Tuesday, June 22, 2010

TRIFLOW คือ อะไร

วันนี้ คนไข้นำใบสั่งยาจากร.พ.รัฐมาเบิกยาที่คลีนิค 30 บาทตามสิทธิ์แพทย์สั่ง triflow 3 ลูก 1 ชุด ตอนแรกนึกว่าเป็นยาทาแผลที่ชื่อ intrasite gel เพราะมีลักษณะเป็นลูกข่างเรียกเป็นลูก ๆ เหมือนกัน พอมาค้นเน็ต จึงได้ข้อมูลว่าเป็นอุปกรณ์แพทย์ใช้วัดสมรรถภาพ ปอด ราคาประมาณ 344 บาท
ขอพูดเรื่อง triflow หน่อย อาจมีชื่อเรียกอย่างอื่นได้อีก เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการออกกำลังกายปอด คนไข้ผ่าตัดปอด หัวใจ จะรู้จักดี เป็นเพื่อนสนิทอยู่ข้างกายกันไปเป็นเดือน ทำจากพลาสติก ใสๆ สูง ประมาณ 5 นิ้วครึ่ง กว้างที่ฐานประมาณ 5 นิ้วกว่าๆ จากฐานขึ้นไปจะทำเป็นทรงกระบอกพลาสติกใสติดกัน 3 อัน แต่ไม่ต่อกัน แต่ละทรงกระบอกจะมี(เหมือน)ลูกปิงปองเล็กอยู่ 1 ลูก บนกระบอกจะปั๊มตัวหนังสือนูนไว้ว่า 600, 900, 1200 cc per sec ตามลำดับ ด้านซ้ายสุดของฐาน ก่อนทรงกระบอกแรกนะคะ จะมีท่อสั้นๆไม่เกิน 1 ฟุต ต่ออยู่ ปลายท่อมีที่เอาไว้ให้ดูด เป็นรูปปากเป็ด ส่วนอีกด้านจะต่อกับช่องเล็กๆที่เดินขึ้นไปตามแนวทรงกระบอก แล้วก็เลี้ยวไปตามด้านบนของทรงกระบอกทั้ง 3 โดยมีรูเจาะเข้าไปในทรงกระบอกแต่ละอัน

วิธีใช้ก็คือ หายใจเข้าทางปาก หรือสูดลมแรง ลึก ยาวพอที่จะทำให้ลูกปิงปองเล็กๆทั้ง 3 ลูก ลอยขึ้นไปค้างอยู่ด้านบนของทรงกระบอกทุกอันได้ ตัวเลขที่ระบุคือปริมาตรอากาศที่เราสูดเข้าไป ช่วงแรก เราจะยังไม่มีแรง บวกด้วยกลัวเจ็บ เสียว เหนื่อย และเหตุผล (ข้ออ้าง) อื่นๆ ลูกปิงปองก็อาจจะขึ้นเพียง 1 ลูก แล้วก็จะค่อยๆเป็น 2 ลูก และ 3 ลูกในที่สุด และจะนานขึ้น ต้องใช้ความพยายามมากทีเดียว

และ อย่าได้สูดติดต่อกันอย่างแรงหลายครั้ง อาจทำให้หน้ามืด วิงเวียนได้ แล้วถ้าอยากให้ขึ้น 3 ลูก ต้องตั้งใจ ระบายลมหายใจให้หมด ให้ท้องแฟบ แล้วหายใจเข้าลึกแรง ต้องอมที่ดูดไว้ อย่าให้มีช่องว่าง รับรองไม่กี่ครั้งก็ได้แล้ว แต่คุณหมอบอกว่าการที่ให้ลูกปิงปองขึ้น 2 ลูก แล้วค้างนานๆ ดีกว่าขึ้น 3ลูก แต่ไม่ค้างเลย เป็นการควบคุมการหายใจให่ได้สม่ำเสมอ และลึกเข้าไปในปอดได้ดีกว่า

