Monday, February 8, 2010

Lithium intoxication

วันนี้มีคนไข้มาพร้อมประวัติรักษาจากร.พ.สมเด็จเจ้าพระยา มาใช้สิทธิ 30 บาทที่คลีนิค พบว่า เจาะเลือด เจอค่า lithiumสูง มีค่า 2.76 mmol/L มีอาการ delirium seizure แพทย์สั่งหยุดยา ลิเธียม ให้น้ำเกลือ ถ้าไม่ดีขึ้น ให้ทำ dialysis แต่แพทย์ส่ง refer ศิริราชเลย

เราก็เลยมาค้นดู การเกิดพิษของยา lithium

1. ชื่อโครงการวิจัย:- ภาวะลิเธียมเป็นพิษ ( รายงานผู้ป่วย 11 ราย)
2. ผู้วิจัย:-  นายแพทย์สันติชัย ฉ่ำจิตรชื่น (นายแพทย์ 8 วช โรงพยาบาลศรีธัญญา)

3. หลักการและเหตุผล:-  โรคไบโพลาร์ เป็นโรคที่มีความชุกสูงโรคหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับโรคทางจิตเวชอื่น ลิเธียมเป็นตัวยาตัวหนึ่งที่เป็นทางเลือกที่สำคัญในการรักษาโรคไบโพลาร์ แต่ลิเธียมเป็นยาที่มี Therapeutic index แคบ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการลิเธียมเป็นพิษได้ง่ายและผู้ป่วยอาจมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจเป็นตัวเสริมก่อให้เกิดภาวะลิเธียมเป็นพิษได้ง่าย ดังนั้น ภาวะลิเธียมเป็นพิษจึงเป็นอุบัติการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นได้บ่อย ซึ่งเป็นภาวะเร่งด่วนและอยู่ในระดับรุนแรง อาจมีผลทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ฉนั้นการได้มีการศึกษาเรื่องอาการและการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะลิเธียมเป็นพิษจึงมีความสำคัญมาก

4. วัตถุประสงค์:- เพื่อรายงานอาการแสดงของลิเธียมเป็นพิษ ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะลิเธียมเป็นพิษ การรักษาและผลการรักษาภาวะลิเธียมเป็นพิษ

5. วิธีดำเนินการ:- ศึกษาโดยการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องจากบทความและตำราที่เลือกสรร และทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยของโรงพยาบาลศรีธัญญา ซึ่งมีระดับยาลิเธียมในกระแสเลือดมากกว่า 1.5 mEq/L ใน 6 เดือนที่ผ่านมา (มีนาคม – สิงหาคม 2548)

6. ผลการวิจัย:- ผู้ป่วยภาวะลิเธียมเป็นพิษ 11 ราย อาการแสดงมากน้อยแตกต่างกันไปขึ้นกับระดับยาในกรแสเลือดตั้งแต่ไม่มีอาการแสดงไปจนถึงง่วงซึม งง สับสน เดินซอยเท้า อ่อนแรง เซ ภาพซ้อน พูดอ้อแอ้ สำหรับปัจจัยเสี่ยงของภาวะลิเธียมเป็นพิษ ได้แก่ ขนาดลิเธียมที่สูง ผู้ป่วยสูงอายุ ภาวการณ์ติดเชื้อ โรคร่วมที่ทำให้การทำงานของไตลดลง และการได้รับยาอื่นที่ขัดขวางการขับถ่ายลิเธียม เช่น NSAID ถึงแม้ในรูปแบบยาทา การรักษาภาวะลิเธียมเป็นพิษที่สำคัญ คื่อการรักษาระดับน้ำไหลเวียนในร่างกายให้เพียงพอโดยการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ การหยุดยาหรือปรับลดยาลิเธียม การให้ยาที่เพิ่มการขับลิเธียมออกจากร่างกาย และการพิจารณาให้การฟอกเลือดในรายที่มีอาการรุนแรง ผลการรักษาระดับลิเธียมในกระแสเลือดจะกลับสู่ปกติส่วนใหญ่ภายใน 1- 3 วัน

7. ข้อเสนอแนะ:- ภาวะลิเธียมเป็นพิษถือเป็นอาการแทรกซ้อนจากการรักษาที่สำคัญ ผู้ดูแลผู้ป่วยควรได้มีการทบทวนองค์ความรู้ด้านนี้อยู่เสมอและต่อเนื่อง เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยรอดพ้นจากภาวะวิกฤตที่เสี่ยงต่อชีวิตได้