มีญาติมาบ่นให้ฟังว่าเวลาไปหาหมอที่ร.พ.เอกชนแบบเสียเงินเอง หมอจะให้ตรวจหลายอย่าง เช่นเจาะเลือด ส่งเอ๊กซเรย์ ฯลฯ ทั้งที่ตัวเองคิดว่ามีอาการไม่มากเท่าไหร่ บางทีก็ให้นอนโรงพยาบาลเพื่อให้ยา, น้ำเกลือ ด้วย ซึ่งค่าใช้จ่ายสูงมาก ไม่เหมือนเวลาไปหาหมอที่ใช้สิทธิ์ประกันสังคม จะตรวจแล้วก็สั่งจ่ายยาให้กลับบ้านเลย เรื่องเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยเกิดหวาดระแวงกับการรักษาของหมอว่าจะไว้เนื้อเชื่อใจคุณหมอได้ยังไง
วันนี้จึงเอาบทความของหมอชาวบ้าน post โดย Somsak เขียนเรื่อง"ความพอดี"ในการรักษาพยาบาลมาให้อ่านดู อาจทำให้เข้าใจการรักษาของหมอดีขึ้น
----------------------------------------------------------
ความพอดีในแง่มุมของแพทย์กับผู้ป่วย
เป็นสิ่งที่อยู่ตรงกลางระหว่างความไว้เนื้อเชื่อใจกับความหวาดระแวง ทั้ง ๒ เรื่องถ้ามีมากเกินไปก็ไม่ดี
เรียกว่า เชื่อได้แต่ก็อย่าชะล่าใจ และ ระวังไว้ก็ดีแต่อย่าให้ถึงขั้นหวาดระแวง
ในการตรวจรักษา ถือเป็นบริการที่ผู้ป่วยมาขอให้แพทย์ใช้วิชาความรู้ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาสุขภาพ บางครั้งปัญหาก็เป็นเรื่องง่ายๆ แก้ไขด้วยตัวเองได้ แต่ผู้ป่วยกังวลก็มาพึ่งแพทย์ ถ้าแพทย์เห็นว่าเป็นเรื่องง่ายๆ ใช้เวลาอธิบายแนะนำก็จบ แต่ถ้าเมื่อใดแพทย์เกิดระแวงว่าจะเป็นอย่างอื่นหรือกลัวพลาดก็จะต้องวินิจฉัยรักษากันมากมาย
ยิ่งสมัยนี้มีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย บางครั้งเป็นเงินหลายล้านบาท เรียกว่าแพทย์ทำงานกันจนตายก็ยังหามาจ่ายให้ไม่หมด ทำให้หมอระแวงมากขึ้น ยิ่งระแวงมากก็ยิ่งรอบคอบมาก ค่าใช้จ่ายในการตรวจรักษาก็จะมากขึ้น เสียเวลามากขึ้น และยังเสี่ยงมากขึ้นด้วย
อาการไม่สบายที่เกิดขึ้นกับร่างกายเรา เกือบทุกอาการมีสาเหตุหลายอย่าง บางอย่างก็เป็นเรื่องเล็กน้อย หายได้เอง แต่บางอย่างก็เป็นเรื่องร้ายแรงต้องให้การรักษาโดยแพทย์
ถ้าจะพูดถึงอาการอย่างหนึ่ง สามารถสงสัยได้ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยไปจนถึงโรคร้ายแรงได้ เช่น
ในการตรวจรักษา ถือเป็นบริการที่ผู้ป่วยมาขอให้แพทย์ใช้วิชาความรู้ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาสุขภาพ บางครั้งปัญหาก็เป็นเรื่องง่ายๆ แก้ไขด้วยตัวเองได้ แต่ผู้ป่วยกังวลก็มาพึ่งแพทย์ ถ้าแพทย์เห็นว่าเป็นเรื่องง่ายๆ ใช้เวลาอธิบายแนะนำก็จบ แต่ถ้าเมื่อใดแพทย์เกิดระแวงว่าจะเป็นอย่างอื่นหรือกลัวพลาดก็จะต้องวินิจฉัยรักษากันมากมาย
ยิ่งสมัยนี้มีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย บางครั้งเป็นเงินหลายล้านบาท เรียกว่าแพทย์ทำงานกันจนตายก็ยังหามาจ่ายให้ไม่หมด ทำให้หมอระแวงมากขึ้น ยิ่งระแวงมากก็ยิ่งรอบคอบมาก ค่าใช้จ่ายในการตรวจรักษาก็จะมากขึ้น เสียเวลามากขึ้น และยังเสี่ยงมากขึ้นด้วย
