มาดูรายละเอียดของยาตัวนี้กัน:-
นายสัตวแพทย์ (นสพ.) อลงกรณ์ มหรรณพ สัตวแพทย์อาวุโสผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์ป่า กล่าวว่า ไซลาซีนเป็นยาสลบชนิดหนึ่ง ที่สัตวแพทย์ใช้กับสัตว์ใหญ่ คือ ช้าง ม้า วัวแดง กระทิง ลิงชิมแปนซี อุรังอุตัง และกอริลลา โดยยาชนิดนี้เป็นยาที่อันตรายมาก สัตวแพทย์ที่ใช้ยาชนิดนี้กับสัตว์ตัวไหน ก็จะต้องเตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือกรณีที่อาจจะเกิดเหตุฉุกเฉินเอาไว้เลย เช่น น้ำเกลือ ยาแก้ และอุปกรณ์จำเป็นอื่นๆ เพราะสัตว์อาจจะช็อกตายทันทีที่ใช้ยาตัวนี้ได้ ไซลาซีนเป็นยาที่มีฤทธิ์ควบคุมประสาทส่วนกลาง ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ซึม ร่างกายหยุดการเคลื่อนไหว หากใช้ในปริมาณไม่เหมาะสมจะทำให้ระบบหายใจ และระบบทางเดินหายใจล้มเหลว
"ยาชนิดนี้ไม่ได้มีขายในร้านขายยาทั่วไป แต่จะขายเฉพาะในร้านขายยา ที่ขายยารักษาสัตว์เท่านั้น คนที่จะซื้อได้คือ สัตวแพทย์ที่มีใบอนุญาตผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้น 1 เท่านั้น การใช้ เราก็จะใช้สำหรับยิงยาสลบในสัตว์ป่า ยาจะออกฤทธิ์ภายใน 10-15 นาที แล้วแต่ความเข้มแข็งของสัตว์นั้นๆ หรือสัตว์ใหญ่ๆ ที่อยู่ในกรง เช่นลิง ชิมแปนซี สัตว์ที่ได้รับยาจะมีอาการซึม หยุดการเคลื่อนไหว กรณีเป็นสัตว์ใหญ่ในกรงกรณีของลิงชิมแปนซี ซึ่งเป็นสัตว์ที่ฉลาดและค่อนข้างว่องไว สัตวแพทย์อาจจะใช้วิธีผสมน้ำให้ดื่ม ซึ่งต้องรอราว 30-45 นาที กว่ายาจะออกฤทธิ์ ให้สัตว์เซื่องซึม" นสพ.อลงกรณ์กล่าว
นสพ.อลงกรณ์กล่าวว่า การนำไซลาซีนมาใช้แบบผิดประเภท เช่น ใช้กับคน หรือใช้กับสัตว์แต่มีปริมาณมากเกินไป ก็จะเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ทันที
ข่าวจากมติชน
ล่าสุด จับคนร้ายได้แล้ว นำมาสอบสวน คนร้ายบอกว่า เห็นสัตว์แพทย์ในคลินิก ใช้ยากับสัตว์ที่ดุร้ายเพื่อให้เชื่องจะได้รักษาทำแผลให้ จึงซักถามวิธีใช้แล้วขอซื้อยาจากคลินิกมา 3 ขวด มาก่อคดีกับพระและคนชราตามโรงพยาบาล จนถูกจับได้คราวนี้
ล่าสุดคณะกรรมการยามติเห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการเสนอ คือ ยกระดับยาใน 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มแอลฟา ทู แอดดริเนอจิก อโกนิสต์ (Alpha-2-adrenergic agonist) ซึ่งสารไซลาซีนอยู่ในกลุ่มนี้ 2.กลุ่มเบนโซไดอาซีพีน เดริเวทีฟ (Benzodiazepine derivative) 3.กลุ่มบิวไทโรฟีโนน เดริเวทีฟ (Butyrophenone) และ 4.กลุ่มฟีโนไทอาซีน เดริเวทีฟ (Phenothiazine derivative)
ทั้งนี้ ยาทั้ง 4 กลุ่ม จัดเป็นยาสำหรับสัตว์ที่ออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลาง โดยยกระดับจากยาอันตราย คือยาที่สามารถซื้อได้ตามร้านขายยา ที่มีเภสัชกรเป็นผู้จำหน่าย ให้เป็น "ยาควบคุมพิเศษ" คือยาที่ต้องมีใบสั่งจากสัตวแพทย์เท่านั้นจึงจะซื้อได้ หลังจากนี้จะเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนาม เพื่อประกาศใช้อย่างเป็นทางการต่อไป
นอกจากนี้ จะมีโทษในกรณี 1.ผู้รับอนุญาตคือเจ้าของร้านขายยา หรือสถานพยาบาลสัตว์ หากไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบจะมีโทษปรับ ตั้งแต่ 2,000-10,000 บาท และ 2.ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการหรือเภสัชกรและสัตวแพทย์ หากมีการจำหน่ายยาที่ไม่มีใบสั่งจากสัตวแพทย์จะมีโทษปรับ 1,000-5,000 บาท" นพ.ปฐมกล่าว
