรือ Metoclopramide สามารถบริหารได้ทั้งแบบรับประทาน im direct iv, หรือ in infusion อาการแข็งเกร็งภายหลังฉีดเป็นอาการไม่พึงประสงค์สำคัญของยานี้ (เรียกว่า Extrapyramidal Reaction) อาการนี้จะเกิดบ่อยขึ้นหากผู้ป่วยเป็นเด็กหรือวัยรุ่น (วัยรุ่นในที่นี้คือ young adult หรือวัยประมาณ อายุ 15-19 ปี) (children and young adult) และเมื่อให้แบบ iv ในขนาดยาที่สูง อาการจะเกิด 24-48 ชั่วโมงหลังการให้ยา หากทำการหยุดยา อาการจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าจะให้อาการหายเร็วขึ้น ควรให้ diazepam หรือ diphenhydramine

ข้อแนะนำสำหรับการฉีดยา Plasil
1.การฉีดแบบ im หรือ direct iv (ฉีดเข้า iv โดยตรง) ไม่ต้องทำการเจือจางก่อนฉีด
2.การฉีดแบบ direct iv ยาที่มีขนาดความแรง 10 mg จะต้องบริหารช้า ๆ มากกว่า 1-2 นาที การฉีดยาในอัตราที่เร็วเกินไป อาจทำให้เกิดอาการ anxiety หงุดหงิด กระสับกระส่าย และอาจมีอาการง่วงซึมตามมา
3.การฉีดแบบ IV infusion ต้องทำการเจือจางด้วยสารน้ำดังต่อไปนี้ในปริมาตร 50 ml ได้แก่ 5% Dextrose, 0.9%NSS, 0.45%NSS, Ringer’s หรือ Lactated Ringer’s และเนื่องจากยาจะคงตัวดีกว่าเมื่อผสมกับ 0.9%NSS ดังนั้น คำแนะนำจากบริษัทระบุว่า 0.9% NSS เป็นสารละลายที่ดีที่สุดสำหรับยานี้ การให้ยาแบบ iv infusion จะต้องให้ยาช้า ๆ ใช้เวลาอย่างน้อย 15 นาที เมื่อผสมแล้ว ยาจะคงตัวที่ T ห้อง 24 ชั่วโมง

หมายเหตุ :
ยา plasil มีขนาดความเข้มข้น 10mg/2ml, 1 amp มีปริมาตร 2 ml ดังนั้นยา 1 ml มีตัวยา 5 mg

ตำรา/เอกสารอ้างอิง :
1AHFS Drug Information, 1999 : 2575-2580
2Trssel, LA. Handbook on Injectable Drugs, 9th edition
แก้ไขครั้งล่าสุดเมื่อ วันที่ 28/08/52 เวลา 11.53 น.

Tuesday, February 23, 2010

lincomycin injection

มีพยาบาลถามว่า lincocin ฉีด iv ได้ไม้ เราก็ต้องมาเปิดตำราดู เพราะส่วนใหญ่ที่เจอคือ ฉีด im 2 ml วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน ในรายเจ็บคอเป็นไข้สูง
ได้ข้อมูลมาดังนี้

Adults
IV For serious infections, administer 600 to 1,000 mg every 8 to 12 h. For more severe infections, the dose may be increased. In life-threatening infections, doses up to 8 g/day have been given (max, 8 g/day).

Children older than 1 mo of age
IV 10 to 20 mg/kg/day (5 to 10 mg/lb/day) depending on the severity of the infection; administer in divided doses.

Adults IM For serious infections, administer 600 mg every 24 h. For more severe infections, 600 mg every 12 h or more often.

Children older than 1 mo of age
IM For serious infections, administer 10 mg/kg (5 mg/lb) every 24 h. For more severe infections, 10 mg/kg (5 mg/lb) every 12 h or more often.

General Advice
IV concentration and rate: 600 to 1,000 mg: Use 100 mL of diluent and administer over a period of not less than 1 h. 2 g: Use 200 mL of diluent and administer over a period of not less than 2 h. 3 g: Use 300 mL of diluent and administer over a period of not less than 3 h. 4 g: Use 400 mL of diluent and administer over a period of not less than 4 h.
Storage/Stability
Store at 68° to 77°F.

cimetidine 200 mg iv

พยาบาลมาถามว่า cimetidine ต้องเจือจางกับ sterile water ไม้ เราเลยเปิดตำราดูบอกว่าให้ผสมกับ nss 0.9%หรือ D-5-W ให้ได้ 20 ml ใช้เวลาให้ยาไม่น้อยกว่า 5 นาที เพื่อไม่ให้เกิดอาการข้างเคียงของยา หรืออาจผสมให้ได้ 50 ml ให้ยาอย่างน้อย15 นาที
Cimetidine is injected into a vein or muscle by a health care professional, usually every 6 to 8 hours or as directed by your doctor. When injected into a vein, cimetidine should be given slowly over at least 5 minutes. Giving the medication too fast may cause dizziness, irregular heartbeat, or a drop in blood pressure. Your healthcare professional will be watching you for these symptoms. If you experience any of these symptoms while receiving this medication, tell your health care professional immediately. This medic
ation may also be mixed in a solution and injected slowly over 15-20 minutes or continuously.

