Sunday, September 29, 2013

วัคซีนอีสุกอีใส (chicken pox)

วัคซีนไข้สุกใส หรือ Varicella vaccine เป็นวัคซีนที่ใช้เชื้อ VZV (Varicella Zoster Virus) ที่ทำให้อ่อนแอลง มาฉีดเข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

ใครสามารถ/ควร ฉีดวัคซีนนี้บ้าง? ทั่วไปก็คือผู้ที่มีโอกาสติดเชื้อได้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ร่วมกันกับคนหมู่มาก
- คนทั่วไปที่ไม่มีหลักฐานการเป็นไข้สุกใสมาก่อน
- บุคลากรทางการแพทย์
- นักโทษ เด็กนักเรียน นักศึกษา ทหาร เป็นต้น

ใครไม่ควร ฉีดวัคซีนนี้บ้าง? หลักๆ คือผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำเพราะเมื่อฉีดไปมีโอกาสที่เชื้อที่อ่อนฤทธ์ลงในวัคซีนจะทำให้เกิดโรครุนแรงได้
- หญิงตั้งครรภ์
- ผู้ป่วยด้วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ผู้ป่วยมะเร็งที่ทำการรักษาด้วเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา

สำหรับการฉีดวัคซีนนี้จะแบ่งเป็น 2 ช่วงอายุ 
- ในเด็กอายุน้อยกว่า 13 ปี ฉีด 2 เข็ม ที่อายุ 12-15 เดือน และ 4-6 ขวบ
- อายุมากกว่า 13 ปี ฉีด 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน (คือหลัง 1 เดือนไปแล้วจะฉีดเมื่อไหร่ก็ได้)

ขอเล่าเรื่องความสับสนในการออกใบนัดคนไข้ มีแม่เด็ก ถามว่า เพื่อนพาลูกไปฉีดวัคซีนอีกโรงพยาบาลหนึ่ง ทำไมนัด 1 เดือน แต่ที่นี่นัด 2 เดือน เภสัชกรเลยต้องมาค้นleafletของวัคซีนแต่ละยี่ห้อมาอ่านดู (วัคซีนอีสุกอีใสที่มีในไทย นำเข้ามาจากต่างประเทศ  2-3 ยี่ห้อ แต่ละยี่ห้อจะระบุเวลาห่างในการฉีดแตกต่างกันเล็กน้อย) สรุป ก็คือ สำหรับเด็กอายุ> 13 ปี สามารถนัดมาฉีดได้ช่วงไหนก็ได้ แต่ต้องพ้น 1 เดือนหลังจากฉีดไปแล้ว 

ทีนี้เราลองมาดูในแง่ประสิทธิภาพการป้องกันโรค จากการศึกษาพบว่าวัคซีนนี้สามารถป้องกันการเป็นไข้สุกใสได้ 70-90% และสามารถป้องกันไข้สุกใสที่มีความรุนแรงมากได้ถึง 95% สิ่งที่ต้องจดจำกันเสมอๆ คือ ไม่มีอะไร 100% แน่นอนทางการแพทย์ ยังคงมีช่องว่างของความไม่แน่นอนเสมอ 

แต่ที่พบแน่นอน คือ ผู้ได้รับวัคซีนหากมีอาการป่วยด้วยไข้สุกใส ความรุนแรงจะน้อยกว่าผู้ที่ป่วยจากการได้รับเชื้อตามธรรมชาติมา

วัคซีนสุกใสนี้ในปัจจุบันจากการศึกษา พบว่าสามารถสร้างภูมิคุ้มได้ประมาณ 20 ปี เป็นอย่างน้อย แต่ในบางรายก็พบว่าภูมิคุ้มกันลดลงหลังจากฉีดวัคซีนไปได้ 5-10 ปี (การศึกษาภูมิคุ้มกันระยะยาวยังต้องทำต่อไปครับ เพราะวัคซีนนี้ผลิตมาใช้ไม่นานเมื่อปี 1995 นี่เอง ถือว่ายังใหม่มากๆ)

นอกจากนั้นอย่างที่บอกไปในตอนแรกว่าเชื้อที่ทำให้เป็นไข้สุกใสกับงูสวัดคือเชื้อเดียวกัน เมื่อเป็นไข้สุกใสแล้ว เชื้อจะหลบในปมประสาทเมื่อร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันตกลงก็จะกลายเป็นงูสวัดได้ แล้ววัคซีนที่ผลิตจากเชื้อนี้ล่ะ จะทำให้เป็นงูสวัดได้มั้ย? คำตอบคือได้ครับ มีโอกาส แต่ถ้าเป็นความรุนแรงก็จะน้อยกว่าการได้รับเชื้อทางธรรมชาติมาก 

- ส่วนผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนไข้สุกใส โดยทั่วไปอาจพบอาการไข้ ผื่น หรือการปวดบวมแดงตรงบริเวณที่ฉีดได้บ้าง 
จำนวนน้อยจะเจอผลข้างเคียงรุนแรง เช่น การแพ้รุนแรง ชักเกร็ง หรือปอดบวม

สำหรับคนท้องฉีดวัคซีนนี้ไม่ได้ตามที่บอกข้างต้น ส่วนใครที่เตรียมพร้อมจะตั้งครรภ์ แนะนำให้ฉีดก่อนล่วงหน้า และคุมกำเนิดหลังฉีดวัคซีนประมาณ 3 เดือนจึงปล่อยให้ตั้งครรภ์ครับ (เหมือนกับการฉีดวัคซีน ป้องกันหัดเยอรมัน)  อย่างที่บอกไปวัคซีนสามารถทำให้เกิดโรคได้ในคนที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เมื่อตั้งครรภ์ภูมิคุ้มกันจะอ่อนแอลง การได้รับเชื้อจากวัคซีนอาจทำให้เกิดโรครุนแรงได้กับตัวคุณแม่ นอกจากนี้เชื้อไวรัสยังสามารถส่งไปยังตัวอ่อนในครรภ์ได้ด้วยทำให้เกิดการติดเชื้อที่เรียกว่า congenital varicella syndrome อาจพบว่ามีความผิดปกติของผิวหนังหรือแขนขาของทารก หรือมีการติดเชื้อในสมอง จากการติดเชื้ออีสุกอีใสในระยะตัวอ่อนได้หรือพบว่าทารกมีผื่นผิวหนังแบบงูสวัดได้