ล่าสุด จับคนร้ายได้แล้ว นำมาสอบสวน คนร้ายบอกว่า เห็นสัตว์แพทย์ในคลินิก ใช้ยากับสัตว์ที่ดุร้ายเพื่อให้เชื่องจะได้รักษาทำแผลให้ จึงซักถามวิธีใช้แล้วขอซื้อยาจากคลินิกมา 3 ขวด มาก่อคดีกับพระและคนชราตามโรงพยาบาล จนถูกจับได้คราวนี้
และเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2556 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ อย. กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการยาว่า จากกรณีคดีการมอมคนไข้และญาติคนไข้ในโรงพยาบาล โดยใช้ "ยาไซลาซีน" (Xylazine) เป็นยาสำหรับสัตว์ แต่นำมาผสมน้ำเพื่อก่อคดีนั้น ที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการพิจารณาการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์ ได้มีการพิจารณาควบคุมยากลุ่มดังกล่าว และได้นำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการยา เพื่อขอความเห็นชอบ
ล่าสุดคณะกรรมการยามติเห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการเสนอ คือ ยกระดับยาใน 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มแอลฟา ทู แอดดริเนอจิก อโกนิสต์ (Alpha-2-adrenergic agonist) ซึ่งสารไซลาซีนอยู่ในกลุ่มนี้ 2.กลุ่มเบนโซไดอาซีพีน เดริเวทีฟ (Benzodiazepine derivative) 3.กลุ่มบิวไทโรฟีโนน เดริเวทีฟ (Butyrophenone) และ 4.กลุ่มฟีโนไทอาซีน เดริเวทีฟ (Phenothiazine derivative)
ทั้งนี้ ยาทั้ง 4 กลุ่ม จัดเป็นยาสำหรับสัตว์ที่ออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลาง โดยยกระดับจากยาอันตราย คือยาที่สามารถซื้อได้ตามร้านขายยา ที่มีเภสัชกรเป็นผู้จำหน่าย ให้เป็น "ยาควบคุมพิเศษ" คือยาที่ต้องมีใบสั่งจากสัตวแพทย์เท่านั้นจึงจะซื้อได้ หลังจากนี้จะเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนาม เพื่อประกาศใช้อย่างเป็นทางการต่อไป
"หลังจากยกระดับก็จะมีความเข้มงวดในการใช้ยาทั้ง 4 กลุ่มมากขึ้น โดยต่อจากนี้ต้องมีข้อความในฉลากและเอกสารกำกับยา ดังนี้ "ขายยาตามใบสั่งผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่งเท่านั้น และใช้ภายใต้การกำกับดูแลโดยผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่งเท่านั้น และให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้จำหน่ายจัดทำบัญชีและเก็บรายงานไว้ที่สถานประกอบการผลิต นำเข้าและจำหน่าย ไม่น้อยกว่าวันหมดอายุของรุ่นการผลิตของยานั้น เพื่อให้ อย.ตรวจสอบได้"
นอกจากนี้ จะมีโทษในกรณี 1.ผู้รับอนุญาตคือเจ้าของร้านขายยา หรือสถานพยาบาลสัตว์ หากไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบจะมีโทษปรับ ตั้งแต่ 2,000-10,000 บาท และ 2.ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการหรือเภสัชกรและสัตวแพทย์ หากมีการจำหน่ายยาที่ไม่มีใบสั่งจากสัตวแพทย์จะมีโทษปรับ 1,000-5,000 บาท" นพ.ปฐมกล่าว
อ่านรายละเอียดข่าวได้ที่ลิ้งค์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1383127405&grpid=03&catid=19&subcatid=1904