cimetidine มีชื่อการค้าว่า tagamet ลองค้นในเน็ตของบริษัทยาดู มีข้อมูลดังนี้
standard dilution:0-300 mg/50 ml (ให้ยาภายใน15-30 นาที)
400 mg/100 ml (ให้ยาภายใน 30 นาที)
continuous infusion: 900 mg/250 ml (24 ชั่วโมง)
901-2400 mg/250-1000 ml (24 ชั่วโมง)
stability หลังผสม 48 ชั่วโมง
Renal dosing: >40/ q6h; 20 to 40/ q8h; 5 to 20/q12h; <5/200 mg q12h.

DOSAGE AND ADMINISTRATION
Parenteral Administration
In hospitalized patients with pathological hypersecretory conditions or intractable ulcers, or in patients who are unable to take oral medication, cimetidine may be administered parenterally.

The doses and regimen for parenteral administration in patients with GERD have not been established.

Recommendations for Parenteral Administration:
Intramuscular Injection: 300 mg every 6 to 8 hours (no dilution necessary). Transient pain at the site of injection has been reported.
Intravenous Injection: 300 mg every 6 to 8 hours. In some patients it may be necessary to increase dosage. When this is necessary, the increases should be made by more frequent administration of a 300 mg dose, but should not exceed 2400 mg per day. Dilute Cimetidine Injection, USP, 300 mg, in Sodium Chloride Injection (0.9%) or another compatible I.V. solution (see Stability of Cimetidine Injection, USP) to a total volume of 20 mL and inject over a period of not less than 5 minutes (see PRECAUTIONS).
PRECAUTIONS - General:Rare instances of cardiac arrhythmias and hypotension have been reported following the rapid administration of cimetidine hydrochloride injection by intravenous bolus.
Symptomatic response to cimetidine therapy does not preclude the presence of a gastric malignancy. There have been rare reports of transient healing of gastric ulcers despite subsequently documented malignancy.

Reversible confusional states have been observed on occasion, predominantly, but not exclusively, in severely ill patients. Advancing age (50 or more years) and pre-existing liver and/or renal disease appear to be contributing factors. In some patients these confusional states have been mild and have not required discontinuation of cimetidine therapy. In cases where discontinuation was judged necessary, the condition usually cleared within 3 to 4 days of drug withdrawal.

Intermittent Intravenous Infusion: 300 mg every 6 to 8 hours, infused over 15 to 20 minutes. In some patients it may be necessary to increase dosage. When this is necessary, the increases should be made by more frequent administration of a 300 mg dose, but should not exceed 2400 mg per day.

Dilute Cimetidine Injection, USP, 300 mg, in at least 50 mL of 5% Dextrose Injection, or another compatible I.V. solution (see Stability of Cimetidine Injection, USP).
Continuous Intravenous Infusion: 37.5 mg/hour (900 mg/day). For patients requiring a more rapid elevation of gastric pH, continuous infusion may be preceded by a 150 mg loading dose administered by I.V. infusion as described above. Dilute 900 mg Cimetidine Injection, USP in a compatible I.V. fluid (see Stability of Cimetidine Injection, USP) for constant rate infusion over a 24-hour period. Note: Cimetidine Injection, USP may be diluted in 100 to 1000 mL; however, a volumetric pump is recommended if the volume for 24-hour infusion is less than 250 mL. In one study in patients with pathological hypersecretory states, the mean infused dose of cimetidine was 160 mg/hour with a range of 40 to 600 mg/hour.

These doses maintained the intragastric acid secretory rate at 10 mEq/hour or less. The infusion rate should be adjusted to individual patient requirements.

Stability of Cimetidine Injection, USP
When added to or diluted with most commonly used intravenous solutions, e.g., Sodium Chloride Injection (0.9%), Dextrose Injection (5% or 10%), Lactated Ringer’s Injection, 5% Sodium Bicarbonate Injection, Cimetidine Injection, USP should not be used after more than 48 hours of storage at room temperature
.

NOTE: The products accompanying this insert are for I.M./I.V. use only. Much of the following relates to the use of oral cimetidine and is for informational purposes only. See Parenteral Administration (above) for specific dosing recommendations.

Duodenal Ulcer(ลำไส้อักเสบ)
Active Duodenal Ulcer
Clinical studies have indicated that suppression of nocturnal acid is the most important factor in duodenal ulcer healing. This is supported by recent clinical trials (see Clinical Trials—Active Duodenal Ulcer). Therefore, there is no apparent rationale, except for familiarity with use, for treating with anything other than a once-daily at bedtime oral dosage regimen (h.s.).