Monday, June 21, 2010

น้ำเข้าหู แก้อย่างไร

ค้นจากในเน็ต มีหลายวิธี
๑. กระโดดหลาย ๆ ครั้ง
๒. หยอดน้ำมันพืชลงในหู ข้างที่มีแมลงเข้าไป ตะแคงหูข้างนั้นขึ้น แมลงจะสำลักน้ำมันตาย เมื่อแมลงหยุดเคลื่อนไหวแล้ว ทำความสะอาดหู
๓. ถ้าน้ำเข้าหูหรือวัตถุที่เป็นสิ่งไม่มีชีวิตเข้าหู ให้ตะแคงหูข้างนั้นลง ใช้นิ้วอุดหูให้แน่น แล้วดึงนิ้วออก แรงอัดลมจะพาให้น้ำหรือวัตถุไหลออกมา
๔. ถ้าปฏิบัติแล้ว ยังไม่ออก ให้รีบไปพบแพทย์

เห็บเข้าหูทำอย่างไร

วันนี้ แพทย์มาถามว่า ห้องยานอกจากมีน้ำมันมะกอกแล้วมีอะไรหยอดหูได้บ้าง เรานึกถึง ยาหยอดหู sodium bicarbonate และ กลีเซอรีน แพทย์ลองเอาน้ำมันมะกอกไปหยอดหูดู ปรากฏว่าตอนแรกเห็นเห็บและขี้เห็บ ตอนหลังหยอดหูเสร็จ ไม่เห็นตัวเห็บ เลยสงสัยว่ามันหายไปไหน
ไปค้นเน็ตดู เจอข้อมูลว่า
เมื่อแมลงเข้าไปในช่องหู มันไม่สามารถจะกลับตัวเดินหรือบินออกมาได้ เมื่อเดินหน้าเข้าไปเรื่อย ๆ จนไปถึงแก้วหู อาจใช้ปากกัดหรือขาตะกายที่เยื่อหู เพื่อมุ่งหน้าต่อไปอีก ทำให้เกิดอาการปวดหูมาก
จะแก้ได้ ก็ต้องยึดหลักที่ว่า ต้องทำให้แมลงหรือสัตว์นั้น ตายโดยเร็วที่สุด คือ หาน้ำมันที่มีความหนืดสูง ๆ และไวไฟน้อย ๆ เช่น น้ำมันพืช น้ำมันหมู กลีเซอรีน หรือ วาสลิน หยอดลงไป แมลงจะตายทันที อย่าใช้น้ำมันไวไฟ น้ำแอลกอฮอล์ น้ำส้ม ฯลฯ เพราะพวกนี้เมื่อหยอดลงไปและจะดิ้นก่อนมันจะตาย

Saturday, June 5, 2010

iv bolus หมายความว่าอะไร

im เป็นคำย่อของ intramuscular injection หมายความถึงการฉีดยาเข้าทางกล้ามเนื้อ
iv เป็นคำย่อของ intravenous injection หมายความถึงการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ
ถ้าเป็นการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำโดยตรง เรียกว่า iv push หรือ iv bolus ซึ่งสองคำนีใช้สลับไปสลับมา แต่บางแห่งเรียก iv push
ถ้ายาฉีดมีปริมาตรน้อย ไม่ต้องเจือจางกับสารน้ำ ถ้าเป็น iv bolus มักมีการเจือจางกับสารน้ำ ทำให้มีปริมาตรยาที่ฉีดมาก
นอกจากนี้ยังมีการให้ยาโดยการหยดเข้าหลอดเลือดดำ เรียกว่า iv drip หรือ infusion
drip เหมือน infusion คือให้ทีละหยด
Intermittent infusion หรือ short infusion เป็นการให้ทีละหยดนานประมาณ 30 นาที-1 ชั่วโมง แล้วหยุดจนกว่าจะให้ครั้งต่อไป เช่นการให้ยากลุ่ม aminoglycosides q 8 hr or OD แต่ทุกครั้งที่ให้ต้อง infuse (drip)