ขอบคุณบทความจากเฟสบุ๊คของใกล้มิตรชิดหมอ

Saturday, September 28, 2013

คุยกับหมอยังไง ให้รู้เรื่อง เข้าใจ ไม่เสียเวลา

เวลาที่ข้าพเจ้าจ่ายยาอยู่ในห้องยา ได้พูดคุยกับผู้มารับยาแล้วพบว่า มีหลายเรื่องที่ผู้ป่วยไม่ได้แจ้งคุณหมอที่ตรวจ ทำให้บางทีต้องแก้ไขเรื่องต่าง ๆ ทีหลังทำให้เสียเวลา เสียทรัพยากร และอื่น ๆ 

วันนี้ ข้าพเจ้าได้อ่านเจอเฟสบุ๊คของใกล้มิตรชิดหมอ คุณหมอท่านหนึ่งได้โพสเรื่อง "คุยกับหมอยังไง ให้รู้เรื่องและเข้าใจ ไม่เสียเวลา" เห็นว่ามีประโยชน์ จึงขอคัดลอกมาไว้ที่นี่


***คุยกับหมอยังไง ให้รู้เรื่อง เข้าใจ ไม่เสียเวลา***


อยากจะมาเล่าให้ฟังค่ะ ว่าเวลาคนไข้มาปรึกษา ทั้งในเพจและในชีวิตจริง
พวกหมอๆเค้าต้องการข้อมูลอะไรกันบ้าง
มีคนบอกว่า อาชีพหมอก็คล้ายๆนักสืบ ต้องหาข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด
แล้วเอามาประมวลผลหาความเป็นไปได้ต่างๆ
ก่อนจะให้การวินิจฉัยที่เข้าเค้ามากที่สุด จากข้อมูลที่มีอยู่

ดังนั้นการที่คนๆนึงเดินเข้ามาถามว่า
"หมอคะช่วงนี้เพลียง่าย อันตรายมั้ยคะ"
"หมอคะเป็นโรคไต กินอะไรถึงจะดีคะ"
"หมอคะหนูปวดท้อง อยากรู้ว่าเป็นอะไรคะ"
แล้วคาดหวังว่าหมอจะตอบอะไรได้เป็นคุ้งเป็นแควนั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยค่ะ
ถ้าตอบได้แปลว่าต้องเก่งเทพอัจฉริยะมากๆ หรือไม่ก็มั่วสุดๆไปเลย

หมอเองก็เป็นมนุษย์ธรรมดา มีหลากหลาย บางคนอดทน บางคนก็อาจจะขี้หงุดหงิดไปบ้าง ถ้าคนไข้เล่าประวัติวนไปวนมา ก็จะพาให้อารมณ์เสียกันไปเปล่าๆ

สิ่งที่เราต้องการเป็นข้อมูลพื้นฐานเวลาจะคิดวินิจฉัยโรคต่างๆนั้น จะมีประมาณนี้ค่ะ
1. ข้อมูลพื้นฐานของคนไข้
ได้แก่ เพศ อายุ โรคประจำตัวที่เป็นอยู่แล้ว ยาที่กินประจำ (ถ้ามี)
2. อาการหลักที่มีปัญหา ระยะเวลาที่เป็น
3. อาการอื่นๆที่มีร่วมกัน ที่คิดว่าเกี่ยวข้อง
4. การตรวจเพิ่มเติม หรือการรักษาเบื้องต้น ที่ได้ทำไปแล้ว ได้ผลหรือไม่ อย่างไร

ยกตัวอย่างที่ดีๆนะคะ ...
"คุณหมอคะ หนูอายุ 20 ปี ปกติแข็งแรงดี
1 อาทิตย์นี้ปวดท้องมากเลย ปวดตรงกลางเวลาปัสสาวะ บางครั้งก็รู้สึกว่ามีไข้
ไปซื้อยาจากร้านมากินเองได้ 2 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรจะทำยังไงดีคะ?"
..ถ้ามาแบบนี้ หมอก็จะได้ภาพของคนไข้ที่ชัดเจนขึ้น ถามเพิ่มเติมในจุดที่สงสัยอีกนิดหน่อย
ก็พอจะให้คำแนะนำได้อย่างไม่ต้องคาดเดามากนักค่ะ

อีกอย่างคำว่า"โรค"ตามด้วยชื่ออวัยวะ เช่น การบอกว่าเป็น โรคไต โรคหัวใจ โรคปอด โรคไทรอยด์ โรคตับ มันเป็นข้อมูลที่กว้างงงงงงมากๆ พูดไปก็ไม่รู้ว่าเป็นโรคอะไรอยู่ดี

เช่นโรคหัวใจ ก็ยังมีรายละเอียดอีกเยอะ เช่น หัวใจขาดเลือด หัวใจอักเสบ ลิ้นหัวใจรั่ว หัวใจวาย
ซึ่งแต่ละอัน การรักษา ยาที่กิน หรือข้อควรปฏิบัติ ก็แตกต่างกันคนละเรื่องเลย
ถ้าไปหาหมอแล้วหมอบอกว่าเป็นโรคแบบนี้ ขอรายละเอียดกันนิดนึงก็ดีค่ะ จะได้เข้าใจโรคที่ตัวเองเป็นมากขึ้น

