albendazoleเป็นยาในกลุ่มcategory c (ระวังในหญิงตั้งครรภ์)
ประเภทยา มี 2 แบบ คือ
ชนิดเม็ด ขนาด 200 มก.
ชนิดน้ำขนาด 200 มก.ต่อช้อนชา
มีชื่อทางการค้า เช่น อัลเบน (Alben), อัลซอล (Alzol), ซีเบน (Zeben), เซนเทล (Zentel)
ขนาดและวิธีใช้
1.รักษา พยาธิไส้เดือน เส้นด้าย ปากขอ แส้ม้า
ผู้ใหญ่ และเด็กอายุมากกว่า 2 ปี ทานครั้งละ 2 เม็ด (2 ช้อนชา) ครั้งเดียว
เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ทานครั้งละ 1 ช้อนชา ครั้งเดียว
ชนิดเม็ด อาจใช้วิธีบดผสมน้ำ หรือเคี้ยวก่อนกลืน หรือกลืนทั้งเม็ดก็ได้
2. รกษาพยาธิตัวตืด ใช้ขนาดเดียวกัน วันละครั้ง 3 วันติดต่อกัน อีก 10-21 วันต่อมา กินซ้ำอีกชุด
3.รักษา พยาธิตัวจี๊ด ผู้ใหญ่ ทานครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง นาน 14-21 วัน
4. รักษาพยาธิใบไม้ในตับ ผู้ใหญ่ ทานครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง นาน 7 วัน
ผลข้างเคียงของยา albendazole คิอ
ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ปวดมวนท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน หรือแพ้ยา
ข้อควรระวังของยาalbendazole คิอ
1. มีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย บางคนอาจมีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ปวดมวนท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน
2. ถ้าใช้นานวัน อาจทำให้ตับอักเสบ หรือผมร่วง เมื่อหยุดยาก็จะดีขึ้น
3. ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ คนที่เป็นตับอักเสบ หรือมีประวัติแพ้ยานี้
ข้อห้ามใช้ของalbendazole คือ
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ คนที่เป็นตับอักเสบ หรือมีประวัติแพ้
NICLOSAMIDE อยู่กลุ่ม CATEGORY B
ชื่อการค้าที่มีจำหน่าย คือ โยเมซาน (Yomesan)
รูปแบบยาที่มีจำหน่าย คือยาเม็ดขนาด 500 มิลลิกรัม
ยานี้ใช้รักษาโรค พยาธิตืดวัว พยาธิตืดหมู พยาธิตืดปลา
ขนาดใช้ยาในเด็ก
อายุต่ำกว่า 2 ปี : รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ครั้งเดียว
อายุ 2-6 ปี : รับประทานครั้งละ 2 เม็ดครั้งเดียว
ขนาดใช้ยาในเด็กอายุมากกว่า 6 ปีและผู้ใหญ่
รับประทานครั้งละ 4 เม็ด ครั้งเดียว
ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของยานี้มีอะไรบ้าง
ยานี้อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอน ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย หากมีอาการเหล่านี้รุนแรงหรือติดต่อกันเป็นระยะเวลานานควรปรึกษาแพทย์
ข้อควรระวังในการใช้ยาniclosamide คือ
หลังจากรับประทานยานี้แล้ว 2 ชั่วโมง ให้รับประทานยาระบายตามเข้าไปเพื่อถ่ายพยาธิและไข่พยาธิออกให้หมด
ไม่ควรรับประทานยานี้ร่วมกับการดื่มเครื่องดื่มพวกแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์
ควรเก็บยานี้อย่างไร
เก็บยาให้พ้นมือเด็ก
ไม่เก็บยาในที่ที่ถูกความร้อนหรือแสงโดยตรง
ไม่เก็บยาในที่ที่มีความชื้น
ไม่ควรเก็บยาที่หมดอายุหรือเก็บยาที่ไม่ได้ใช้แล้ว
คำแนะนำพิเศษในการใช้ยานี้
ควรรับประทานอาหารที่สุกสะอาด และควรระมัดระวังในการเลือกซื้อเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อปลา
กรณีหญิงตั้งครรภ์ เป็นพยาธิตัวตืด ให้ใช้ Niclosamide ในขณะตั้งครรภ์เพื่อรักษา T.solium (พยาธิตืดหมู)ได้เพราะเป็นความเจ็บป่วยที่ต้องรักษาทันที