Continuous infusion เป็นการ infuse นาน ๆต่อเนื่องมากกว่า 3 half-lives ของยาเพื่อให้ยาเข้าสู่ภาวะ steady state

Push กับ bolus คล้ายกันเป็นการให้ยาเข้าหลอดเลือดแต่ละครั้งในช่วงเวลาสั้น ๆ ส่วนใหญ่จะน้อยกว่า 5 นาที

Friday, June 4, 2010

ยากลุ่ม ACEI และยากลุ่มARB

คำถาม:- ยากลุ่ม ACEI มีอะไรบ้าง และยากลุ่ม ARB เป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติหรือไม่

คำตอบ:- ยาลดความดันโลหิตมีหลายกลุ่ม เช่น
1.- ยาขับปัสสาวะ เช่นยาในกลุ่ม Thiazide ที่ให้ไตเพิ่มการขับโซเดียม ลดปริมาณเลือด และทำให้ความดันโลหิตลดลง มีอาการข้างเคียงทำให้การตอบสนองทางเพศลดลง
2.- ยาในกลุ่ม ACEi เช่นยา enalapril, captopril, lisinopril , ramipril ที่มีผลยับยั้งการสร้างฮอร์โมนแอนจิโอเทนซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือด เกิดการคั่งของโซเดียมในร่างกาย และทำให้เกิดการบวมน้ำ โดยมีอาการข้างเคียงทำให้เกิดผื่นแดง และทำให้ไอมาก แม้ว่ายาส่วนใหญ่จะขับออกทางไต แต่ก็มีรายงานว่ายาบางชนิดในกลุ่มนี้ทำอันตรายต่อตับด้วยเช่นกัน ยากลุ่มนี้บางตัวจะมีคุณสมบัติเป็น prodrug ซึ่งจะต้องถูกเปลี่ยนสภาพที่ตับก่อนจึงจะออกฤทธิ์ได้ แต่ถ้าผู้ป่วยมีภาวะตับทำงานบกพร่องยาตัวนั้นจะใช้ไม่ได้
ตัวที่ไม่ได้เป็น prodrug ได้แก่ captopril อย่างไรก็ดียากลุ่มนี้ เช่น captopril, enalapril และ lisinopril มีรายงานการเกิดตับอักเสบได้

3.- angiotensin II antagonists เช่นยา losartan ซึ่งมีข้อดีกว่ายาในกลุ่ม ACEi เนื่องจากไม่ทำให้เกิดอาการไอ และอื่นๆ แต่ก็ยังมีรายงานของการเกิดอาการปวดหัว ไอ มึนงง
4.- ยาที่ออกฤทธิ์ต่อสมอง เช่นยา Clonidine ทำให้สมองส่งสัญญาณไปกระตุ้นหลอดเลือดลดลง ทำให้หลอดเลือดคลายตัว ความดันเลือดลดลง โดยยาในกลุ่มนี้จะถูก metabolised ที่ตับ และถูกขับออกทางไต
5.- ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ adrenaline ทำให้เกิดการคลายตัวของหลอดเลือด
6.- ยาในกลุ่ม beta-blockers เช่น propanolol มีผลทำให้หัวใจบีบตัวส่งเลือดออกไปลดลง แต่ก็มีอาการข้างเคียงคือ สมรรถภาพทางเพศลดลง และเหนื่อยง่ายขณะออกกำลังกาย ส่วนการเปลี่ยนแปลงยานั้น จะถูก metabolised ที่ตับ จึงต้องใช้ยาอย่างระมัดระวังในผู้ป่วยโรคตับ
7.- ยาในกลุ่ม calcium channel blockers เช่น verapamil ยับยั้งการนำแคลเซียมเข้าสู่หลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดคลายตัว ความดันโลหิตลดลง แต่ก็ทำให้เกิดอาการข้างเคียงคือ ปวดหัว หน้าแดง เหงื่อออกมาก ท้องผูก ในผู้ป่วยโรคตับจะต้องลดขนาดการใช้ยาลง เนื่องจากถูก metabolised ที่ตับ
8.- ยาที่มีผลขยายหลอดเลือด เช่น minoxidil จะใช้ในกรณีที่ใช้ยาอื่นไม่ได้ผล อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นคือ อาจมีอาการบวมเกิดขึ้น และผมขึ้นผิดปกติ ส่วนการกำจัดยานั้น ตับจะเปลี่ยนรูปแบบยา และขับออกทางไต
9.-ยากลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มข้างบน ได้แก่HERBESSER, APRESOLINE, MINIPRESS, ISOMET