In a U.S. oral dose-ranging study of 400 mg h.s., 800 mg h.s. and 1600 mg h.s., a continuous dose response relationship for ulcer healing was demonstrated.

However, 800 mg h.s. is the dose of choice for most patients, as it provides a high healing rate (the difference between 800 mg h.s. and 1600 mg h.s. being small), maximal pain relief, a decreased potential for drug interactions and maximal patient convenience. Patients unhealed at four weeks, or those with persistent symptoms, have been shown to benefit from two to four weeks of continued therapy.

It has been shown that patients who both have an endoscopically demonstrated ulcer larger than 1 cm and are also heavy smokers (i.e., smoke one pack of cigarettes or more per day) are more difficult to heal. There is some evidence which suggests that more rapid healing can be achieved in this subpopulation with cimetidine 1600 mg at bedtime. While early pain relief with either 800 mg h.s. or 1600 mg h.s. is equivalent in all patients, 1600 mg h.s. provides an appropriate alternative when it is important to ensure healing within four weeks for this subpopulation. Alternatively, approximately 94% of all patients will also heal in eight weeks with cimetidine 800 mg h.s.

Other cimetidine oral regimens in the U.S. which have been shown to be effective are: 300 mg four times daily, with meals and at bedtime, the original regimen with which U.S. physicians have the most experience, and 400 mg twice daily, in the morning and at bedtime (see Clinical Trials —Active Duodenal Ulcer).

Concomitant antacids should be given as needed for relief of pain. However, simultaneous administration of oral cimetidine and antacids is not recommended, since antacids have been reported to interfere with the absorption of oral cimetidine.

While healing with cimetidine often occurs during the first week or two, treatment should be continued for 4 to 6 weeks unless healing has been demonstrated by endoscopic examination.

Maintenance Therapy for Duodenal Ulcer
In those patients requiring maintenance therapy, the recommended adult oral dose is 400 mg at bedtime.

Active Benign Gastric Ulcer
The recommended adult oral dosage for short-term treatment of active benign gastric ulcer is 800 mg h.s., or 300 mg four times a day with meals and at bedtime. Controlled clinical studies were limited to six weeks of treatment (see Clinical Trials). 800 mg h.s. is the preferred regimen for most patients based upon convenience and reduced potential for drug interactions. Symptomatic response to cimetidine does not preclude the presence of a gastric malignancy. It is important to follow gastric ulcer patients to assure rapid progress to complete healing.

Prevention of Upper Gastrointestinal Bleeding
The recommended adult dosing regimen is continuous I.V. infusion of 50 mg/hour. Patients with creatinine clearance less than 30 cc/min. should receive half the recommended dose. Treatment beyond 7 days has not been studied.

Pathological Hypersecretory Conditions (such as Zollinger-Ellison Syndrome)
Recommended adult dosage: 300 mg four times a day with meals and at bedtime. In some patients it may be necessary to administer higher doses more frequently. Doses should be adjusted to individual patient needs, but should not usually exceed 2400 mg per day and should continue as long as clinically indicated.

Dosage Adjustment for Patients with Impaired Renal Function
Patients with severely impaired renal function have been treated with cimetidine. However, such usage has been very limited. On the basis of this experience the recommended dosage is 300 mg every 12 hours orally or by intravenous injection. Should the patient’s condition require, the frequency of dosing may be increased to every 8 hours or even further with caution. In severe renal failure, accumulation may occur and the lowest frequency of dosing compatible with an adequate patient response should be used. When liver impairment is also present, further reductions in dosage may be necessary. Hemodialysis reduces the level of circulating cimetidine. Ideally, the dosage schedule should be adjusted so that the timing of a scheduled dose coincides with the end of hemodialysis.

Patients with creatinine clearance less than 30 cc/min. who are being treated for prevention of upper gastrointestinal bleeding should receive half the recommended dose.

Do not administer product unless solution is clear and container is undamaged. Discard unused portion. All parenteral drug products should be inspected visually for particulate matter and discoloration prior to administration, whenever solution and container permit.
HOW SUPPLIED
Cimetidine Injection, USP 300 mg/2 mL cimetidine is supplied as follows:
Single-dose Fliptop Vial - 2 mL;
Multiple-dose Fliptop Vial - 8 mL.

Store at 20 to 25°C (68 to 77°F). [See USP Controlled Room Temperature.] Do not refrigerate.
August, 2006
©Hospira 2006 EN-1270
Hospira, Inc., Lake Forest, IL 60045 USA


--------------------------------------------------------------------------------

Stability
Intact vials of cimetidine should be stored at room temperature and protected from light; cimetidine may precipitate from solution upon exposure to cold but can be redissolved by warming without degradation

Stability at room temperature:
Prepared bags: 7 days

Premixed bags: Manufacturer expiration dating and out of overwrap stability: 15 days.