Thursday, October 17, 2013

ปัญหายาสามัญกับยาต้นแบบ(ยาทำในไทยกับยานอก)

บีบข้าราชการใช้แต่ยาสามัญ/ลดยาต้นแบบ
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์  รมว.สาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจาก นพ.อำนวย กาจีนะ รองปลัด สธ. แล้วว่าทางกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ทำหนังสือเวียนแจ้งไปยังสถานพยาบาลในสังกัดหน่วยงานราชการ รวมถึง สธ. ว่ากรมบัญชีกลางเตรียมที่จะปรับเปลี่ยนการเบิกจ่ายค่ายาในระบบสวัสดิการราชการ เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าการรักษาผู้ป่วยในระบบนี้ ส่วนใหญ่สั่งจ่ายยาต้นแบบให้กับผู้ป่วยเป็นหลัก ส่วนยาสามัญนั้นมีการสั่งจ่ายน้อยมาก ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนการใช้ยาสามัญและลดค่าใช้จ่ายด้านยาของระบบสวัสดิการข้าราชการ กรมบัญชีกลางจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายใหม่ โดยในกรณีการสั่งจ่ายยาต้นแบบให้โรงพยาบาลบวกกำไรค่ายาได้ไม่เกิน 3% แต่ในกรณีที่เป็นการจ่ายยาสามัญนั้นจะให้บวกกำไรได้มากขึ้น อาจบวกเพิ่มสูงถึง 100-300% ของต้นทุนค่ายา ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่เป็นการจูงใจสถานพยาบาลสั่งจ่ายยาสามัญเท่านั้น แต่ยังสามารถชดเชยโรงพยาบาลในส่วนกำไรที่สูญหายไปจากการเปลี่ยนสั่งจ่ายยาต้นแบบเป็นยาสามัญ
รายละเอียด อ่านเพิ่มเติมที่ลิงค์http://www.thaipost.net/news/071013/80321
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

จากข่าว ตอนนี้มีทั้งกลุ่มที่สนับสนุนและกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย
ข้าพเจ้าได้เจอบทความต่างประเทศ สะท้อนปัญหาเหมือนไทย จึงแปลมาให้อ่านกัน จากลิ้งค์นี้
http://www.huffingtonpost.com/rabbi-shmuly-yanklowitz/pharmaceutical-drug-_b_4067827.html

ชื่อเรื่อง คือ เราจำเป็นต้องปฏิวัติอุตสาหกรรมยา

เขียนโดย Dr.Schmuly นักสอนศาสนาชาวยิวที่เป็นนักเขียนมีชื่อเสียงของอเมริกา
เขาเขียนว่า

ลองนึกดูว่า ถ้าคุณอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในแอฟริกา และลูกของคุณเสียชีวิตจากโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ 

คุณรู้ไม้ว่า ยาที่ใช้รักษานั้นมีต้นทุนการผลิตแค่ $1แต่คุณต้องซื้อในราคา $1,000 ซึ่งคุณไม่มีปัญญาจ่ายแน่นอน คุณได้แต่เฝ้าดูลูกคุณตายพร้อมกับเศร้าใจในราคาแสนแพงของยา

บริษัทผู้ผลิตยา จำเป็นต้องมีต้นทุนในการวิจัยค้นคว้ากว่าจะผลิตยาออกมาได้ ค่าใช้จ่ายสูงมาก จึงจำเป็นต้องตั้งราคาที่สูงก็จริง แต่ในสถานการณ์อย่างเรื่องข้างบนควรมีข้อยกเว้น


คณะกรรมการวุฒิสภาสหรัฐฯ ครั้งหนึ่งพบว่า บริษัทยาทำกำไรมากเป็น 4 เท่าของกำไรที่บริษัทในธุรกิจอื่น ๆ ทำได้