ส่วนการใช้กรณีอื่น ๆ ควรพิจารณาความจำเป็นต้องใช้ เพราะแม้จะไม่พบว่ายาทำให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่เนื่องจากมีข้อมูลจำกัด จึงอาจต้องรอผลการศึกษายืนยันความปลอดภัยเพิ่มเติมต่อไป
เว๊ปนี้เกิดจากตอนทำงานเป็นเภสัชกรในคลีนิค 30 บาทและประกันสังคม ได้เจอเรื่องต่าง ๆ มากมาย จึงนำมาถ่ายทอดแบบเล่าเรื่องให้ฟัง บางเรื่องก็แทรกวิชาการ
Wednesday, April 28, 2010
Wednesday, April 21, 2010
ใส่สาย NG tube ง่ายดาย
ใส่ สาย NG Tube ง่ายดายด้วยไอเดียนักคิดแห่งหอผู้ป่วยอัษฎางค์ 10 เหนือ
“ โอ้ย ไม่เอาแล้วค่ะหมอ ทรมานเหลือเกิน อูย ” เสียงโอดครวญของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ Nasogastric (NG) Tube คงจะมีให้ได้ยินอยู่เกือบทุกครั้งที่มีการใส่ ซึ่งสะกิดใจให้ทีมแพทย์และพยาบาล “ นักคิดแห่งหอผู้ป่วยอัษฎางค์ 10 เหนือ ” นำประเด็นความทุกข์ทรมานจากผู้ป่วยมาช่วยกันคิดหาวิธีแก้ไขพัฒนา จากการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
ทีมดูแลผู้ป่วย สังเกต เห็นว่าการใส่ NG Tube ดั้งเดิมที่มีเพียงการใช้ยาชาหล่อลื่นสายเพียงอย่างเดียว ผู้ป่วยมีความเจ็บปวดค่อนข้างมาก ทำให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีและไม่อยากใส่ NG Tube อีกต่อไป
คณะพยาบาลประจำหอผู้ป่วยอัษฎางค์ 10 เหนือจึงนำปัญหานี้ไปปรึกษากัน และจากการทบทวนหลักฐานที่มีอยู่ พบว่าการใส่ NG Tube นั้นมีวิธีบรรเทาความเจ็บปวดหลากหลายวิธี แต่มีความยุ่งยาก ไม่สะดวกหลายประการ จึงคิดวิธีที่สามารถปฏิบัติได้ง่าย และเกิดเป็นโครงการวิจัยร่วมกัน “ ประสิทธิภาพของการใช้ยาชาพ่นเฉพาะที่ก่อนการใส่ Nasogastric Tube เทียบกับการใช้ยาชาหล่อลื่นสายเพียงอย่างเดียว ”
การศึกษานี้ คณะผู้ศึกษาได้ออกแบบ randomized controlled, double blinded study เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการลดความเจ็บปวดจากการใส่ NG Tube โดยใช้ 10% lidocaine spray พ่นทั้งจมูกและคอ ร่วมกับใช้ 2% lidocaine jelly หล่อลื่นสายซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก เปรียบเทียบกับการใช้ 2% lidocaine jelly หล่อลื่นสายเพียงอย่างเดียวซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
ทำการศึกษาในกลุ่มประชากรผู้ป่วยหอผู้ป่วยสามัญอายุรศาสตร์ สุ่มแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม ได้รับการลดความเจ็บปวดต่างกัน รวมเป็น 60 คน แล้วประเมินจากความเจ็บปวด ความยากง่ายในการใส่ NG Tube ภาวะแทรกซ้อน และความพึงพอใจของผู้ป่วยและแพทย์ในการใช้วิธีลดความเจ็บปวดแต่ละวิธี
จากผลการวิจัย พบว่า การใช้ lidocaine spray ร่วมกับ lidocaine jelly มีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้ lidocaine jelly อย่างเดียวในการลดความเจ็บปวดจากการใส่ NG Tube ทั้งยังเพิ่มความพึงพอใจของแพทย์ โดยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนใดๆเพิ่มขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยชิ้นนี้ มีคุณค่ามหาศาล ผู้ป่วยจะไม่ทุกข์ทรมานจากการใส่ NG Tube สามารถทำหัตถการได้สะดวกมากขึ้น และยังได้รับรางวัลชนะเลิศสาขา Clinical Research จากงานประชุมวิชาการกรมการแพทย์ประจำปี 2550 สิ่งที่ยืนยันคุณค่าที่ทีมวิจัยได้รับจากการทำงานนี้ คือคำประทับใจของ ผศ.นพ.สุพจน์ พงศ์ประสบชัย (หัวหน้าโครงการ) ได้กล่าวไว้ว่า “ ให้มองเรื่องที่ใกล้ตัว ทำงานวิจัยไม่ต้องใหญ่ ทำเล็กๆ ทำพอเพียง สไตล์ไทยๆ แบบเศรษฐกิจพอเพียง ไม่เน้นเทคโนโลยีราคาแพง แต่ฝีมือการทำเป็นระดับ International ได้ แล้วผลก็กลับมาหาคนไข้ของเรา งานวิจัยแบบ R2R เป็นงานที่ตอบสนองคนไข้ไทยมากที่สุด ”