การใช้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดความดันโลหิต หรือยาในกลุ่ม ACEi ที่กล่าวถึง แม้ว่าจะไม่ได้มีผลต่อตับ แต่ก็มีข้อควรระวังสำหรับผู้ป่วยโรคตับเช่นกัน ในกรณีที่ใช้ในผู้ป่วยโรคตับ ก็ต้องลดขนาดการใช้ลง ซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์

อาการข้างเคียงที่พบในยาลดความดันโลหิต คือ
1.ยากลุ่มปิดกั้นแคลเซียม ได้แก่ยา Plendil, Norvasc, AdalatCR อาการข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ปวดศีรษะ, บวมที่ขา
2.ยากลุ่มปิดกั้นเอนไซม์ ACE (ACEI)ได้แก่ Enaril, Accupril, Tritace เป็นต้น อาการข้างเคียงที่สำคัญคือ อาการไอ
3.ยากลุ่ม ARB ได้แก่ Micardis, Cozaar, Diovan, Blopress กลุ่มนี้อาการข้างเคียงไม่ค่อยพบ
4.ยากลุ่มปิดกั้นเบต้า (Beta Blocker) ได้แก่ Concor, Tenormin, Betaloc, Inderal อาการข้างเคียงที่พบบ่อยคือ สมรรถภาพทางเพศลดลง, หัวใจเต้นช้า, อ่อนเพลีย
การแพ้ยาตัวหนึ่งอาจจะไม่ได้แพ้อีกตัวหนึ่ง ที่สำคัญมากที่คนมักเข้าใจผิดคือ คำว่า แพ้ยา กับ อาการข้างเคียงของยา ถ้าแพ้ยา(drug allergy)จะหมายถึง มีผื่นขึ้น หน้าบวม หอบหืด ต้องหยุดยา
..... ส่วนอาการข้างเคียงของยา(side effects) จะเป็นคล้ายๆกัน  ซึ่งทานยาต่อได้ถ้าอาการไม่มาก เช่น ไอไม่มากก็ทานยาต่อได้......

Wednesday, June 2, 2010

แพ้ PGS ถ้าใช้ Cef 3 ต้องทำ skin test ?

คำถาม:- ถ้าผู้ป่วยมีประวัติแพ้ penicillin แล้วต้องใช้ cef 3 จำเป็นต้องทำ skin test หรือไม่คะ พยาบาลมองในประเด็นป้องกันการถูกฟ้องร้อง อาจารย์ว่าจำเป็นมั้ยคะ จะได้กำหนดเป็นแนวทาง ขอบคุณค่ะ

คำตอบ  :- คือ การแพ้ penicillin ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าเป็น rash หรือ anaphylaxis ครับ เพราะมีสาเหตุต่างกัน และหากจะใช้ cephalosporins ในผู้ป่วยที่แพ้ penicillin คนละแบบ ความเสี่ยงก็ไม่เท่ากันครับ กล่าวคือถ้าแพ้แบบ rash ก็อาจไม่แพ้ cephalosporins ครับ เพราะอาจเป็นการแพ้ side chain ของยามากกว่าที่แพ้โครงสร้างหลักครับ

