Wednesday, January 27, 2010

การแพ้ยาข้ามกันในกลุ่มยากันชัก

• ยากลุ่มกันชัก
- พบการแพ้ข้ามกัน (Cross Reactivity) ในกลุ่มยากันชักที่มี Aromatic ring เป็นองค์ประกอบถึง 75%
- ยากันชักที่มี Aromatic ring ในโครงสร้าง ได้แก่ Dilantin®, Tegretol®, Phenobarb®
สรุป
ถ้าผู้ป่วยมี Anticonvulsant Hypersensitivity Syndrome (AHS)เกิดขึ้นเนื่องจากยากันชักตัวใดตัวหนึ่งในกลุ่มที่มี Aromatic ring เป็นองค์ประกอบไม่ควรใช้ยาใดในกลุ่มนี้อีกเลย แต่มีรายงานการเกิด AHS จาก lamotrigine ด้วยเช่นกัน ดังนั้น ยากันชักที่น่าจะใช้ได้อย่างปลอดภัยในกรณีที่ผู้ป่วยเกิด AHS ได้แก่ Benzodiazepire, Valproic acid, Gabapentin, Topiramate

การแพ้ยาข้ามกลุ่มระหว่างยาNSAIDSและแอสไพริน

• ยากลุ่ม Salicylate และ NSAIDs
ยาในกลุ่มนี้อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้จริง (True Allergy) หรืออาจเป็นอาการทางคลินิกที่คล้ายคลึงกับปฏิกิริยาการแพ้แต่ไม่ใช่การแพ้ (Pseudoallergy) ก็ได้ ทั้งนี้เนื่องจากกลไกการเกิดไม่ได้ผ่านระบบภูมิคุ้มกัน
สรุป
1) กรณีที่ผู้ป่วยไม่มีประวัติโรคหืด หรือ โรค Chronic idiopathic urticaria (การเกิดภาวะที่เลวลงของผู้ที่เป็นโรคลมพิษเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ หลังได้รับยา Aspirin หรือ NSAIDs ที่มีฤทธิ์ยับยั้ง Cox-I) แต่มีประวัติเกิดอาการผื่นลมพิษ หรือ Angioedema จากยาในกลุ่ม NSAIDs หลายตัวที่มีโครงสร้าง
ไม่เหมือนกัน ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ควร ใช้ยาตัวใดในกลุ่มนี้อีกเลย กรณีที่จำเป็นต้องใช้ยา Aspirin ต้องให้โดยวิธี Desensitization กรณีที่ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องใช้ NSAIDs ควรใช้ยาในกลุ่มที่ยับยั้ง Cox-II
2) กรณีที่ผู้ป่วยมีประวัติเกิดอาการผื่นลมพิษ หรือ Angioedema จากยาเพียงตัวใดตัวหนึ่งในกลุ่ม แต่
ไม่แพ้ยาตัวอื่นๆ ในกลุ่มที่มีโครงสร้างไม่เหมือนกัน ผู้ป่วยกลุ่มนี้น่าจะสามารถใช้ NSAIDs ตัวอื่นที่โครงสร้างไม่เหมือนกับตัวที่ทำให้เกิดการแพ้ได้
3) กรณีที่ผู้ป่วยเกิดผื่นลมพิษ Angioedema หรือ Anaphylaxis จากยา NSAIDs ตัวใดตัวหนึ่งและผู้ป่วยไม่เคยมีประวัติการใช้ NSAIDs ตัวอื่นๆ อีกเลย ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ควรใช้ยาตัวใดในกลุ่มนี้อีกเลย กรณีที่จำเป็นต้องใช้ยา Aspirin ต้องให้โดยวิธี Desensitization กรณีที่ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องใช้ NSAIDs ควรให้ยาในกลุ่มที่ยับยั้ง Cox-II