/หมอบาส

เตรียมตัวอย่างไร เมื่อไปหาหมอ

บทความนี้คัดลอกมาจากเฟสบุ๊คของ ใกล้มิตรชิดหมอคะ

***เตรียมตัวอย่างไร เมื่อไปหาหมอ***


คงไม่มีใครอยากเจ็บป่วย จนต้องไปหาหมอหรอกใช่มั้ยคะ
เพราะไปรพ.ที ก็เสียเวลา ร้อนก็ร้อน รอก็นาน ต้องลางานเสียเงินสารพัด
หมอก็ตรวจรีบๆ ให้เดินไปโน่นไปนี่ บางทีก็โดนบ่นโดนดุอีก

แต่เมื่อถึงคราวจำเป็นต้องไปแล้ว จะทำยังไงให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการไปตรวจ
เสียเวลาให้น้อยที่สุด ไม่โดนหมอบ่น เป็นคนไข้น่ารักแฮปปี้กันทุกคน ทำได้ไม่ยากค่ะ
มาดูกัน

1. นัดล่วงหน้า : โรงพยาบาลส่วนใหญ่มีระบบนัดให้ค่ะ
ถ้าไม่อยากไปแล้วเสียเวลา มีคิวตรวจแน่ๆ ในกรณีโรคไม่ฉุกเฉินหรือเช็คสุขภาพ
ควรโทรนัดค่ะ
ตอนโทรไปนัดก็สอบถามด้วยเลยว่าน่าจะต้องเจาะเลือดตรวจมั้ย
ต้องงดน้ำงดอาหารหรือเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษรึเปล่า จะได้ไม่ต้องไปเสียเที่ยวค่

2. เตรียมข้อมูลให้พร้อม : คิดให้ดีๆว่าจะไปตรวจเรื่องอะไร ลำดับเหตการณ์ที่จะเล่าให้หมอฟังให้ดี เพราะประวัติที่แม่นยำ จะนำไปสู่การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องกว่า 50% แล้วค่ะ ที่เหลืออาจจะต้องพึ่งการตรวจร่างกาย+แลปเพิ่มเติม
อาการบางอย่าง เช่น ไข้ เป็นมา 3 วัน กับ 3 อาทิตย์
โรคที่หมอจะคิดถึงก็ต่างกันลิบลับเลยค่ะ
ถ้าเริ่มไม่แน่ใจ ควรคุยกับคนรอบตัว ช่วยกันนึก จดไปเล่าให้ฟังเลยก็ได้ค่ะถ้ามันยาวนัก
หมอนะชอบมากเลยค่ะถ้าคนไข้เล่าอาการได้เป็นฉากๆ แต่จะเบื่อมากเวลาคนไข้ตอบคลุมเครือๆ แบบให้เดาเอาเองเช่น
หมอ : ไอมากี่วันแล้วคะ
คนไข้ : หลายวันแล้ว
หมอ : แล้วประมานกี่วันคะ
คนไข้ : จำไม่ได้ แต่หลายวันแล้วละ
... อันนี้หมอส่วนนึงจะเริ่มหงุดหงิดแล้วค่ะ คือหมอก็ไม่ได้ต้องการเป๊ะๆมาก แบบว่าถ้าจริงๆ 11 วัน แต่บอกว่า 10 วันแล้วจะโกรธอะไรแบบนั้น
ขอแค่ 2-3 วัน หรือ อาทิตย์นึง เดือนนึง แค่นี้ก็ได้ไอเดียละค่ะ เนอะๆ
ยาที่กินๆอยู่ก็เหมือนกันค่ะ อย่างที่เคยเขียนไปแล้วเรื่องความสำคัญของชื่อยา
ถ้าจำไม่ได้ ก็หอบไปให้หมอดูให้หมดเลยค่ะ ให้เห็นๆกันไปเลย

3. ถ้าไม่สามารถให้ประวัติเองได้ เอาคนที่เล่าได้ไปด้วย :
เช่นพาลูกไปหาหมอ แต่ปกติลูกอยู่กับยาย
พอแม่พาไป หมอถามอะไรก็ได้แต่เดาๆ อ้ำอึ้ง ผลเสียก็ตกกับลูกนะคะ

4. เคยตรวจมาแล้ว..อย่าปล่อยให้เสียเปล่า :
คนไข้ส่วนนึง ตรวจจากที่แรกไม่หาย หรือไม่เชื่อ
ก็ชอบจะย้ายที่ไปเรื่อยๆ แบบนี้เราเรียกว่า "ชอปปิ้งหมอ" ค่ะ
ซึ่งจริงๆก็เป็นสิทธิ์ของคนไข้ที่จะหาสิ่งที่คิดว่าดีที่สุดให้ตัวเอง เข้าใจค่ะ
แต่เวลาย้ายที่นั้น ประวัติการรักษาเดิม ยาที่เคยกิน ผลเลือด ผลตรวจเอ็กซเรย์ อัลตราซาวน์ CT ทุกอย่างล้วนเป็นข้อมูลที่มีค่าค่ะ
เพราะมันบอกถึงการตอบสนองต่อยา การเปลี่ยนแปลงของอาการหรือค่าแลบ คนไข้ชอบคิดว่า "ไม่เอาที่เก่าแล้ว เริ่มใหม่หมดดีกว่า"
แต่ในความเป็นจริง นั่นคือการที่คุณต้องเสียเวลา เจ็บตัวใหม่ โดนรังสีต่างๆที่ใช้ตรวจใหม่ เสียเลือดใหม่
และอาจจะต้องลองกินยาเดิมๆที่เคยกินแล้วไม่หายอีกรอบนะคะ

5. สงสัยอะไร จดไปล่วงหน้า: หลายครั้งที่มีอะไรสงสัยในใจมากมาย
พอเจอหมอหมอก็ถามๆๆๆฝ่ายเดียว เวลาก็น้อยนิด
ดังนั้น จดคำถามที่สงสัยไว้เลยค่ะ พอมีจังหวะก็เอาออกมาถามซะ
จะได้กลับบ้านแบบสบายใจ ไม่ต้องมาค้างคาใจกันอีกนะค

อาจจะฟังดูเหมือนบ่น แต่เชื่อเถอะค่ะ ว่าถ้าทำได้ตามนี้ การไปพบหมอ จะราบรื่น เสียเวลาน้อยลง มีความสุขกันทุกฝ่ายแน่นอน ลองดูนะคะ ^^