กล่าวโดยสรุปหากแพ้แบบ anaphylaxis ก็พิจารณาใช้ยาตัวอื่น ๆเถอะครับ หากจะทำ skin test ก็ไม่แนะนำ หากจะ desensitize แพทย์ต้องอยู่ครับ

การบริหารยาใด ๆ ก็ตาม หลักการสำคัญประการหนึ่งคือ ต้องให้ข้อมูลผู้ป่วยครับ โดยเฉพาะหากมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติการณ์ หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ครับการทำ skin test +ไม่ได้บอกว่าฉีดจริงจะแพ้เพราะมี false positive มาก จึงไม่ค่อยมีประโยชน์นัก
มียาอื่นให้เลือกหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเป็นต้องใช้ยานี้ ต้องเตรียมการช่วยชีวิตไว้ใกล้มือ เพราะอาจต้องทำถ้าผู้ป่วยเกิดแพ้ขึ้นมาจริงๆ เพราะถ้าเตรียมการดีจะช่วยผู้ป่วยได้ทันเวลา

จะ test ยาฉีด cephalosporin

วันนี้ พยาบาลมาถามว่าจะทำ skin test สำหรับยาฉีด cephalosporin ยังไง เพราะไม่ได้ทำตั้งนานแล้ว คนไข้มีประวัติแพ้ penicllin มาก่อน แต่ไม่รู้แพ้แบบรุนแรงแค่ไหน รู้แต่ว่ามีอาการผื่นคันตามตัว ก็เลยลองค้นในเน็ตดู ถ้าเป็น cephalosporin รุ่น 3 ไม่ต้อง test ก็ได้ เพราะไม่ค่อยแพ้ และการทำ skin test ไม่ค่อยแม่นยำเท่าไหร่ อาจได้ผลลบ แต่เวลาฉีดยาจริงแล้วอาจเกิดแพ้ก็ได้ ต้องระวังอยู่ดี

แล้วก็เจอบทความที่น่าสนใจ จึงนำมาอ่านดู
(1) อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากยา Ceftriaxone injection มีอะไรบ้าง
(2) จำเป็นต้องทำ skin test ในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยา ceftriaxone
หรือไม่
By…ภก.สุฟยาน ลาเต๊ะ, 01/10/2550

คำตอบสำหรับคำถามที่ 1)