อาการไม่สบายที่เกิดขึ้นกับร่างกายเรา เกือบทุกอาการมีสาเหตุหลายอย่าง บางอย่างก็เป็นเรื่องเล็กน้อย หายได้เอง แต่บางอย่างก็เป็นเรื่องร้ายแรงต้องให้การรักษาโดยแพทย์
ถ้าจะพูดถึงอาการอย่างหนึ่ง สามารถสงสัยได้ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยไปจนถึงโรคร้ายแรงได้ เช่น
► ปวดหัว อาจเกิดจาก ความเครียด ไมเกรน เส้นประสาทตาอักเสบ
หรือเนื้องอกในสมอง
► มีน้ำมูก อาจเกิดจาก ภูมิแพ้ หรือมะเร็งของไซนัส
► เจ็บคอ อาจเกิดจาก คออักเสบ หรือมะเร็งในคอ
► ไอ อาจเกิดจาก หวัดธรรมดา หรือมะเร็งปอด
► เจ็บหน้าอก อาจเกิดจาก กล้ามเนื้อเคล็ด หรือหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
► แน่นท้อง อาจเกิดจาก ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย หรือมะเร็งในช่องท้อง
► ตกขาว อาจเกิดจาก ช่องคลอดอักเสบ หรือมะเร็งปากมดลูก
จากตัวอย่างเพียงบางส่วน
จะเห็นได้ว่า ถ้าระแวงและต้องการตรวจกันให้ละเอียดรอบคอบเพื่อกันพลาดแล้ว
ผู้ป่วยที่ไปพบแพทย์ทุกรายจะต้องถูกตรวจหลายอย่างมาก
และต้องยอมเสียทั้งเงินทั้งเวลา
และต้องยอมรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการตรวจพิเศษต่างๆ ด้วย
ดังนั้น อย่ากลัวจนเกินเหตุ หัดแยกแยะอาการและสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น กรณีปวดหัว
ดังนั้น อย่ากลัวจนเกินเหตุ หัดแยกแยะอาการและสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น กรณีปวดหัว
ถ้าปวดหัวเรื้อรังมาเป็นเดือนเป็นปีมักจะไม่ใช่โรคร้ายแรง
บางคนอาจเกิดจากความเครียด สามารถหายเองได้ อาจใช้การนวดกดจุด
หรือใช้ยาบรรเทาปวดธรรมดา บางคนปวดหัวข้างเดียว เป็นๆ หายๆ
บางครั้งมีคลื่นไส้อาเจียน ตาพร่า บ่งว่าเป็นไมเกรน ให้กินยารักษาไมเกรน
บางรายปวดกระบอกตาร่วมด้วยให้ไปพบแพทย์ อาจเป็นต้อหินหรือเส้นประสาทตาอักเสบ
ถ้าปวดหัวเฉียบพลัน รุนแรง มีอาการอื่นร่วม เช่น อาเจียน สับสน ซึม ชา ชัก อัมพาต ต้องรีบไปพบแพทย์ แสดงว่ามีความผิดปกติของสมอง (บางคนมีแค่อาการปวดหัวก็กลัวเป็นเนื้องอกในสมองเสียแล้ว พอกลัวมากไปก็เลยเครียดและถูกตรวจวินิจฉัยมากมาย)
บางคนไปพบแพทย์ชอบบอกเล่าอาการทุกอย่างแบบสะเปะสะปะ ที่จริงแล้วแพทย์ก็เหมือนนักสืบ บางคนใจเย็นหน่อยก็พยายามซักถาม ต้อนให้ตรงจุด บางคนมีเวลาน้อย ไม่ชอบอธิบายหรือขี้ระแวง ก็ส่งตรวจหลายๆ อย่างให้ครอบคลุมทุกอาการตามที่ผู้ป่วยบอก แถมด้วยยาอีกสารพัดอย่างตามอาการที่ผู้ป่วยบ่นให้ฟัง กลายเป็นว่ายิ่งบอกหมดทุกเรื่องก็อาจจะเป็นเรื่อง ดังนั้นเอาให้ตรงประเด็นทั้ง ๒ ฝ่ายจะดีกว่า
หลายครั้งพบว่า การที่แพทย์ต้องตรวจวินิจฉัยมากมายก็เพราะตัวผู้ป่วยเองวิตกกังวลมาก กลัวจะเป็นโรคนั้นโรคนี้ หรือเป็นโรคที่ร้ายแรง จึงต้องตรวจเพื่อความสบายใจ และบางครั้งแพทย์เองก็กลัวว่าจะมีความผิดปกติหรือเผื่อว่าจะเจอความผิดปกติ เลยต้องให้สบายใจกันทั้งคู่