/admin หมอบาสค่ะ 

Tuesday, September 24, 2013

ยาไวอากร้า (อุทาหรณ์)


ข่าวจากมติชน 23 กันยายน 2556


อุทาหรณ์สอนใจชาย! ปู่ต้องตัดเจ้าโลกทิ้ง หลัง"โด่ไม่รู้ล้ม-กินไวอะกร้าไม่ยั้งมือ"


สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 23 กันยายนว่า คุณปู่ไม่เปิดเผยนามรายหนึ่งวัย 66 ปี ซึ่งเป็นชาวสหรัฐ จำต้องรับการผ่าตัดเจ้าโลกทิ้ง หลังเกิดอาการอวัยวะเพศแข็งตัวตลอดและปวดอย่างรุนแรง เพราะกินยาไวอะกร้าเกินปริมาณ เพราะหวังว่าจะสร้างความประทับใจทางเพศให้แก่คู่รักของเขา


รายงานระบุว่า คุณปู่รายนี้ต้องเผชิญกับสภาพเจ็บปวดเพราะอวัยวะเพศแข็งตัวต่อเนื่องหลายวัน ก่อนจะตัดสินใจไปปรึกษาแพทย์ โดยแพทย์บอกว่า อวัยวะเพศเขาเกิดเป็นแผลพุพอง และอ่อนตัว มีการแตกของเส้นเลือดภายใน นอกจากนี้ อวัยวะเพศของเขายังบวมเปล่ง รวมทั้งบริเวณลำไส้ ก่อนต้องรับการผ่าตัดเอาอวัยวะเพศออกอย่างไม่มีทางเลือก และอาการล่าสุดทรงตัวแล้ว ขณะเดียวกัน ทางโรงพยาบาลได้ออกคำเตือนต่อบรรดาผู้ชาย ไม่ให้ใช้ยาไวอะกร้าหรือยากระตุ้นอวัยวะเพศโดยปราศจากการปรึกษาจากแพทย์ด้วย

ทั้งนี้ เหตุการณ์นี้ยังเกิดขึ้นหลังจากเมื่อเร็ว ๆ นี้ ชายเยเมนรายหนึ่งเสียชีวิตช็อกตายเพราะกินยาไวอะกร้าเกินปริมาณ ขณะเตรียมมีสัมพันธ์กับเจ้าสาวในคืนแรกของการวิวาห์สมรสด้วย


รายละเอียดข่าว : http://www.dailymail.co.uk/news/article-2429046/Man-penis-amputated-deliberately-overdosing-Viagra-impress-girlfriend.html

โรคเบาหวานกับเรื่องฟัน

โรคเบาหวานกับเรื่องฟัน


โรคเบาหวานกับเรื่องฟัน เกี่ยวกันหรือ?

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ที่เกี่ยวข้องกับร่างกายในการดูดซึมน้ำตาลในเลือด ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงซึ่งถ้าไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จะส่งผลต่อตา เส้นประสาท ไต และหัวใจ อีกทั้งอวัยวะในร่างกาย 

โรคเบาหวาน มีผลต่อความสามารถในการสู้กับเชื้อโรคของร่างกาย ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อและแผลหายช้านั่นเอง 

ถ้าคุณหรือคนข้างเคียงของคุณเป็นโรคเบาหวาน ให้ทราบไว้ว่าคุณมีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาในช่องปาก ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ มีดังนี้

-โรคเหงือก ซึ่งงานวิจัยได้พบถึงความสัมพันธ์ระหว่างโรงเหงือกกับโรคเบาหวาน เนื่องจาก ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะง่ายต่อการติดเชื้อและแผลหายช้า โรคเหงือกจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นง่ายในไข้เบาหวาน และอาจจะกลายเป็นรุนแรงถึงโรครำมะนาดได้ (ฟันโยกมากๆ) และยังพบว่า การรักษาโรคเหงือกจะสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วย

-ติดเชื้อราในช่องปาก หากโรคเบาหวานไม่ได้รับการควบคุม จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายของคนไข้ต่ำลง อาจจะทำให้ติดเชื้อราในช่องปากได้ง่าย อาการของการติดเชื้อจะปวดแสบปวดร้อนในช่องหากและกลืนลำบาก ต้องรีบปรึกษาแพทย์

-การติดเชื้อและแผลหายช้า ถ้ามีการศัลยกรรมภายในช่องปาก เช่น ถอนฟัน ผ่าฟันคุด ทันตแพทย์อาจจะต้องจ่ายยาปฎิชีวนะ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ส่วนเรื่องแผลหายช้า ผู้ป่วยควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ปกติตั้งแต่ก่อนทำ ระหว่างทำ และหลังทำการรักษาทันตกรรม

สรุปว่า การดูแลช่องปาก รวมไปถึงการพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้ ใครรรู้ตัวว่าเป็นโรคเบาหวาน และไม่เคยไปพบหมอฟันเพื่อตรวจฟันและเหงือก ลองไปดูนะครับ อาจจะช่วยคุณได้ก่อนที่จะสายเกินไป


https://www.facebook.com/pages/%E0%B9%83%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%99/265463766838026?hc_location=stream

Medication error จากการผลิตยา

จากข่าวที่องค์การเภสัชกรรม บรรจุยา Isosorbide dinitrate 10 mg.ใช้รักษาโรคหัวใจ ในซองยา Amlodipine 5 mg ซึ่งใช้รักษาโรคความดัน ถือเป็นMedication error ด้านการผลิต โชคดีที่ยาสองตัวนี้เป็นยากลุ่มที่ใช้ด้วยกันได้ เพราะส่วนใหญ่คนเป็นโรคหัวใจ มักมีความดันสูง
นอกจากข่าวนี้แล้ว ผู้เขียนก็เคยเจอแผงยาจากโรงงานยาอื่น มียาไม่ครบ ขาดไป1-2เม็ด (1 แผงมีสิบเม็ดก็จะเหลือ 8-9 เม็ด)แต่้ก็ไม่ได้พบบ่อยนัก
และโรงงานยาบางแห่งพิมพ์วิธีใช้ยาที่แผงยาไม่ถูก เช่น amoxycillin ควรทานหลังอาหาร แต่ไปพิมพ์ติดที่แผงยาว่าทานก่อนอาหาร (กรดและอาหารในกระเพาะไม่มีผลต่อการดูดซึมยา amoxy ซึ่งต่างจาก cloxaที่ต้องทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง)