โดยทั่วไปแล้วยา Ceftriaxone จัดเป็นยาที่ผู้ป่วยสามารถทนต่อยาได้ดี (well tolerated) ในการศึกษาทางคลินิก อาการไม่พึงประสงค์ต่อไปนี้ได้รับการพิจารณาแล้วว่าเกี่ยวข้องกับการให้ยา Ceftriaxone รวมทั้งอาการไม่พึงประสงค์บางอาการเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับการให้ยานี้เช่นกัน ที่รวบรวมมาได้ มีดังนี้
1. อาการไม่พึงประสงค์ต่อบริเวณที่ให้ยา (Local Reactions)
1.1 ปวด, เป็นก้อนแข็ง, ห้อเลือด และเจ็บปวดเมื่อสัมผัส (pain, indurable, echymosis, tenderness) พบ 1-2% ของอาการไม่พึงประสงค์ทั้งหมดต่อบริเวณที่ให้ยา
1.2 หลอดเลือดอักเสบ (Phlebitis) ได้รับรายงานประมาณ <1% หลังการให้โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (IV)
1.3 มีรายงานเกิดอาการร้อน ๆ ตึง ๆ หรือ เป็นก้อน ๆ แข็ง ๆ (warmth, tightness or induration) บริเวณที่ฉีดยา โดยพบ 17% ภายหลังการฉีดเข้า IM โดยใช้ยาที่มีความเข้มข้น 350 mg/ml และพบ 5% ภายหลังการฉีดแบบ IM โดยใช้ยาที่มีความเข้มข้น 250 mg/ml (ความเข้มข้นยิ่งสูง ยิ่งทำให้เกิดปัญหามากขึ้น)
2. อาการแพ้ยาหรือภูมิไวเกินต่อยา (Hypersensitivity)
2.1 ผื่น (rash ; erythematous, urticarial) ประมาณ 1.7%,
2.2 อาการแพ้หรือภาวะภูมิไวต่อเกินต่อยาอื่น ๆ ที่เกิดได้บ้าง (<1%) ได้แก่ อาการคัน, ไข้, หรือ หนาวสั่น (มีประสบการณ์ทางคลินิกระบุว่าอาการ chills หลังฉีด Ceftriaxone สามารถแก้ไขได้โดยการฉีด CPM ก่อนให้ยา Ceftriaxone ประมาณ 5-10 นาที)
3. อาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบเลือด (Hematologic)
3.1 เกิดภาวะ eosinophile มากผิดปกติ (eosinophilia) (6%), ภาวะ Thrombocyte หรือ blood platelet เพิ่มขึ้น (Thrombocytosis) (5.1%), ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (Leukopenia) (2.1%)
3.2 อาการอื่น ๆ ที่เกิดได้เล็กน้อย (<1%) ได้แก่ anemia, hemolytic anemia, neutropenia (ภาวะที่เลือดมี neutrocyte น้อยกว่าปกติ), จำนวนเกร็ดเลือดต่ำลง (thrombocytopenia), lymphopenia และ prothrombin time ยาวนานขึ้น
4. อาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal)
4.1 ท้องเสีย (2.7%)
4.2 คลื่นไส้ อาเจียน ความรู้สึกรับรสผิดปกติ ; (<1%)
4.3 อาจเกิด pseudomembranous colitis ระหว่างการให้ยาหรือภายหลังการหยุดยาแล้ว
5. อาการไม่พึงประสงค์ต่อตับ (Hepatic)
5.1 ระดับ SGOT หรือ SGPT สูงขึ้น (3.1% หรือ 3.3% ตามลำดับ)
5.2 ที่เกิดได้น้อย (<1%) อาจพบระดับ alkaline phosphatase และ bilirubin สูงขึ้น
6. อาการไม่พึงประสงค์ต่อไต (Renal)
6.1 ระดับ BUN สูงขึ้น (1.2%)
6.2 ที่เกิดได้น้อย (<1%) ได้แก่ ระดับ Creatinine สูงขึ้น และอาจพบ casts ในปัสสาวะ
7. อาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System)
7.1 มีรายงานการเกิดอาการปวดศีรษะ หรือ เวียนศีรษะบ้างเล็กน้อย (<1%)
8. อาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบอวัยวะสืบพันธุ์และอวัยวะขับถ่ายปัสสาวะ (Genitourinary)
8.1 มีรายงานเกิดการติดเชื้อ monilia (moniliasis) หรือ vaginitis (ประมาณ <1%)
9. อาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ที่มีรายงาน
9.1 เหงื่อไหล (diaphoresis) และรู้สึกหน้าแดง (flushing) (เกิดได้ประมาณ <1%)
9.2 ปวดท้อง
9.3 อาจเกิดหลอดลมบีบเกร็ง (Bronchospasm), serum sickness (ปฏิกิริยาภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง), anaphylaxis ประมาณ 0.1%
9.4 เกิดนิ่วในไต เนื่องจาก uric acid สูง
9.5 เลือดกำเดาไหล (epistaxis)
9.6 ท้องอืด
9.7 gallbladder sludge (ถุงน้ำดีขุ่นเหมือนสีโคลน)
9.8 ใจสั่น
9.9 ชัก



คำตอบสำหรับคำถามที่ 2)