“ โอ้ย ไม่เอาแล้วค่ะหมอ ทรมานเหลือเกิน อูย ” เสียงโอดครวญของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ Nasogastric (NG) Tube คงจะมีให้ได้ยินอยู่เกือบทุกครั้งที่มีการใส่ ซึ่งสะกิดใจให้ทีมแพทย์และพยาบาล “ นักคิดแห่งหอผู้ป่วยอัษฎางค์ 10 เหนือ ” นำประเด็นความทุกข์ทรมานจากผู้ป่วยมาช่วยกันคิดหาวิธีแก้ไขพัฒนา จากการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
ทีมดูแลผู้ป่วย สังเกต เห็นว่าการใส่ NG Tube ดั้งเดิมที่มีเพียงการใช้ยาชาหล่อลื่นสายเพียงอย่างเดียว ผู้ป่วยมีความเจ็บปวดค่อนข้างมาก ทำให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีและไม่อยากใส่ NG Tube อีกต่อไป
คณะพยาบาลประจำหอผู้ป่วยอัษฎางค์ 10 เหนือจึงนำปัญหานี้ไปปรึกษากัน และจากการทบทวนหลักฐานที่มีอยู่ พบว่าการใส่ NG Tube นั้นมีวิธีบรรเทาความเจ็บปวดหลากหลายวิธี แต่มีความยุ่งยาก ไม่สะดวกหลายประการ จึงคิดวิธีที่สามารถปฏิบัติได้ง่าย และเกิดเป็นโครงการวิจัยร่วมกัน “ ประสิทธิภาพของการใช้ยาชาพ่นเฉพาะที่ก่อนการใส่ Nasogastric Tube เทียบกับการใช้ยาชาหล่อลื่นสายเพียงอย่างเดียว ”
การศึกษานี้ คณะผู้ศึกษาได้ออกแบบ randomized controlled, double blinded study เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการลดความเจ็บปวดจากการใส่ NG Tube โดยใช้ 10% lidocaine spray พ่นทั้งจมูกและคอ ร่วมกับใช้ 2% lidocaine jelly หล่อลื่นสายซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก เปรียบเทียบกับการใช้ 2% lidocaine jelly หล่อลื่นสายเพียงอย่างเดียวซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
ทำการศึกษาในกลุ่มประชากรผู้ป่วยหอผู้ป่วยสามัญอายุรศาสตร์ สุ่มแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม ได้รับการลดความเจ็บปวดต่างกัน รวมเป็น 60 คน แล้วประเมินจากความเจ็บปวด ความยากง่ายในการใส่ NG Tube ภาวะแทรกซ้อน และความพึงพอใจของผู้ป่วยและแพทย์ในการใช้วิธีลดความเจ็บปวดแต่ละวิธี
จากผลการวิจัย พบว่า การใช้ lidocaine spray ร่วมกับ lidocaine jelly มีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้ lidocaine jelly อย่างเดียวในการลดความเจ็บปวดจากการใส่ NG Tube ทั้งยังเพิ่มความพึงพอใจของแพทย์ โดยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนใดๆเพิ่มขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยชิ้นนี้ มีคุณค่ามหาศาล ผู้ป่วยจะไม่ทุกข์ทรมานจากการใส่ NG Tube สามารถทำหัตถการได้สะดวกมากขึ้น และยังได้รับรางวัลชนะเลิศสาขา Clinical Research จากงานประชุมวิชาการกรมการแพทย์ประจำปี 2550 สิ่งที่ยืนยันคุณค่าที่ทีมวิจัยได้รับจากการทำงานนี้ คือคำประทับใจของ ผศ.นพ.สุพจน์ พงศ์ประสบชัย (หัวหน้าโครงการ) ได้กล่าวไว้ว่า “ ให้มองเรื่องที่ใกล้ตัว ทำงานวิจัยไม่ต้องใหญ่ ทำเล็กๆ ทำพอเพียง สไตล์ไทยๆ แบบเศรษฐกิจพอเพียง ไม่เน้นเทคโนโลยีราคาแพง แต่ฝีมือการทำเป็นระดับ International ได้ แล้วผลก็กลับมาหาคนไข้ของเรา งานวิจัยแบบ R2R เป็นงานที่ตอบสนองคนไข้ไทยมากที่สุด ”
Subscribe to:
Posts (Atom)