วันนี้อ่านเจอเรื่องในอเมริกา เกี่ยวกับerrorในการผลิตยาของโรงงาน แรนแบ๊กซี่ในอินเดีย ว่าเจอเส้นขนและคราบน้ำมันบนเม็ดยา เมื่อตรวจสอบโรงงานตามหลักมาตรฐานGMPพบว่า เส้นขนอาจเกิดจากขนที่แขนของพนักงานผลิตที่ไม่ได้ใส่ถุงมือขณะปฏิบัติงาน และคราบน้ำมันเกิดจากเครื่องจักรที่ใช้ผลิตยาเม็ด นอกจากนี้ยังพบว่า สถานที่เก็บสต๊อควัตถุดิบในการเตรียมยาอยู่ติดกับห้องน้ำของโรงงานที่ไม่สะอาดเท่าไหร่ บริษัทยานี้จึงถูก FDA ของอเมริกาแบน และถูกเรียกค่าเสียหายหลายล้านเหรียญจากศาลอเมริกาด้วย
อ่านบทความภาษาอังกฤษได้ที่นี่:
http://www.pharmalive.com/what-hurt-ranbaxy-hair-oil-spots-and-bathrooms-without-water

Medication error (ความคลาดเคลื่อนทางยา)

วันนี้เข้าไปอ่านบล๊อคของเภสัชกรต่างประเทศ เลยนำเรื่องมาแปลให้อ่าน
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น เมื่อเดือนพฤษภาคม 2013 นี้เอง

ที่ Hallands hospital inHalmstad in southern Sweden มีคนไข้ชายสูงอายุคนหนึ่งเพิ่งหายจากการผ่าตัดหัวใจ เตรียมตัวออกจากโรงพยาบาลกลับบ้าน ได้พูดให้เจ้าหน้าที่ฟังว่า มีอาการปวดท้อง เขาถูกนำตัวไปผ่าตัดฉุกเฉินและพบว่าในลำไส้ มียาเม็ดอยู่ในแผงยังไม่ได้แกะออก จึงอาจทำให้เกิดแผลเป็นรูในลำไส้ เพราะแผงยาที่พบมีรอยคมตรงมุม ซึ่งคนไข้อาจทานลงไปทั้งแผง ทำให้เกิดแผลทะลุลำไส้
โชคร้าย คือ หลังผ่าตัดครั้งนี้ คนไข้เสียชีวิต 
สุดท้ายพบว่า คนไข้สูงอายุมีสายตาไม่ดี อาจมองเห็นยาไม่ชัด จึงไม่ได้แกะเม็ดยาออก กลืนทั้งแผงลงไปในท้อง เหตุการณ์นี้ จัดเป็น medication error ต้องรายงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น  the supervisory activities of the National Board of Health and Welfare (Socialstyrelsen).
และหวังกันว่า โรงพยาบาลต่าง ๆ จะถือเป็นบทเรียน และหาทางป้องกันความผิดพลาดในขั้นตอนนี้


ความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน เวลาเจ้าหน้าที่เอายามาส่งให้ผู้ป่วยตามห้องพักในวอร์ด ส่วนใหญ่จะแกะเม็ดยาใส่ถ้วยไว้ให้ผู้ป่วยทานได้เลย กรณีนี้น่าจะเกิดจากการตัดยาแบ่งออกมาจากแผงยา โดยไม่ได้แกะแผงออก จึงทำให้คนไข้เข้าใจผิดหยิบทานเลยเหมือนทุกครั้งที่ได้รับยา และคนไข้สูงอายุสายตาไม่ดี
มองไม่เห็นว่ายายังอยู่ในแผง ก็เลยหยิบทานทั้งแผง แถมเป็นโรคหัวใจ จึงต้องผ่าตัดซ้ำอีก ร่างกายทนไม่ไหว จึงกลายเป็นmedication error ระดับ I (ระดับสูงสุด ) แทนที่จะเป็นแค่ระดับ E(ระดับที่ยังไม่เสียชีวิต)


กลยุทธเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยา

ความคลาดเคลื่อนทางยา (medication error) คืออะไร[1]

                ความคลาดเคลื่อนทางยา หมายถึง เหตุการณ์ที่สามารถป้องกันได้ ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุหรือนำไปสู่การใช้ยาที่ไม่เหมาะสม หรือเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย ในขณะที่ยานั้นอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ ผู้ป่วย หรือผู้บริโภค  เหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะเกี่ยวกับการปฏิบัติของผู้ประกอบวิชาชีพ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และระบบ อันได้แก่ การสั่งใช้ การสื่อสารคำสั่ง การเขียนฉลาก/บรรจุ/ตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ การผสม การจ่าย การกระจาย การให้ยา (หรือการบริหารยา) การให้ข้อมูล การติดตาม และการใช้

การวัดความปลอดภัยทางยา อะไรได้ผล อะไรไม่ได้ผล[2]