ยาที่มี sulfonamide เป็นส่วนประกอบ

ได้แก่
1. กลุ่มยาต้านจุลชีพ ได้แก่ Cotrimoxazole®, Sulfadiazine®
2. กลุ่มยาที่ไม่เป็นยาต้านจุลชีพ ได้แก่ Diamox®, Minidiab®, Glucodiab®, HCTZ®, Furosemide®, Probenacid®, Salazopyrin®, Celebrex®, Nidol®
ความแตกต่างของยาทั้ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นยาต้านจุลชีพจะมีหมู่ Arylamine (NH2) อยู่ที่โครงสร้างยา ขณะที่กลุ่มที่ไม่เป็นยาต้านจุลชีพจะไม่มีหมู่ดังกล่าว พบว่าหมู่ Arylamine ในโครงสร้างยากระตุ้นให้เกิดการแพ้ยาได้
สรุป
ยา Sulfonamides ที่ไม่ใช่ยาต้านจุลชีพ ซึ่งไม่มีหมู่ Arylamine ในโครงสร้าง จึงมีโอกาสน้อยที่จะเกิดการแพ้ข้ามกัน ดังนั้น กรณีที่ผู้ป่วยแพ้ยาต้านจุลชีพกลุ่ม Sulfonamides น่าจะสามารถใช้ยาในกลุ่ม Sulfonamides ที่ไม่ใช่ยาต้านจุลชีพได้ เช่น ถ้าผู้ป่วยแพ้ยาซัลฟา อาจจะยังใช้ยา celebrex ได้โดยไม่เกิดอาการแพ้

แพ้ penicillin ฉีด cef-3 ได้หรือไม่

วันนี้พยาบาลโทรมาถามว่าเคยเห็นหมอไม่ฉีด cef-3 ถ้ามีประวัติแพ้ยา เพนนิซิลลิน แต่หมอที่มาใหม่คนนี้ให้ฉีด เลยไม่แน่ใจ
ก็เลยไปค้นข้อมูลได้ดังนี้

กลุ่มยาที่มีข้อมูลการศึกษาในเรื่อง การแพ้ยาข้ามกัน (Cross reactivity)

กลุ่มยาที่มีข้อมูลการศึกษาในเรื่อง การแพ้ยาข้ามกัน (Cross reactivity)มากที่สุด ได้แก่
• ยาในกลุ่ม Beta-lactam คือ
1. ยากลุ่ม Penicillin ได้แก่ Ampicillin®, Pen V®, Amoxycillin®, Cloxacillin®, Dicloxacillin®, PGS®, Tazocin®, Auqmentin®, Unasyn® , Sulam® , Curam®, Cavumox®
2. ยากลุ่ม Cephalosporin ได้แก่ Zeplex®, Zinacef® ,Zinnat® , Cef-3®, Zefa®, Claraxim®, Zeftam®, Omnicef®, Maxipime®, Meiact®, Sulcef®, Sulperazon®
3. กลุ่ม Carbapenem ได้แก่ Tienam®, Meronem®, Invanz®
สรุป
1) กรณีผู้ป่วยแพ้ยากลุ่ม Beta-Lactam ตัวใดตัวหนึ่งโดยเกิดอาการที่ไม่รุนแรง เช่น การเกิดผื่นที่ไม่ใช่ผื่นลมพิษ โดยอาจเป็นแบบ maculopapular rash หรือ Erythrematous rash และกลไกการแพ้ยาไม่น่าจะเกิดจากการสร้าง IgE Antibody สามารถใช้ยาตัวอื่นในกลุ่มได้ โอกาสแพ้ยาข้ามกันมีไม่มาก
2) กรณีผู้ป่วยแพ้ยากลุ่ม Beta-Lactam โดยเกิด Anaphylaxis หรืออาการแสดงของการแพ้ยาที่มีกลไกการเกิดผ่านการสร้าง IgE Antibody เช่น การเกิดผื่นลมพิษ, การเกิดการตีบของหลอดลม หรือ ความดันโลหิตต่ำ ผู้ป่วยที่มีการแพ้ยาลักษณะนี้ไม่ควรใช้ยาตัวอื่นๆ ในกลุ่ม Beta-Lactam แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาในกลุ่ม Beta-Lactam ควรให้ยาโดยวิธี Desensitization และทำภายใต้การดูแลของแพทย์