เรื่องของ Skin test ยังคงเป็นข้อสงสัยกันในทางปฏิบัติ (ขณะที่เขียนนี้ผมได้เจอ website หนึ่งซึ่งเป็นCoP webbord ระบุว่าตอนนี้ที่ รพ.มอ. ไม่ทำ skin test แล้ว สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่http://medinfo.psu.ac.th/KM/copboard/view.php?No=155 เหตุผลคร่าว ๆ ที่จะเสนอมีดังนี้ครับ (ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ อ่านได้ใน WI-PHA-11 เรื่อง “การทำ skin test เมื่อสงสัยแพ้ยา” ของ รพ.ยะหริ่ง หรือค่อยหาเวลาจัดอบรมในอนาคตอันใกล้ครับ)
1. โดยทั่วไปไม่น่าจะต้องทำ skin test ในผู้ป่วยที่ไม่มีประวัติแพ้ penicillin เพราะมีโอกาสที่จะมี positive skin reaction เพียงร้อยละ 2 เท่านั้น (Gladde J et al JAMA 1993;270:2456-2463)
ถ้าผู้ป่วยมีประวัติแพ้ penicillin การทำ test ให้ผลบวกร้อยละ 7 ถึงร้อยละ 35 ซึ่งผู้ป่วยที่มีผลการทดสอบเป็นลบ มักจะสามารถใช้ penicillin ได้อย่างปลอดภัย การทดสอบผิวหนังสำหรับ cephalosporin ใช้ penicillin ได้ Reagent ที่ใช้ คือ penicilloyl polylysine (PPL) ซึ่งเป็น major determinant mixture (แต่ไม่มีในประเทศไทย) ส่วน benzylpenicillin (10,000 u/ml) หรือวิธีการที่มักทำในปัจจุบัน โดยการทดสอบด้วยยา penicillin G นั้น เป็น minor determinant ซึ่งมีประสิทธิภาพต่ำกว่า ทดสอบได้เพียงบางส่วนของ minor determinant ไม่มีความแม่นยำเพียงพอ (sensitivity ประมาณ 80%) ดังนั้นจำเป็นต้องระลึกเสมอว่า “แม้ผลการทดสอบจะ negative ผู้ป่วยก็ยังอาจเกิด anaphylaxis ได้”
2. Standardized skin test สำหรับทดสอบยาปฏิชีวนะ มีเพียงยา “penicillin” ตัวเดียวเท่านั้นเท่านั้นที่เชื่อถือได้ และมีข้อบ่งชี้ในการทำเมื่อผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยาหรือสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าอาจแพ้ยา (ไม่จำเป็นต้องทำทุกราย) ซึ่งวิธีที่จะทดสอบได้แม่นยำต้องทดสอบทั้ง major determinant และ minor determinant
3. การทำ skin test โดยใช้ cephalosporin ยังไม่มีวิธีที่เชื่อถือได้ จึงไม่ควรใช้ cephalosporin ทำ skin test หากผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยา cephalosporin หรือ beta-lactam อื่น อาจใช้ PGS ทำ skin test แทนได้ (เฉพาะที่มีประวัติแพ้หรือสงสัย) แต่แม้ว่าจะ positive ต่อยา penicillin โอกาสที่จะ cross ไปแพ้กลุ่ม cephalosporin ก็มีน้อยมาก มีการรวบรวมรายงาน 11 การศึกษาพบว่า ผู้ที่มี positive skin test ต่อ penicillin โอกาสแพ้ cephalosporin มี 4.4 % (Kelkar PS, Li JT. Cephalosporin allergy. N Engl J Med. 2001;345:804-809.) อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผล penicillin skin test จะเป็น negative ก็ยังอาจแพ้ cephalosporin ได้ เช่นกัน (ดังกล่าวไว้ในข้อ 1) ดังนั้นจึงควรซักประวัติอย่างละเอียด




1. http://www.rxlist.com/cgi/generic/ceftriax_ids.htm
2. http://medinfo.psu.ac.th/KM/copboard/view.php?No=155
3. http://www.pha.nu.ac.th/apirukw/dis/forum_posts.asp?TID=686&PN=1
4. AHFS Drug Information
5. ตรงประเด็น เรื่อง Adverse Drug Reactions