                ข้อมูลจากรายงานอุบัติการณ์ของโรงพยาบาลเป็นวิธีการที่ไม่เกิดประโยชน์ในการวัดประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ยา  มีรายงานการวิจัยยืนยันว่าความคลาดเคลื่อนจำนวนมากอาจจะไม่ถูกตรวจพบ แม้ว่าจะเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย  หรือถึงแม้จะตรวจพบก็อาจะไม่มีการรายงาน  ผู้ปฏิบัติงานอาจจะไม่รายงานความคลาดเคลื่อนซึ่งถูกตรวจพบก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับ เนื่องจากมิได้มีการกำหนดและสื่อสารอย่างชัดเจนว่าจะต้องมีการรายงานทุกสถานการณ์  เมื่อมีการรายงานไปครั้งหนึ่งแล้ว ผู้ปฏิบัติงานอาจจะไม่รายงานความคลาดเคลื่อนในลักษณะเดียวกันที่เกิดขึ้นอีก ด้วยเข้าใจว่าผู้นำได้รับทราบปัญหาแล้ว  นอกจากนั้น การที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหา การที่ไม่ได้รับทราบว่ามีการดำเนินการเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำอย่างไร ระบบรายงานที่ซับซ้อนและใช้เวลามาก ตลอดจนความหวาดกลัวผลที่จะตามมา ก็มีส่วนปิดกั้นการรายงานที่สมบูรณ์  โดยที่จริงแล้ว การเน้นอัตราความคลาดเคลื่อนจากระบบรายงานเมื่อเกิดเหตุการณ์มักจะสร้างแรงกดดันแก่ผู้ปฏิบัติงาน ทำให้มีการรายงานน้อยลง  อย่างไรก็ตาม ยังมีวิธีการที่ดีกว่าซึ่งองค์กรสามารถใช้วัดความปลอดดัยในการใช้ยา และวัดประสิทธิผลของมาตรการป้องกันความคลาดเคลื่อน
                ความเข้าใจว่าเราจะเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยาได้อย่างมากด้วยการลดโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (adverse drug event-ADE) เป็นหัวใจสำคัญของการวัดที่มีความหมายและช่วยป้องกันความคลาดเคลื่อนอย่างได้ผล  ในขณะที่ความคลาดเคลื่อนจนก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยเกิดขึ้นนานๆ ครั้ง แต่โอกาสที่จะเกิดอันตรายดังกล่าวก็มักจะซ่อนอยู่ในองค์กรจำนวนมาก  ดังนั้น การวัดโอกาสเกิด ADE (potential ADE-PADE) ควบคู่ไปกับ ADE ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยทั้งในระดับเล็กน้อยและระดับรุนแรง จะให้ข้อมูลที่มีความหมายสำหรับการป้องกันความคลาดเคลื่อน และแสดงให้เห็นการพัฒนาของระดับความปลอดภัยในการใช้ยา  นอกจากนั้น ความพยายามในการป้องกันความคลาดเคลื่อนจะได้ผลดีกว่าหากการวัดเน้นไปที่ยาเฉพาะตัวซึ่งมีโอกาสเกิดปัญหาสูง หรือสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อความคลาดเคลื่อน
                ตัวอย่าง โอกาสเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเคมีบำบัด สามารถวัดได้โดยพิจารณาอุบัติการณ์ของการสื่อสารคำสั่งที่ไม่ปลอดภัย (การใช้คำย่อ, การสั่งจ่ายทั้ง course แทนที่จะเป็นการจ่ายทีละ dose, การไม่ระบุ mg/m2 dose, failure to round doses over 10 mg), ร้อยละของคำสั่งที่เกินกว่าระดับยาสูงสุดที่ปลอดภัยซึ่งพบจากการทบทวนคำสั่ง, ไม่มีการสื่อสารเหตุผลของการปรับขนาดยา, การระบุค่า CBC, Cr, ส่วนสูง, น้ำหนัก, BSA, อายุในคำสั่งใช้ยา 
                โอกาสเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่ผู้ป่วยแพ้อาจจะวัดได้ด้วยการทบทวนรายงานคอมพิวเตอร์ประจำวันเพื่อดูจำนวน patient profile ที่ไม่มีข้อมูลการแพ้ยา, ร้อยละของคำสั่งใช้ยาซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อป้องกันการให้ยาที่ผู้ป่วยแพ้  ทำนองเดียวกัน การทบทวนการใช้ยาแก้แพ้ (เช่น dephenhydramine, corticosteroid) จะช่วยให้ตรวจพบ ADE ได้มากขึ้น
                โอกาสเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (PADE)จากการใช้ยา heparin อาจจะวัดได้ด้วยการดูอุบัติการณ์ของผู้ป่วยที่ระดับยาขึ้นไม่ถึง therapeutic range ใน 24 ชั่วโมงของการรักษา, อุบัติการณ์ของการที่ aPTT มีค่ามากกว่า 100 สำหรับผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับ heparin, the mean number of aPTT daily ต่อผู้ป่วยที่ได้รับ IV heparin, การปฏิบัติตาม heparin protocol  การวัดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ADE) ทำได้โดยการดูอุบัติการณ์ของการมีเลือดออกที่ significant, การให้ pack RBC หรือการใช้ protamine
                การวัดและนำเสนอข้อมูล PADE และ ADE ร่วมกันในชาร์ทเดียวกัน พร้อมทั้งอธิบายจุดที่มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงระบบ (system-based change) ที่เกิดขึ้น จะช่วยแสดงให้เห็นประสิทธิผลของมาตรการป้องกันความคลาดเคลื่อนที่ชัดเจน  ในขณะที่การรายงานโอกาสและความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นจริงจะมีประโยชน์ในการแสดงความยิ่งใหญ่ของการวัด แต่การวัดดังกล่าวเพื่อแสดงอัตราจะมีความหมายเพียงแค่ใช้แสดงว่าอัตราการรายงานความคลาดเคลื่อนมากขึ้นหรือลดลงเท่านั้น

การวิเคราะห์ความคลาดเคลือนทางยาที่ควรเป็น[3]