ในสมัยรัฐบาลของบุช ออกกฏหมายที่สนับสนุนราคายาให้สูงได้ ทำให้คนอเมริกาถูกบังคับให้จ่ายค่ายาในราคาแพงที่สุดในโลก ถ้าต้องการแก้กฏหมาย ก็จะถูกต่อต้านจากพรรครีพับลิกันที่เป็นพรรคฝ่ายค้านในรัฐบาลโอบามาตอนนี้


ผลกระทบจากนโยบายของรัฐต่อประชาชนในประเทศอเมริกา:-

1.ปี2009 คนอเมริกันใช้จ่ายค่ายามากเป็น2 เท่าเมื่อเทียบกับปี1999
2. ปี2010 คนอเมริกันราว 48 ล้านคน มีฐานะการเงินไม่พอจ่ายค่ายาตามใบสั่งแพทย์
3. รายการยาที่ใช้บ่อย 30 รายการ คนอเมริกันต้องซื้อราคาแพงกว่าคนที่อยู่ประเทศอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส ออสเตรเลียถึง2 เท่า
4. คาดว่ามีคนอเมริกัน 1 ล้านคน เดินทางไปแคนาดา เพื่อซื้อยาที่ราคาถูกกว่า  เพราะยาจากแคนาดาห้ามนำเข้าประเทศ เพราะกฏหมายอเมริกาไม่รับรองประสิทธิภาพของยา
5. เภสัชกรที่ประเทศเม็กซิโก ประมาณการว่า 70%ของรายได้ในกิจการร้านยาของเม็กซิโก ได้จากนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันที่ไม่ต้องการซื้อยาแสนแพงในประเทศของตัวเอง

ปกติ สิทธิบัตรยามีอายุ10ปี เมื่อหมดอายุ บริษัทยาอื่น ๆ สามารถเลียนแบบผลิตเองได้ เป็นยาที่ใช้ชื่อสามัญเหมือนกันได้ ดังนั้นตลอด10ปีแรกนี้บริษัทผู้ผลิตยาจะไม่มีคู่แข่ง


แต่ก็ยังโชคดีที่บริษัทผู้ผลิตยาได้ตระหนักถึงราคาที่แพงมากของยา ซึ่งทำให้คนอาจปฏิเสธไม่ใช้ยานั้น

จึงมีการให้ส่วนลดพิเศษ หรือของแถมอื่น ๆพ่วงด้วย

นอกจากนี้ ตอนนี้มีโอบามาแคร์ (Obamacare)(คล้ายกับ 30 บาทของไทย ที่มีก่อนอเมริกาซะอีก) เพื่อให้คนอเมริกันเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้เท่าเทียมกัน ตัวอย่างการใช้ยา Humira (Adalimumab) ใช้รักษาAutoimmune disorder ในโรค Rheumatoid Arthritis มีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่โครงการโอบามาแคร์สามารถใช้ยาสูตรสามัญรักษา ทำให้คนไข้เข้าถึงยาได้ 


ปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งของอุตสาหกรรมยา คือ มักจะขาดการวิจัยพัฒนาในโรคที่ไม่ค่อยมีคนเป็น (rare disease)  เพราะไม่มีแรงจูงใจในเรื่องการทำกำไรจากยา  (ตอนนี้หันไปวิจัยเรื่องหย่อนสมรรถภาพทางเพศกับเรื่องหัวล้าน)


อย่างไรก็ตาม ในปี 1990 เด็กมากกว่า 12 ล้านคน เสียชีวิต ก่อนอายุ 5 ขวบ แต่ตัวเลขนี้มีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ จนปัจจุบันจำนวนเด็กที่เสียชีวิตอยู่ที่ 6 ล้านคน  มูลนิธิที่บิลเกตต์และภรรยาได้ก่อตั้งขึ้น ได้พัฒนาวัคซีนและยาที่ใช้ช่วยชีวิต เขากล่าวว่า จะทำให้ตัวเลขเด็กที่เสียชีวิตก่อน 5 ขวบ ลดลงจนน้อยกว่า 1 ล้านคน 


อ่าน สารพัดปัญหา ขัดขวางการพัฒนา "ยาสามัญไทย"
http://www.hfocus.org/content/2013/10/5203