Thursday, February 11, 2010

เก๊าต์เฉียบพลัน

คนไข้มาตอนกลางคืน ด้วยอาการข้อบวมแดงร้อน แพทย์มาขอยา colchicine piroxicam ไปดู แพทย์บอกว่า อาการเฉียบพลัน คงให้ยาลดกรดยูริคไม่ได้ คงต้องให้กิน colchicine ทุก 1 ชั่วโมง จนครบ 6 เม็ด เราก็เลยค้นในเน็ตดู

ข้อหัวแม่เท้าปวด บวม แดง ร้อนขึ้นมาทันที ในคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในเพศชาย ที่มักจะอยู่ดีกินดี (ชอบกินเครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก อาหารเนื้ออื่นๆ และสุรา ยาดองของเมาทั้งหลาย) มักจะอ้วน และอาจจะเป็นเบาหวานด้วย

อาการมักเริ่ม – ในเวลากลางคืน โดยจะปวดข้อหัวแม่เท้าขึ้นมากลางดึก ข้อหัวแม่เท้าจะบวม แดงร้อนและปวดมาก อาจขยับขาข้างนั้นไม่ได้ และบางครั้งอาจปวดจนแม้แต่โดนลมผ่านหัวแม่เท้าก็จะเจ็บเสียวขึ้นมามาก อาจมีไข้สูง และอาการไม่สบายอื่นๆ ที่สืบเนื่องมาจากการปวด

อาการแบบนี้มักเกิดจากการปวดข้อแบบเก๊าต์เฉียบพลัน (acute gouty arthritis) ไปตกตะกอนในข้อ ทำให้ข้ออักเสบ

เนื่องจากคนไข้ที่ปวดเก๊าต์แบบเฉียบพลันนี้ มักจะปวดมากและมักจะเป็นเวลากลางคืนจึงมาหาหมอลำบาก ผู้ใกล้ชิดอาจจะให้การตรวจรักษาดังนี้
1. ให้คนไข้นอนพัก ยกเท้าข้างที่ปวดให้สูงกว่าเข่า
2. ให้กินยาอินโดเมทาซิน (indomethacin) เม็ดละ 50 สตางค์ ครั้งละ 2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง จนอาการดีขึ้น (อาการจะดีขึ้นภายใน 1-2 วัน) แล้วลดยาลงเหลือครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้า-กลางวัน-เย็น เมื่ออาการหายสนิทให้หยุดยา

เนื่องจากยาอินโดเมทาซิน เป็นยาที่ระคายกระเพาะอาหารมาก จึงควรกินยาหลังอาหารทันที และควรกินยาลดกรด ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ 1-2 ชั่วโมงหลังอาหารทุกมื้อและก่อนนอน และเวลาที่ปวดท้อง โดยเฉพาะในคนที่ชอบปวดท้องเวลาหิวหรือเวลาอิ่ม

ในคนที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารโดยเฉพาะ ถ้าเคยอาเจียนหรืออุจจาระเป็นเลือด ไม่ควรจะใช้ยานี้ ควรจะใช้ยาโคลซีซีน (colchicine) แทน ให้กินยาโคลซีซีนเม็ดละ 5.60 บาท 1 เม็ด ทุก 1 ชั่วโมง จนเกิดอาการท้องเดิน หรือคลื่นไส้อาเจียน หรือไม่เกิน 6 เม็ด อาการปวดข้อมักจะดีขึ้นใน 24 ชั่วโมง วันต่อไปให้กินครั้งละ 1 เม็ดหลังอาหารวันละ 2-3 ครั้ง เมื่ออาการปวดเก๊าต์นี้หายเรียบร้อยแล้ว อาจจะกินยาวันละครึ่งถึง 1 เม็ด เพื่อป้องกันอาการปวดเก๊าต์แบบเฉียบพลันได้

3. ควรให้ไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาปริมาณกรดยูริกในเลือด ถ้ากรดยูริกในเลือดสูงมาก อาจต้องกิน
3.1 ยาลดการสร้างกรดยูริก คือ อัลโลพูรีนอล (allopurinol) หรือ
3.2 ยาขับกรดยูริก คือโพรเบเนซิค (probenecid) ซึ่งไม่ควรใช้ในผู้ที่เป็นโรคไต หรือขับกรดยูริกออกทางไต (ทางปัสสาวะ) มากอยู่แล้ว เพราะกรดยูริกอาจตกผลึกในไต ทำให้ไตพิการได้
3.3 ยาทำให้ปัสสาวะเป็นด่าง คือ โซเดียมไบคาร์บอเนต หรือโซดามินท์ เพื่อช่วยละลายกรดยูริกที่ขับออกทางไต ทำให้ไตพิการจากกรดยูริกน้อยลง