                ความพยายามในการลดความคลาดเคลื่อนทางยาที่ประสบความสำเร็จจะต้องส่งผลให้เกิดการปรับปรุงระบบผ่านการวิเคราะห์ใน 4 ด้านด้วยกัน 
                การวิเคราะห์ 2 ด้านแรกมีลักษณะตั้งรับ ได้แก่ () การวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนเฉพาะที่เกิดขึ้นในแต่ละสถานพยาบาลซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย และ () การวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนโดยรวม (aggregate medication error)
                การวิเคราะห์อีก 2 ด้านซึ่งมีความสำคัญเท่าเทียมกันมีลักษณะเชิงรุก ได้แก่ () การวิเคราะห์เหตุการณ์ที่ เกือบพลาด” (near miss) หรือความคลาดเคลื่อนที่มีโอกาสก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย และ () การวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนซึ่งเกิดขึ้นในองค์กรอื่น
                การวิเคราะห์แต่ละด้านนั้นให้ข้อมูลที่มีคุณค่าเกี่ยวกับจุดอ่อนในระบบซึ่งเมื่อนำมารวมกันแล้วนำไปสู่ยุทธศาสตร์ที่จะลดความคลาดเคลื่อนอย่างได้ผล  อย่างไรก็ตาม หลายองค์กรยังคงมุ่งเน้นกับการวิเคราะห์เชิงรับใน 2 ด้านแรก แต่ความพยายามในเชิงรุกยังไม่ได้รับความสำคัญ  ส่งผลให้องค์กรยุ่งอยู่กับการไล่ดับเพลิงแทนที่จะเป็นการป้องกันเพลิง
                เรื่อง เกือบพลาดเป็นหลักฐานชัดเจนว่าเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสามารถเกิดขึ้นได้  แต่บ่อยครั้งที่สัญญาณนี้ไม่ได้รับการใส่ใจ  ไม่มีการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับความคลาดเคลื่อนซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย เช่น โอกาสที่จะให้ยาเกินขนาดซึ่งเกิดผลที่รุนแรงแต่ถูกตรวจพบได้ก่อนการให้ยาอาจจะไม่ได้รับความสำคัญเท่าเทียมกับความคลาดเคลื่อนในลักษณะเดียวกันและก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย  ที่ร้ายกว่านั้นคือบางองค์กรไม่ใช้ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นที่อื่นเป็นแผนที่เดินทางสำหรับการปรับปรุง  ที่น่าเศร้าก็คือข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงในเชิงระบบซึ่งผู้เผชิญกับปัญหาโดยตรงเสนอขึ้นมานั้นมักจะไม่ได้รับการใส่ใจจากคนอื่น 
                การใช้ความผิดพลาดของคนอื่นเป็นเลนส์เพื่อตรวจสอบระบในองค์กรของเราเองนำไปสู่ยุทธศาสตร์ที่จะลดความคลาดเคลื่อนในเชิงรุก ส่งเสริมส่งแวดล้อมที่ปราศจากการลงโทษ และทำให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนในเรื่องสาเหตุของความคลาดเคลื่อนในเชิงระบบ  ประการแรกก็คือ กระบวนการนี้ส่งเสริมให้มีการสื่อสารอย่างเปิดกว้างเกี่ยวกับความคลาดเคลื่อนทางยา  แน่นอนว่าผู้ปฏิบัติงานจะรู้สึกสบายใจในการที่พูดคุยเรื่องความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นภายนอกมากกว่าคุยสิ่งที่เกิดขึ้นภายใน  เนื่องจากไม่มีการกล่าวโทษกัน จึงไม่มีท่าทีของการปกป้องตนเองหรืออุปสรรคในการอภิปราย  ผู้ปฏิบัติงานสามารถระบุสาเหตุเชิงระบบ โอกาสที่จะเกิด และข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงได้ไม่ยากนัก  ในระหว่างที่มีการปรับปรุง จะเกิดความตื่นตัวในการค้าหา รายงาน และวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนซึ่งเกิดขึ้นจริงในองค์กร และในที่สุด การอภิปรายเกี่ยวกับความคลาดเคลื่อนภายนอกจะนำมาสู่การวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนภายในที่เกิดสัมฤทธิผล


USP Medication Error Reporting Program[4]

ผู้รายงาน (ชื่อ ตำแหน่ง โทรศัพท์ สถานพยาบาล ที่อยู่)____________

ข้อมูลความคลาดเคลื่อน
        O  ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นจริง (ระบุชนิด B-H)
  o โอกาสเกิดความคลาดเคลื่อน (ชนิด A)

บรรยายลักษณะของความคลาดเคลื่อน (ลำดับเหตุการณ์, ผู้เกี่ยวข้อง, สภาพการทำงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เปลี่ยนเวร ขาดพยาบาล ไม่มีเภสัชกร 24 ชม. Floor stock)_______________________________

รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์-ถ้ามีส่วนเกี่ยวข้อง (ชื่อการค้า, ชื่อทั่วไป, ผู้ผลิต, ขนาดยา, ความเข้มข้น, ชนิดและขนาดของภาชนะบรรจุ, หมายเลข NDC)_____________________________________

ผู้ป่วยได้รับยาแล้วหรือไม่_______________________________

วันเวลาที่เกิดเหตุการณ์________________________________

ประเภทของเจ้าหน้าที่ที่ก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อน_____________________

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (เสียชีวิต, ชนิดของการบาดเจ็บ, ผลข้างเคียง)___________________

ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับยา ให้บรรยายการกระทำและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง_________________________

ระดับของเจ้าหน้าที่ที่ค้นพบความคลาดเคลื่อน___________________________

มีการค้นพบความคลาดเคลื่อนเมื่อไร ด้วยวิธีใด_______________________________

เกิดความคลาดเคลื่อนที่ไหน (รพ., แผนกผู้ป่วยนอก, บ้านของผู้ป่วย)______________________

มีผู้ประกอบวิชาชีพคนอื่นเกี่ยวข้องกับความคลาดเคลื่อนหรือไม่_________________________

ผู้ป่วยได้รับคำปรึกษาหรือไม่  ได้รับก่อนหรือหลังการค้นพบความคลาดเคลื่อน__________________