มีอีกตัวอย่างหนึ่งคือ ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นท้องบ่อยๆ เวลากินอาหารผิดเวลา กินมากไป เร็วไป หรือกินอาหารที่ย่อยยาก เรียกว่า ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย พบได้บ่อย แต่แพทย์จะตรวจวินิจฉัยมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละคน บางคนอาจจะแค่ซักถามอาการ ตรวจร่างกายอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วจัดยาให้ บางคนก็ตรวจทางห้องปฏิบัติการบางอย่าง เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะและอุจจาระ บางคนอาจตรวจเอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และส่องกล้องตรวจดูทั้งใส่เข้าไปทางปาก และทางทวารหนัก ซึ่งไม่สามารถกำหนดได้ว่าความพอดีอยู่ตรงไหน
ถ้าปวดหัวเฉียบพลัน รุนแรง มีอาการอื่นร่วม เช่น อาเจียน สับสน ซึม ชา ชัก อัมพาต ต้องรีบไปพบแพทย์ แสดงว่ามีความผิดปกติของสมอง (บางคนมีแค่อาการปวดหัวก็กลัวเป็นเนื้องอกในสมองเสียแล้ว พอกลัวมากไปก็เลยเครียดและถูกตรวจวินิจฉัยมากมาย)
บางคนไปพบแพทย์ชอบบอกเล่าอาการทุกอย่างแบบสะเปะสะปะ ที่จริงแล้วแพทย์ก็เหมือนนักสืบ บางคนใจเย็นหน่อยก็พยายามซักถาม ต้อนให้ตรงจุด บางคนมีเวลาน้อย ไม่ชอบอธิบายหรือขี้ระแวง ก็ส่งตรวจหลายๆ อย่างให้ครอบคลุมทุกอาการตามที่ผู้ป่วยบอก แถมด้วยยาอีกสารพัดอย่างตามอาการที่ผู้ป่วยบ่นให้ฟัง กลายเป็นว่ายิ่งบอกหมดทุกเรื่องก็อาจจะเป็นเรื่อง ดังนั้นเอาให้ตรงประเด็นทั้ง ๒ ฝ่ายจะดีกว่า
หลายครั้งพบว่า การที่แพทย์ต้องตรวจวินิจฉัยมากมายก็เพราะตัวผู้ป่วยเองวิตกกังวลมาก กลัวจะเป็นโรคนั้นโรคนี้ หรือเป็นโรคที่ร้ายแรง จึงต้องตรวจเพื่อความสบายใจ และบางครั้งแพทย์เองก็กลัวว่าจะมีความผิดปกติหรือเผื่อว่าจะเจอความผิดปกติ เลยต้องให้สบายใจกันทั้งคู่
มีอีกตัวอย่างหนึ่งคือ ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นท้องบ่อยๆ เวลากินอาหารผิดเวลา กินมากไป เร็วไป หรือกินอาหารที่ย่อยยาก เรียกว่า ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย พบได้บ่อย แต่แพทย์จะตรวจวินิจฉัยมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละคน บางคนอาจจะแค่ซักถามอาการ ตรวจร่างกายอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วจัดยาให้ บางคนก็ตรวจทางห้องปฏิบัติการบางอย่าง เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะและอุจจาระ บางคนอาจตรวจเอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และส่องกล้องตรวจดูทั้งใส่เข้าไปทางปาก และทางทวารหนัก ซึ่งไม่สามารถกำหนดได้ว่าความพอดีอยู่ตรงไหน
ไม่มีใครบอกได้แน่นอนว่า
การตรวจวินิจฉัยต่างๆ มากมายนั้น แพทย์ทำเพื่อผู้ป่วย เพื่อตนเอง
หรือเพื่อลดโอกาสความผิดพลาด