ข้อเสนอแนะเพื่อการป้องกันความคลาดเคลื่อน/นโยบายหรือระเบียบปฏิบัติที่ใช้ป้องกัน___________________________________________________________________________


รหัสและการจัดกลุ่มเกี่ยวกับความคลาดเคลื่อนทางยา[5]

ผลของความคลาดเคลื่อนทางยา

กลุ่ม
รหัส/categ
ผลของความคลาดเคลื่อน
31 NO ERROR
31.1
A
เหตุการณ์ซึ่งมีโอกาสที่จะก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อน
32 ERROR, NO HARM
32.1
B
เกิดความคลาดเคลื่อนขึ้น แต่ไม่ถึงผู้ป่วย

32.1
C
เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วย แต่ไม่ทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตราย

32.2
D
เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วย ต้องการการเฝ้าระวังเพื่อให้มั่นใจว่าไม่เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย และ/หรือต้องมีการบำบัดรักษา
33 ERROR, HARM
33.1
E
เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอันตรายชั่วคราว และต้องมีการบำบัดรักษา

33.2
F
เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอันตรายชั่วคราว และต้องนอนโรงพยาบาล หรืออยู่โรงพยาบาลนานขึ้น

33.3
G
เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอันตรายถาวรแก่ผู้ป่วย

33.4
H
เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วย ส่งผลให้ต้องทำการช่วยชีวิต
34 ERROR, DEATH
34.1
I
เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วยซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต

ชนิดของความคลาดเคลื่อน

รหัส
Error
ความคลาดเคลื่อน
อธิบาย
70.1
Dose Omission
ไม่ได้ให้ยา
ไม่ได้ให้ยาแก่ผู้ป่วยตามที่แพทย์สั่งก่อนถึงกำหนดเวลาครั้งต่อไป (ไม่รวมผู้ป่วยที่ปฏิเสธการรับยา)
70.2
Improper Dose
ขนาดไม่เหมาะสม
อาจจะมากเกินไป น้อยเกินไป
70.3
Wrong Strength/
Concentration
ความเข้มข้นผิด

70.4
Wrong Drug
ตัวยาผิด

70.5
Wrong Dosage Form
รูปแบบยาผิด

70.6
Wrong Technique
เทคนิคผิด
รวมทั้งการบดเม็ดยาโดยไม่เหมาะสม
70.7
Wrong Route of Administration
วิธีการให้ยาผิด
เช่น ฉีดแทนกิน, IV แทน IM, IM แทน IV, เข้าไขสันหลังแทน IV
70.8
Wring Rate
อัตราผิด
เร็วเกินไป ช้าเกินไป
70.9
Wrong Duration
ระยะเวลาผิด

70.10
Wrong Time
ผิดเวลา
ให้ยานอกช่วงเวลาที่กำหนดไว้จากตารางการให้ยา ซึ่งกำหนดโดยสถานพยาบาล
70.11
Wrong Patient
ผิดตัวผู้ป่วย

70.12
Monitoring Error
ติดตามเฝ้าระวังผิดพลาด
ปฏิกิริยาระหว่างยา, ปฏิกิริยาระหว่างยากับอาหาร, การให้ยาแก้ผู้ป่วยที่บันทึกว่าแพ้ยาตัวนั้น, ปฏิกิริยาระหว่างยากับโรค
70.13
Deteriorated Drug Error
ยาเสื่อมสภาพ
จ่ายยาที่หมดอายุแล้ว
70.14
Other
อื่นๆ

สาเหตุของความคลาดเคลื่อน

รหัส
Causes
สาเหตุ
อธิบาย
81
Communication
การสื่อสาร
การสื่อสารที่ผิดพลาดทางวาจาหรือการเขียน, การแปลความคำสั่งผิดพลาด
83
Name Confusion
ความสับสนเรื่องชื่อ
Suffix, prefix, ชื่อคล้ายยาในชื่ออื่น, ชื่อคล้ายยาอื่น, มองดูคล้ายยาในชื่ออื่น, สับสนกับชื่อ OTC,
85
Labeling
การเขียนฉลาด

 



รายงานความคลาดเคลื่อนทางยา
ผู้รายงาน (ชื่อ ตำแหน่ง)                                                                                                                                      
ประเภทของความคลาดเคลื่อน
A
เหตุการณ์ซึ่งมีโอกาสที่จะก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อน
B
เกิดความคลาดเคลื่อนขึ้น แต่ไม่ถึงผู้ป่วย
C
เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วย แต่ไม่ทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตราย
D
เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วย ต้องการการเฝ้าระวังเพื่อให้มั่นใจว่าไม่เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย
E
เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอันตรายชั่วคราว และต้องมีการบำบัดรักษา
F
เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอันตรายชั่วคราว และต้องนอนโรงพยาบาล หรืออยู่โรงพยาบาลนานขึ้น
G
เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอันตรายถาวรแก่ผู้ป่วย
H
เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วย ส่งผลให้ต้องทำการช่วยชีวิต
I
เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วยซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต
บรรยายลักษณะของความคลาดเคลื่อน (ลำดับเหตุการณ์, วันเวลา, ผู้เกี่ยวข้อง, สภาพการทำงานที่เกี่ยวข้อง)
                                                                                                                                                                   
                                                                                                                                                                   
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (ชนิดของการบาดเจ็บ, ผลข้างเคียง)
                                                                                                                                                                  
ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับยา ให้บรรยายว่ามีการสะกัดกั้นอย่างไร
                                                                                                                                                                   
การค้นพบความคลาดเคลื่อน (ผู้ค้นพบ, พบเมื่อไร, ด้วยวิธีใด)
                                                                                                                                                                  ผู้ป่วยได้รับคำปรึกษาหรือไม่  ได้รับก่อนหรือหลังการค้นพบความคลาดเคลื่อน
                                                                                                                                                                   
ข้อเสนอแนะเพื่อการป้องกันความคลาดเคลื่อน
                                                                                                                                                                   
                                                                                                                                                                 







[